Food of Hair : สุขภาพผมที่ดี มีลักษณะอย่างไร อาหารแบบไหน ทำให้เส้นผมแข็งแรง

เส้นผม

6 กรกฎาคม 2005


สุขภาพเส้นผมดี อยู่อย่างไร

สุขภาพของเส้นผมที่ดี ควรมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการดังนี้

  1. ความพรุน (Porosity) เส้นผมที่ดีและแข็งแรง จะต้องมีลักษณะเกร็ดผม (cuticle) ที่ราบเรียบปิดสนิท ทำให้น้ำและสารอื่นๆ ซึ่งเข้าสู่แกนผม(hait shaft)ได้ยาก
  2. ความยืดหยุ่นและแข็งแรง (Elasticity and Strengh) โดยสุขภาพผมที่ดี ควรจะสามารถยืดได้ประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวปกติ และหดกลับได้ตามปกติ และสามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 100 กรัมโดยไม่ขาด โดยต้องมีแกนใน(cortex) ที่แข็งแรง ซึ่งปกป้องด้วยเกร็ดผม(cutilce) อีกทีหนึ่ง
  3. เนื้อสัมผัส (Texture) ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นผม และความหยาบหรือความอ่อนนุ่ม โดยผมที่มีขนาดใหญ่และอ่อนนุ่ม จะเป็นผมที่มีสุขภาพที่ดี

ส่วนประกอบทางเคมีวิทยาและโครงสร้างของเส้นผม

  1. โปรตีน: พบได้ร้อยละ 65-95 ของน้ำหนักผม ในรูปของเคอราติน
  2. ไขมัน: พบได้น้อยกว่า ร้อยละ 5 ส่วนใหญ่ไขมันบนเส้นผม จะเป็นลักษณะไขมันเหลว(sebum) ที่ประกอบด้วย free fatty acid,neutral fat ester,glyceryl,wax และ saturated hydrocarbon ( ขออภัยไม่มีคำแปลเป็นไทยที่เหมาะสมนะครับ)
  3. น้ำ: มักมีปริมาณในเส้นผมไม่แน่นอน โดยผมแห้งจะดูดซึมน้ำได้ดีกว่าผมมัน
  4. แร่ธาตุ หรือสารเคมีต่างๆ (Trace elements): ซึ่งบางส่วนอาจจะมาจากภายในเส้นผม หรือร่างกายเอง และบางส่วนมาจากภายนอก เช่น จากผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม เช่น แชมพู ครีมนวดผม ยาย้อมสีผม โลชั่นบำรุงเส้นผม หรือจากมลภาวะ ที่พบบ่อยๆได้แก่กลุ่ม carbon 45.2%,hydrogen 6.6%,oxygen 27.9%,nitrogen 45.2%,sulfur 5.2%

อาหารที่ดีต่อเส้นผม

กลุ่มอาหารที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อเส้นผม ได้แก่

  1. สังกะสี: ได้แก่ อาหารกลุ่ม สัตว์ปีก ถั่วทุกชนิด น้ำมันพืชจากธรรมชาติ น้ำมันงา จมูกข้าวสาลี
  2. วิตามินบี: ได้แก่ ผักใบเขียว ตับ ธัญพืชต่างๆ ปลา และไข่
  3. วิตามินเอ: ได้แก่ มะเขือเทศ แครอท ผักโขม ตับ บรอกโคลี่ มันฝรั่งชนิดหวาน หัวไขเท้า มะละกอ แคนตาลูป
  4. วิตามินซี: ได้แก่ กลุ่มผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม องุ่น แตงโม สตรอเบอรี่ ผักสีเขียว
  5. ทองแดง: ได้แก่ ตับ ถั่วเมล็ดแห้ง หอยนางรม อาหารทะเล ลูกพรุน ธัญพืช
  6. ธาตุเหล็ก: ได้แก่ ตับ ไข่แดง ข้าวโอ๊ต ผลไม้แห้ง เช่นลูกพีช ลูกเกด เนื้อแดง
  7. ธาตุไอโอดีน: ได้แก่ สาหร่าย อาหารทะเล หอมหัวใหญ่
  8. ธาตุซัลเฟอร์: ได้แก่ หัวหอม กระเทียม หัวผักกาด และหน่อไม้ฝรั่ง
    ควรที่ได้รับประทานอาหารให้สมดุล ในจำนวนที่เหมาะสม โดยเน้นการรับประทานอาหารมื้อเช้า เป็นมื้อที่สำคัญ เพราะร่างกายจะได้ใช้ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือว่าเป็นการรับประทานที่ถูกสุขลักษณะ โดยมื้อเย็นให้รับประทานแต่น้อยๆ เพราะร่างกายกำลังจะพักผ่อน ไม่ต้องการพลังงานมากนัก และที่สำคัญควรรับประทานให้ครบหมู่ทั้งโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต สังกะสี และวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ

    อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
  1. อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด ไขมันสัตว์ นมสด เพราะจะไปเพิ่มอนุมูลอิสระจากปฏิกริยาออกซิเดชั่น ทำให้เกิดการอักเสบต่อผิวพรรณ เส้นผมได้
  2. อาหารที่มีคารโบไฮเดรตสูง เช่น แป้งและน้ำตาล
  3. งดคาเฟอีน ในบุหรี่ กาแฟ
  4. งดดื่มอัลกอฮอล์ทุกชนิด
  5. หลีกเลี่ยงภาวะเครียดทุกกรณี

Related