Anti-Aging Medicine : เวชศาสตร์ชะลอวัย การแพทย์ที่ใช้ป้องกันและฟื้นฟูร่างกายให้ดูดีจากภายในสู่ภายนอกแบบองค์รวม

เวชศาสตร์ชะลอวัย

23 กุมภาพันธ์ 2009


Anti-aging medicine คืออะไร

Anti-aging medicine คือ องค์ความรู้ทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการป้องกัน การดูแลสุขภาพ ทุกๆ ด้านทั้งด้านสรีระร่างกาย ผิวพรรณ โภชนาการ ระดับฮอร์โมน การออกกำลังกาย ภาวะทางจิตใจและอารมณ์ หรือปัจจัยอีกหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำให้คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น อย่างสุขสมบูรณ์ (Vital life)
เนื่องจาก อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโลก นับวันจะพบว่าอายุขัย เฉลี่ยจะมากขึ้น คือคนเรามีอายุยืนยาวกว่าในอดีต โดยปี 2564 จะเป็นปีที่ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ อายุขัยเฉลี่ยประมาณ 75 ปี
ทำให้เราต้องคิดว่า “ เมื่อตัวฉันต้องอยู่ในโลกใบนี้อีกนานมากขึ้น ฉันจะต้องทำอย่างไร ที่จะทำให้ชีวิตบั้นปลายของตนเอง อยู่อย่างมีความสุข ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งร่างกายและจิตใจ แบบองค์รวม (Holistics) โดยไม่ให้เป็นไปตามกลไกการเสื่อมของร่างกาย (Aging Process) หรือถ้าจะเกิด ก็ให้เกิดผลน้อยที่สุด สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ต้องตกเป็นภาระแก่ลูกหลาน”


จากประโยคดังกล่าว จึงดูเหมือนว่า Anti-aging medicine ต้องยึดหลักการดูแลและป้องกันสุขภาพเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเป็นการแพทย์เชิงรุก ก่อนที่จะมีปัญหาเกิดขึ้น หรือถ้าเกิดขึ้น จะเยียวยารักษาอย่างไร ให้เกิดขึ้นช้าที่สุด และมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันให้น้อยที่สุด ซึ่งก็ต้องอาศัยทีมแพทย์จากหลายๆ ฝ่าย หรืออาศัยความรู้เฉพาะจากหลายๆ ด้าน ในการประเมินผลการดูแลสุขภาพของคนไข้แต่ละคน

หลักการดูแลสุขภาพตามแนวทาง Anti-Aging

มุ่งเน้นการป้องกันเป็นหลัก เหมือนการมาตรวจสุขภาพตามปกติ แต่ต่างกันที่จะมีการตรวจที่ลงลึกกว่าการตรวจสุขภาพโดยทั่วไป เช่น การตรวจระดับฮอร์โมน วิตามิน การคัดกรองปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรค สารพิษ ภาวะภูิมแพ้อาหารแฝง โดย เวชศาสตร์ชะลอวัยจะมุ่งเน้นเข้าไปว่าในร่างกายเรามีอะไรที่มันยังขาดที่จำเป็นต้องเสริม เพื่อที่จะมีผลดี หรือผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เพราะหากเรารู้ก่อนตั้งแต่ยังไม่เป็นโรคและรีบป้องกันย่อมได้ผลที่ดีกว่า เน้นการดูแลจากภายในของเรา ถ้าภายในดีภายนอกก็จะดูดีขึ้นด้วย
เนื่องจากเป็นการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวม จึงต้องอาศัยทีมแพทย์หรือองค์ความรู้จากหลายๆ ด้านทางการแพทย์ เพราะการที่จะทำอย่างไร ให้เกิดชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุข( Vital life) ต้องมีการดูแลในหลายๆ ด้านอาทิเช่น
-Life style improvement ( การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น สอดคล้องกับหลักการมีสุขภาพที่ดี)
-Vitamins,Minerals and Trace elements Supplements ( การเลือกรับประทานอาหารเสริม หรือวิตามิน เกลือแร่ ที่เหมาะสมกับภาวะของร่างกายที่พร่องไป)
-Lean Body (การมีร่างกายที่สมส่วน ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป)
-Hormonal replacements/supplements( การเสริมฮอร์โมนบางตัวที่ร่างกายพร่องไป)
-Healthy Blood and Body ( การมีภาวะที่ปกติในระบบเลือด และร่างกายโดยรวม)
-Mental Status( การมีภาวะจิตใจที่สมบูรณ์)
-Sleep as well ( การนอนหลับพักผ่อนที่เปี่ยมสุข)
-Sex life( การมีความสุขทางเพศอย่างเหมาะสม) /Family Happiness( ความสุขในครอบครัว)
-Diets ( การดูแล การควบคุม และการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับวัย)
-Exercise (การออกกำลังกายที่พอเหมาะพอดี ต่อสุขภาพ)
-ฯลฯ

กลุ่มคนที่ควรไปพบแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย

  1. บุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคจากกรรมพันธุ์ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคความดันโลหิตสูง แต่หากคุณอยู่ในกลุ่มนี้อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะกรรมพันธุ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเท่านั้น ถ้าคิดเป็นสัดส่วนก็เพียงแค่ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งบางคนอาจมีความใกล้เคียงกับคนในครอบครัวที่เป็นโรคดังกล่าว จึงทำให้มีโอกาสเป็นโรคตามกันไป
  2. บุคคลที่มีโรคประจำตัว ยกตัวอย่างเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ โรคไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง เป็นต้น
  3. บุคคลที่อยากเริ่มรักษาสุขภาพร่างกายอย่างถูกวิธี  

Related