Growth Hormone : ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความสูง และช่วยชะลอวัย ให้คงความเป็นหนุ่มสาวไว้ได้

เวชศาสตร์ชะลอวัย

27 กุมภาพันธ์ 2009


growth hormone (GH) ทำหน้าที่อะไร 
-โกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) เป็นฮอร์โมนชนิดโปรตีน หรือที่เรียกว่า Peptide Hormone เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Lobe of Pituitary Gland ) เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งการ Metabolism ของร่างกาย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Somatotropin
growth hormone (GH) สำคัญอย่างไร
growth hormone (GH) ในเด็ก มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เด็กที่ขาดหรือพร่องฮอร์โมนนี้ มีผลต่อความสูงของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะเตี้ยแคระ (dwarfs) และเด็กที่มีฮอร์โมนนี้สุงกว่าปกติ ก็จะเกิดภาวะตัวสูงใหญ่ผิดปกติ(Giants)
growth hormone (GH) ในผู้ใหญ่ จะเกี่ยวข้องกับขบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกาย การเผาผลาญพลังงาน เกี่ยวข้องกับระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ตลอดจนการทำงานของปอด หัวใจ ตับ สมอง และอวัยวะที่สำคัญหลายอย่าง
growth hormone เป็นฮอร์โมนสำหรับความเยาว์วัย
เพราะจะหลั่งสูงสุดเมื่ออายุ 20 ปี และหลังจากนั้น ระดับฮอรโมนนี้จะเริ่มทำงานลดลง โดยจะพบว่าทุกๆ 10 ปี growth hormone (GH) จะทำงานลดลงประมาณ 14% โดยพบว่าเมื่ออายุประมาณ 65 ปี growth hormone (GH) จะทำงานลดลงประมาณ 50% ดังนั้นถ้าพูดกันง่ายๆ ก็คือ ขบวนการชรา จะเริ่มต้นที่อายุ 20 ปี และค่อยๆ มากขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งก็คือเมื่อย่างเข้าวัยทองนั่นเอง

ภาวะพร่องโกรทฮอร์โมน(GH deficiency) มักจะเริ่มมีอาการให้เห็นทีละเล็กละน้อย ตั้งแต่อายุ 25-30 ปีขึ้นไป แล้วแต่คน แต่จะเริ่มสังเกตชัดขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี และอาการเหล่านี้จะเด่นชัดขึ้นถ้ามีการนอนหลับพักผ่อนไม่เต็มที่ อาการและอาการแสดงที่พบได้มีดังนี้
– รู้สึกอ่อนเพลียง่ายตลอดทั้งวัน คุณภาพชีวิตแย่ลง เรี่ยวแรง(Energy) ถดถอย
– ไม่สามารถทนนอนดึกได้ เช่น ถ้าต้องนอนหลังเที่ยงคืน จะทำให้เพลียและไม่มีแรง กว่าจะฟื้นตัวก็นานหลายวัน ต้องการจะนอนมากกว่า 8-9 ชม.ต่อวัน จึงจะมีเรี่ยวแรงทำงานได้
– เส้นผมเริ่มบางลง ทั่วหนังศีรษะ
– อาการทางผิวหนัง –เปลือกตาเริ่มตก มีถุงไขมันใต้ตา แก้มเริ่มหย่อนคล้อย จมูกและริมฝีปาก บางลง คอเริ่มหย่อนคล้อย มีร่องรอยเหี่ยวย่นตามใบหน้า ลำคอ
– ควบคุมน้ำหนักได้ยากขึ้น อ้วนได้ง่าย เริ่มมีพุง มีไขมันส่วนเกินสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
– ความผิดปกติทางอารมณ์- หงุดหงิดง่าย ทนความเครียดไม่ค่อยได้ แม้จะเล็กน้อย อยากจะปลีกตัวจากสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง
– กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรง ไม่กระชับ มวลกล้ามเนื้อ (Muscle mass) ลดลง ต้นแขนห้อยเหมือนหนังไก่(Chicken arms)
– สมรรถภาพทางเพศลดลง ผู้ชายอาจจะมีปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศไม่เต็มที่ มีปัญหาหลั่งไว ส่วนผู้หญิงก็อาจจะมีความต้องการทางเพศ(Sexual Desire) ลดล

การตรวจวัดระดับ growth hormone
– ในร่วงกายว่าเริ่มลดลงหรือพร่องไปมากน้อยเท่าไหร่ ทางการแพทย์ทำได้ยาก เพราะ growth hormone จะอยู่ในกระแสเลือดเพียงไม่กี่นาที แต่จะเปลี่ยนสภาพเป็น Growth factor ที่ตับแทน
– ดังนั้นการวัดระดับ growth hormone จึงจะใช้การวัดระดับของ Growth factor แทน ในรูปของ Insulin-like growth factor(IGF-1) ซึ่งจะตรวจการในเลือด และใช้เป็นตัวบ่งชี้แทน ระดับ growth hormone ได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่การตรวจที่จะได้ผลดีและถูกต้อง ต้องตรวจช่วงเวลา 6.00-8.00 น. และควรจะงดอาหารก่อนการตรวจเลือดอย่างน้อย 8 ชม. อาจจะพอดื่มน้ำก่อนตรวจได้บ้าง ถ้ากระหายน้ำในตอนเช้า
– การตรวจระดับ growth hormone นอกจากจะตรวจจากระดับ Insulin-like growth factor(IGF-1) แล้วแพทย์มักจะตรวจหาระดับของ IGF-BP-3 (Binding protein) ร่วมด้วย เพราะจะมีระดับผกผันกัน เพื่อให้เปรียบเทียบ ระดับ Insulin-like growth factor(IGF-1) ที่ทำงานอย่างแท้จริง คือถ้าพบว่า ระดับ IGF-BP-3 สูง ก็บ่งบอกว่า ระดับ growth hormone บางส่วนได้จับกับโปรตีน ทำให้ GH จริงๆ ออกฤทธิ์ได้น้อยลง

แนวทางการรักษาภาวะ พร่องโกรทฮอร์โมน (GH deficiency)
ปัจจุบัน ในวงการแพทย์ Anti-Aging พบว่า การเพิ่มระดับ growth hormone สามารถทำให้เราชะลอวัย และฟื้นฟูความเป็นหนุ่มสาวขึ้นมาใหม่ได้ ดังนี้
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือนิสัยเดิมๆ (Life Style Change )
1.1 Diet: ควรหันกลับมาบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าอย่าง จริงๆ จังๆ โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนชนิดดี (good protein) เช่น ปลา ผลไม้ ผัก เนื้อแดง สัตว์ปีก และพยายามเลี่ยง เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ กาแฟ ของหวานทั้งหลาย ผลิตภัณฑ์จากนม เนย งดสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้ระดับ GH ลดลงได้ 
1.2 Exercise : ควรสร้างนิสัยการออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง นานครั้งละ 30-45 นาที การออกกำลังที่เหมาะสำหรับการเพิ่มระดับ GH คือการออกกำลังกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหม เช่นการวิ่งเหยาะๆ การเดินเร็ว การเต้นแอโรบิก หรือการออกกำลังกายหนักๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ เช่นการยกน้ำหนัก เป็นต้น
1.3 การนอนหลับให้เพียงพอ : ควรจะนอนหลับให้สนิทอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และควรนอนไม่เกิน 4-5 ทุ่ม เพราะจะเป็นช่วงที่ฮฮร์โมน Melatonin ซึ่งเกี่ยวกับการทำให้ง่วงและนอนหลับ(จะอธิบายออร์โมนนี้อย่างละเอียดภายหลัง) หลั่งสูงสุด ซึ่งผลของ ฮฮร์โมน Melatonin นี้จะช่วยเพิ่มระดับ GH ได้เช่นกัน
2. การปรับเปลี่ยนด้านจิตใจ : พยายามเป็นคนมองโลกในแง่ดี เลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด สร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง เช่น การสวดมนต์ นั่งสมาธิ การเล่นโยคะ การรำไท้เก้ก หรือการสูดหายใจลึกๆ ยาวๆ อย่างน้อยซัก 10 นาที วันละ 3 ครั้งก็ได้ เพราะความเครียด ทำให้ฮอร์โมนทุกตัวในร่างกายลดลงได้

3. อาหารเสริมกลุ่ม Amino acid : พบว่าอาหารเสริมบางตัว สามารถที่จะเพิ่มระดับ GH ได้ แต่ควรจะทานช่วงที่ท้องว่าง หรือช่วงเช้า และ ก่อนนอน เพราะจะเพิ่มการออกฤทธิ์ได้ดีกว่า

3.1 Arginine : ขนาด 7-12 กรัมต่อวัน
3.2 Ornithine: ขนาด .5-8 กรัมต่อวัน
3.3 Lysine ขนาด 1-3 กรัมต่อวัน

พบว่า อาหารเสริมในข้อ 3.1-3.3 มักจะเพิ่มระดับ GH ได้คนหนุ่มสาว อายุระหว่าง 20-35 ปี และพบว่าหลายยี่ห้อ ได้นำ กรดอะมิโนทั้ง 3 ตัว จะผสมกันเพื่อให้ทานง่าย บางคนเรียกว่า Tri-amino Acids

3.4 Glycine ขนาด 5-7 กรัมต่อวัน
3.5 L-tryptophan ขนาด 5-10 กรัมต่อวัน
3.6 L-glutamine ขนาด 2 กรัมต่อวัน จัดเป็นกรดอะมิโนที่สามารถเพิ่มระดับ GH ได้ทุกกลุ่มอายุ แม้แต่คนสูงอายุ ( 32-64 ปี) ปัจจุบันถือว่าเป็นอาหารเสริมกลุ่มอะมิโนที่ได้รับความนิยมสูงสุด

4. การให้ฮอร์โมนอื่นทดแทน (Hormonal Replacement Therapy-HRT) : พบว่าเพื่อคนสูงอายุขึ้น มีฮอร์โมนหลายตัวที่ลดระดับหนึ่ง ดังมีการรายงานทางการแพทย์ว่า เพื่อเราทำการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทนตัวอื่นๆ เช่น Testosterone,Melatonin,Estrogen,Thyroid hormone ในคนไข้ที่ขาดออร์โมนเหล่านี้ เมื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเหล่านี้ในระดับที่น่าพอใจแล้ว ก็มีผลส่งให้ระดับฮอร์โมน GH เพิ่มขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
5. การให้โกรทฮอร์โมนทดแทน (Growth hormone replacement ): จัดเป็นการเพิ่มระดับ GH ที่ได้ผลที่สุด และเร็วสุด แต่แพทย์มักจะเลือกให้การรักษาเป็นทางเลือกสุดท้าย ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบของ GH หลากหลายยี่ห้อ การเลือกพิจารณารูปแบบของการให้ และบริษัทที่น่าเชื่อถือ ถือว่ามีผลต่อการรักษา ที่ใช้กันทั่วๆ ไป ก็คือ
5.1 แบบหยอดหรือสเปรย์ใต้ลิ้น ได้ผลในระดับหนึ่ง เป็นที่นิยม เพราะราคาไม่แพงมาก (ประมาณ 5,500 บาท)
5.2 แบบฉีด GH แต่ถ้าต้องการเพิ่มระดับ GH ที่ได้ผลจริงๆ ต้องใช้การฉีด GH เท่านั้น ซึงในเมืองไทย ยังไม่อนุญาตให้ทำได้ และปัจจุบันก็ยังมีราคาแพงมาก ( ราคาประมาณ 15,000-25,000 บาทต่อ เดือน
ผลข้างเคียงของการฉีด GH พบได้ แม้จะไม่รุนแรงนัก เช่น เกิดภาวะบวมที่ข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) การปวดข้อต่างๆ หรือความดันในสมองเพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่าเพื่อหยุดฉีดหรือลดขนาดการฉีดลง ก็สามารถทำให้ผลข้างเคียงเหล่านี้ลดลงได้
ข้อห้ามใช้ในการฉีด GH ได้แก่ คนไข้ท่มีปัญหามะเร็งระยะลุกลาม จอตาผิดปกติ(Proliferative retinopathy) หรือความดันในสมองสูง (Intracranial hypertension)

Related