โลน (Crab louse ) แมลงตัวเล็ก ในร่มผ้า สาเหตุที่ทำให้คัน ติดต่อกันทางเพศสัมพันธุ์

ผิวหนัง

6 กรกฎาคม 2005


โลน ( Crab louse หรือ Phthiriasis pubis) เป็นปรสิตที่พบเฉพาะในมนุษย์ ติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโลน โดยพบว่าเพียง 1 ครั้งที่มีเพศสัมพันธุ์กับผู้ติดเชื้อโลน จะมีโอกาสติดได้ถึง 95 %
ลักษณะอาการที่พบ คือ มีผื่นสีน้ำเงินเทาๆ เล็กๆ ตามตัว เส้นผ่าศูนต์กลางไม่เกิน 1 ซม. โดยเชื่อว่าเกิดจากปฏิกริยาของน้ำลายโลนกับเลือด และจะพบตัวโลนได้ถึง 30 วันก่อนจะมีอาการดังกล่าว
บริเวณที่พบตัวโลนและไข่ พบบ่อยที่ขนในอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ถ้ามีจำนวนมาก อาจพบบริเวณขนสั้นๆ ได้ เช่น ที่รักแร้ ขนตามตัว คิ้ว ขนตา (โดยเฉพาะในเด็ก)
การวินิจฉัยว่าติดเชื้อโลน ก็คือ การได้พบตัวโลน (ดังในภาพที่1) และไข่โลนติดที่ขน โดยบางครั้งในนิ้วมือสางขน อาจรู้สึกสากมือเหมือนลูบด้วยเม็ดทราย ตัวโลนจะมีลักษณะสีขุ่นขาว ขนาดประมาณ 0.5-1 มม.มี 4 ขา

แนวทางการรักษา 

1. ฟอกตัวด้วยแชมพู ที่ผสม 1% Gamma benzene hexacholride (Lindane) ประมาณ 4 นาทีแล้วล้างออก แล้วทำซ้ำอีก 1 สัปดาห์ต่อมา
2. ทา 5% Pyretrin creams ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมงแล้วล้างออก
3. ทา Jacutin creams (HEXACHLOROCYCLOHEXANE ISOMERE GAMMA) บริเวณขนที่สงสัย ทั้งไว้ทั้งคืน ติดต่อกัน 3 วัน
4. ฟอกตัวด้วย Pyretrin shampoo ฟอกทิ้งไว้ 10 นาที วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วันกรณีที่เป็นทั้งตัว
5. โลนที่ขนตา อาจจะต้องจับออก หรือทา Petrolatum วันละ 2 ครั้ง เพื่อรบกวนการหายใจของตัวโลน
6. ยารับประทานกลุ่ม Cotrimoxazole (Bactrim) ได้มีรายงานว่าได้ผล เพราะไปรบกวนการสร้างวิตามินบี ที่จำเป็นสำหรับโลน
7. กรณีไม่หายขาด ควรรักษาคู่นอนด้วย หรือ อาจจะทายาไม่หมด
8. ควรทำความสะอาดที่นอน เครื่องใช้ให้สะอาด และผึ่งตากแดด เพราะตัวโลน ถ้าอยู่นอกร่างกายมนุษย์มักจะตายภายใน 1 วัน

Related