เมโสแฟต (Mesofat) : ฉีดสลายไขมัน ลดแก้ม ลดเหนียง ลดไขมันส่วนเกิน ได้ทุกบริเวณ

ลดน้ำหนัก

27 มกราคม 2010


เมโสแฟต คืออะไร

คือการฉีดยาเข้าไปในชั้นไขมัน ตัวยาจะไปสลายไขมันในบริเวณที่ไม่ต้องการ ทำให้ผนังไขมัน( Fat cell wall) แตกตัวออก ทำให้ไขมันที่จับตัวกันเป็นก้อนๆ สลายออกเป็นไขมันเหลว ( Lipid Fat ) แล้วถูกขับออกทางปัสสาวะ เป็นส่วนใหญ่
ชื่อเรียกแตกต่างกันไป ทั้ง เมโสแฟต แฟตบอมบ์ เมโสไลโป ฯลฯ แต่จริงๆ หลักการเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ตัวยาที่ใช้ ปริมาณที่ใช้ และบริเวณที่ฉีด
ตัวยาที่ใช้มีอะไรบ้าง
เนื่องจากได้รับความนิยมมาก ไม่แพง และสะดวก จึงมีการพัฒนาสูตรยา ออกมามากมายในตลาด แต่จะขอแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้
1. ตัวยาที่จัดเป็นยาและมีผลงานวิจัยรองรับ : ได้แก่ Phosphatidylcholine (PC), Deoxycholate (DC) ,L-Carnitine กลุ่มนี้สลายไขมันด้วยการทำให้ไขมันแตกตัวออกเป็นไขมันเหลวผ่านระบบต่อมน้ำเหลือง แล้วขับออกทางปัสสาวะ ข้อดี คือ ฉีดปริมาณไม่เยอะ เพียง 1-2 CC ก้ได้ผลดี เพราะสรรรพคุณยาเข้มข้น ทำให้ไม่เจ็บตัวมาก รอยช้ำน้อย แต่ก็มีข้อเสียคือ มักจะแสบเวลาฉีด บางคนบวมหลังฉีดได้
2. ยาและสารสกัดธรรมชาติ ที่ยังไม่มีการรับรองผล : กลุ่มนี้มักจะนำมาผสมกับกลุ่มแรก ให้ออกฤทธิ์มากขึ้น ได้แก่ Caffeine, vitamin B5, Theophylline, Archichoke extract,Tyrosine,Aesculus hippocastanum, Juglans regia กลุ่มนี้กลไกการสลายไขมัน คือช่วยเรื่องการไหลเวียนโลหิตกับระบบน้ำเหลือง จะได้เรื่องกระชับผิวเป็นหลัก ถ้าจะให้ได้ผลสลายไขมัน ต้องฉีดปริมาณมากกว่าเป็น 10 เท่า ข้อดีคือไม่เจ็บ ส่วนใหญ่ไม่บวม ถ้าบวม น่าจะเกิดจากปริมาณที่ฉีดเยอะมากกว่า



ฉีดบริเวณไหนบ้าง

หลักการคือ สลายไขมัน ในส่วนที่การออกกำลังกายไม่ช่วยมากนัก เช่น

  1. ลดแก้ม
  2. ลดเหนียง
  3. ลดเปลือกตาบน
  4. ลดจมูกชมพู่ ส่วนข้อ 5-7 มักจะใช้ฉีดกรณีมีไม่มากนัก ถ้ามากต้องใช้วิธีอื่นแทน เช่นการดูดไขมัน หรือสลายไขมันด้วยเครื่องมือ
  5. ลดพุง ลดหน้าท้อง บั้นเอว
  6. ลดต้นแขน ลดต้นขา
  7. ลดไขมันที่น่อง

ข้อห้ามในการทำ Mesofat

  1. สตรีมีครรภ์
  2. คนไข้โรคเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลินเป็นประจำ
  3. คนไข้ที่มีประวัติโรคระบบหลอดเลือดผิดปกติในสมอง เช่น เส้นเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน
  4. คนไข้ที่มีประวัติโรคเลือดผิดปกติ โรคมะเร็ง
  5. คนไข้ที่มีประวัติโรคหัวใจ และทำการรักษาด้วยยาหลายขนาน

ข้อควรปฏิบัติหลังทำ Mesofat และข้อควรระวัง

1. ควรดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 2 ลิตร เพราะไขมันเหลวที่โดนสลายจะถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นส่วนใหญ่
2. อาจจะพบอาการบวมช้ำ หรืออาการเจ็บปวดบ้างเล็กน้อย ขณะที่ทำและหลังทำ 1-3 วัน ดังนั้น ควรเลี่ยงการ การเข้าอบซาวน่า การนวด การดื่มอัลกอฮอล์ หรือการทำทรีทเม้นต์ใดๆ หลังทำประมาณ 1 อาทิตย์ เพื่อลดการฟกช้ำให้น้อยลง
3. ควรเดินออกกำลังกายเบา ๆ หลังทำ เช่น การเดินเร็ว โยคะ แอโรบิก อย่างน้อยวันละ 30-45 นาที อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้กล้ามเนื้อกระชับและรีดไขมันให้ออกจากร่างกายเร็วขึ้น ลดการสะสมของไขมันใหม่
4. เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก และไขมันส่วนเกิน มิให้กลับมาสะสมได้อีก
5. ป้องกันการหย่อนคล้อยหลังทำ ควรจะทำการยกกระชับบริเวณที่ทำ ด้วยเครื่องมือยกกระชับ ต่างๆ เช่น RF เพื่อช่วยรีดไขมันให้ออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น อาจจะเสริมด้วยการตีสลายไขมันด้วยเครื่อง Slimming Machine กรณีที่ไขมันเกาะตัวแน่นเกินไป

ข้อควรระวัง

หลายๆคลินิกแข่งขันด้านราคากัน ทำให้มีการลดคุณภาพ หรือเปลี่ยนตัวยา เพื่อให้ได้กำไร โดยมีการใช้ยาบางอย่าง ที่แม้ได้ผลเร็ว แต่มีผลข้างเคียง เช่น

  1. ยากลุ่มเสตียรอยด์ เช่น Dexamethasone พวกนี้ไขมันลดได้ จากการทำให้ไขมันฝ่อ ฉีดไปนานๆ อาจจะเกิดรอยบุ๋มเฉพาะจุด จะทำให้ระบบฮอร์โมนต่างๆของร่างกายผิดปกติ และทำให้ภูมิต้านทานลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
  2. Hyarulonidase : เป็นยาที่สลายฟิลเลอร์ ถ้าเอามาฉีดไขมันทำให้เซลล์ไขมันแตกเช่นกัน แต่ก็ทำให้ HA ที่ดีๆใต้ผิวของเราก็ถูกทำลายไปด้วย ทำให้เหี่ยวเร็ว แก่เร็ว และตัว Hyarulonidase นี้ ยังพบอัตราการแพ้ยาสูงอีกด้วย หมอกระเป๋าใช้ตัวนี้เป็นตัวหลักเลย

Related