Posted on

ซีลีเนียม(Selenium) แร่ธาตุที่น้อยคนจะรู้จักว่าดี มีคุณประโยชน์มากมายต่อร่างกาย

  • ซีลีเนียม เป็นแร่ธาตุที่เราอาจจะไม่ค่อยจะคุ้นหูกันมากนัก และน้อยคนที่พอจะรู้ถึงประโยชน์และความสำคัญของซีลีเนียมต่อร่างกาย
  • ซีลีเนียม มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการที่สำคัญต่างๆ ของร่างกาย เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเอนไซม์ของระบบ glutathione perioxidase ซึ่งกระตุ้นการกำจัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และออแกนิคเปอร์ออกไซด์ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมันต่างๆ ระบบ glutathione perioxidase นี้เป็นระบบต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดภายในเซลล์
  • ซีลีเนียม มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของวิตามินอี โดยวิตามินอีทำหน้าที่ป้องกันการเกิดสารเปอร์ออกไซด์ ในขณะที่ซีลีเนียม ทำหน้าที่กำจัดสารเปอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นให้หมดไป และซีลีเนียมจะทำงานเสริมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของวิตามินอีในการรักษาเนื้อ เยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติ ป้องกันการแก่ก่อนวัย

ประโยชน์ของซีลีเนียม ที่มีต่อร่างกาย

  • ช่วย ต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้แก่และเซลล์เสื่อมสภาพ ปกป้อง DNA เซลล์ และเนื้อเยื่อต่างๆ มิให้ถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระ(free radicles) จึงชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติ ป้องกันการแก่ก่อนวัย และช่วยชะลอวัย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยบรรเทาโรคแห่งความเสื่อมเรื้อรังหลายชนิด โรคเฉพาะอย่างยิ่งโรคต้อกระจก และโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์
  • มีบทบาท เกี่ยวกับการหายใจของเนื้อเยื่อโดยทำหน้าที่ช่วยส่งอีเล็คตรอน ช่วยให้หัวใจทำงานดีขึ้น และส่งเสริมการสร้างกำลังของเซลล์โดยการนำออกซิเจนไปเลี้ยงให้เพียงพอ และสามารถทำงานร่วมกับ Q10 ในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวาย และโรคลมปัจจุบัน โดยเฉพาะในรายที่มีการขาดสารอาหารชนิดนี้
  • ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ และควบคุมสุขภาพของสายตา ผิวหนัง และเส้นผม
  • ส่งเสริมให้ประจำเดือนของเพศหญิงเป็นไปโดยสม่ำเสมอ และช่วยให้ไข่สุก และจะพบเกลือแร่ชนิดนี้สูงในน้ำเชื้อของผู้ชาย
  • ซีลีเนียม เป็นเกลือแร่ต้านพิษ หรือละลายพิษต่างๆ ในร่างกาย
  • รักษาความยืดหยุ่นของเนื้อหนัง
  • เพิ่มความต้านทานของร่างกาย หรือช่วยเพิ่มศักยภาพของระบบภูมิคุ้มกันหลายประเภท
  • ซีลีเนียม สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนเชื้อเอชไอวี (HIV) และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน(CD4) ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี จึงช่วยยืดอายุผู้ป่วยในกลุ่มนี้ได้
  • ป้องกันความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ หัวใจล้มเหลว เจ็บหน้าอก และไต ถูกทำลาย
  • ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของตับ
  • ซีลีเนียม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งลำไส้, มะเร็งปอด, มะเร็งหลอดอาหาร
  • ซีลีเนียมมีความสำคัญต่อการทำงานของไทรอยด์ ภาวะซีลีเนียมต่ำมีส่วนเกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง

การขาด ซีลีเนียม จะส่งผลต่อร่างกายในด้านต่างๆ

  • Keshan’s disease เป็นโรคหัวใจที่พบในประเทศจีน บริเวณพื้นที่ที่มี ซีลีเนียม ในดินต่ำ เชื่อกันว่าเกิดจากไวรัส แต่การขาด ซีลีเนียม ทำให้อาการของโรคเป็นมากขึ้น นอกจากนั้นผู้ที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ (Total parenteral nutrition) ก็มีสิทธิ์ขาด ซีลีเนียม ได้ คนไข้พวกนี้มักจะมี Erythocyte glutathione peroxidase activity ต่ำ และ ซีลีเนียม ในพลาสมาและเม็ดเลือดแดงต่ำด้วย
  • การขาด ซีลีเนียม จะนำไปสู่การแก่ก่อนวัย ทั้งนี้เพราะว่า ซีลีเนียม ช่วยรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
  • ใน การศึกษาเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็ก จะสังเกตุเห็นว่าจำนวนฟันผุที่ต้องถอน และอุดมีจำนวนมากขึ้นในเด็กที่มีการขับถ่าย ซีลีเนียม ทางปัสสาวะมาก ซึ่งยังไม่มีทฤษฎีอะไรมาอธิบายการสังเกตุนี้ได้
  • ถ้าขาดในภาวะตั้งครรภ์จะทำให้เด็กที่เกิดมาเป็นปัญญาอ่อน
  • ถ้าขาด ซีลีเนียม ในตอนเด็ก อาจทำให้เด็กตายอย่างกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ทำให้ประสาทผิดปกติ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อไวต่อการสัมผัส หรือการถูกกด มีอาการไม่ปกติที่กล้ามเนื้อหัวใจ
  • ทำให้การมองเห็นไม่ชัด
  • ทำให้เม็ดเลือดแดงเปราะได้
  • ภาวะซีลีเนียมต่ำมีส่วนเกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง

แหล่งที่พบซีลีเนียม ในธรรมชาติ

  • อาหาร ที่มี ซีลีเนียม มากที่สุดได้แก่ บริวเวอร์ยีสต์ เครื่องใน กล้ามเนื้อสัตว์ ปลา หอย ข้าวกล้อง แตงกวา อัลมานด์ ผลิตภัณฑ์จากนม กระเทียม เห็ดต่างๆ บลอคโคลี่ หัวหอม มะเขือเทศ สัตว์ปีก ไข่ และอาหารทะเลต่างๆ
  • ซีลีเนียม ถูกดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็ก ร่างกายจะเก็บ ซีลีเนียม ไว้ในตับและไตมาก เป็น 4-5 เท่า ของ ซีลีเนียม ที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออื่น โดยปกติซีลีเนียม จะถูกขับออกทางปัสสาวะ ถ้าปรากฏว่ามีซีลีเนียมถูกขับออกมาทางอุจจาระแสดงว่าเกิดการดูดซึมที่ผิด ปกติ

คำแนะนำในการรับประทานซีลีเนียม

  • ปริมาณ แนะนำต่อวัน (RDA) อยู่ที่ 70-200 ไมโครกรัม สำหรับผู้หญิงเท่ากับ 50 ไมโครกรัม สำหรับผู้ชาย 70 ไมโครกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์ 65 ไมโครกรัม และสำหรับหญิงผู้ให้นมบุตร 75 ไมโครกรัม และซีลีเนียนที่อยู่ในรูปสารเสริมอาหาร ควรอยู่ในรูป ของคีเลท (chelated form) หรือ L-selenomethionine form
  • ธาตุซีลีเนียมมักอยู่ในรูปแบบ ของอาหารเสริม ที่มีส่วนประกอบของ ซีลีเนียม สังกะสี วิตามินเอ วิตามินบี6 วิตามินซี และวิตามินอี โดยซีลีเนียมในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีวางจำหน่ายจะมีปริมาณตั้งแต่ 25 – 200 ไมโครกรัมต่อเม็ด โดยมักจะอยู่ในรูป ซีลีโนเมไทโอนีน (Selenomehionine) ซึ่งจะรับประทานเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดจากความเสื่อม ชะลอวัย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย  และป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด
  • แต่การที่จะรับประทานซีลีเนียม เป็นอาหารเสริม ควรจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพราะอย่างไรก็ตามการรับประทานซีลีเนียมมาก ๆ เกินกว่า 400 ไมโครกรัมต่อวัน จะทำให้เกิดพิษของ ซีลีเนียม (selenosis) ได้ โดยผู้ที่รับประทานซีลีเนียมเกินขนาดจะมีอาการหายใจเป็นกลิ่นคล้ายกระเทียม, คลื่นไส้, ผมร่วง และถ้าใช้เกินขนาดเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจมีภาวะตับวายได้ ดังนั้น ขนาดที่แนะนำในปัจจุบันจึงไม่ควรเกิน 200 ไมโครกรัมต่อวัน และอาจใช้น้อยกว่านั้นในคนที่รับประทานสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ ร่วมด้วย
Posted on

ไวน์แดง(Red wine): ใช่แต่จะได้อรรถรส ยังช่วยลดโรค ลดวัย ทำให้อายุยืนยาว ได้ด้วย เพราะอะไร

Shot of a joyful family drinking red wine and celebrating dinner

ไวน์แดงมีประโยชน์ต่อสุขภาพได้อย่างไร
“ดื่มไวน์แดงทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 แก้ว นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยชะลอวัย และจัดเป็นเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ประเภทที่ทำให้อายุยืนยาว ”
คำถามนี้ถูกค้นหาคำตอบโดยนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจากทั่วโลก โดยมีการค้นพบว่าในไวน์แดงนั้นมีส่วนผสมที่ทรงคุณค่าอยู่ชนิดหนึ่ง นั่นก็คือ Resveratrol คณะนักวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health – NIH) ของประเทศสหรัฐอเมริกา บ่งชี้ว่า สาร resveratrol เป็นสารเคมีตามธรรมชาติ ซึ่งพบในปริมาณสูงในผิวองุ่นแดงที่นำมาทำไวน์แดง ถั่วลิสงต้ม บิลเบอรี่ บลูเบอรี่ และผลิตภัณฑ์จากพืชต่างๆ
       Resveratrol เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายประมาณปี ค.ศ. 1990 เมื่อมีการศึกษาวิจัยพบว่าสาเหตุที่ชาวฝรั่งเศสประสบปัญหาเรื่องโรคหัวใจน้อยกว่า และมีอายุขัยที่ยืนยาวกว่าพลเมืองของประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรปกว่า 18 ประเทศที่บริโภคอาหารที่มีไขมันสูงในปริมาณมาก เพราะชาวฝรั่งเศสนั้นบริโภคไวน์แดง ซึ่งมี Resveratrol ในปริมาณมาก นั่นเอง
กลไลการออกฤทธิ์ของ Resveratrol มีฤทธิ์กระตุ้น SIRT1(sirtuin 1)ได้เป็นอย่างดี SIRT1 เป็นเอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำให้สิ่งมีชีวิตมีอายุที่ยืนยาวขึ้น) มีผลทำให้เกิดกระบวนการเผาผลาญอาหาร (metabolism) มากขึ้นกว่าปกติช่วยป้องกันการสะสมของไขมัน และการเป็นโรคเบาหวานที่ ทำให้ร่างกายมีระดับของน้ำตาลและระดับคอลเลสเตอรอลในเลือดลดลง เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและหัวใจหรือผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค

Resveratrol  สารสกัดจากไวน์แดง

ประโยชน์ของ Resveratrol  สารสกัดจากไวน์แดง
1. เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและความชราได้อย่างยอดเยี่ยม
2. ช่วยให้มีสุขภาพที่ดีและยืดอายุให้ยืนยาวได้ถึงร้อยละ 40
3. มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการก่อตัวของเชื้อมะเร็งและการเกิดโรคมะเร็งทุกประเภท หากรับประทานเป็นประจำในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะเริ่มต้น จะช่วยหยุดยั้งการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งจนเซลล์มะเร็งร้ายตายไปในที่สุด
4. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
5. ช่วยควบคุมให้ระดับเมตาบอลิซึมในไขมันเป็นปกติ
6. ช่วยป้องกันและลดการเสื่อมของเส้นประสาทสมอง
7. ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์และโรคพาร์คินสัน
8. ช่วยบำรุงตับอ่อนให้แข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับตับทุกประเภท
9. ช่วยลดอาการอักเสบของเนื้อเยื้อภายในร่างกาย ช่วยให้อาการอักเสบหายไวมากยิ่งขึ้น
10. ช่วยลดระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ปริมาณสารสกัดจากไวน์แดง Resveratrol ที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน
ในหนึ่งวันควรรับประทานสกัดจากไวน์แดง Resveratrol ไม่ต่ำกว่าวันละ 40 มิลลิกรัม เพื่อสุขภาพที่ดี แต่หากต้องการใช้เพื่อบำบัดรักษาโรคควรรับประทานวันละไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ซึ่งหากมากกว่านี้อาจต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น
อนึ่งการรับประทานสารสกัดจากไวน์แดง Resveratrol ในปัจจุบันอาจไม่ใช่เรื่องยาก ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถรับประทานสารสกัดจากไวน์แดง Resveratrol ที่มีอยู่ในองุ่นแดงได้ในปริมาณที่มาก หรือบางคนไม่สามารถจะดื่มไวน์แดงได้ทุกวันๆ ปัจจุบันได้มีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่สกัดจากไวน์แดง Resveratrol ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อให้การดูแลสุขภาพของเรามีความง่ายดายมากยิ่งขึ้นแทนได้ ซึ่งท่านอาจจะหามารับประทานได้ตามร้านจำหน่ายอาหารเสริมที่วางจำหน่ายทั่วไปในขณะนี้

Posted on

Food Intolerance : ภาวะที่รับประทานอาหารบางชนิดไม่ได้ เกิดอาการผิดปกติ หลายระบบในร่างกาย

ท่านเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่ เวลาที่เรารับประทานอาหารบางอย่างเข้าไปแล้ว เกิดอาการผิดปกติ ไม่สบาย เช่นอาจจะท้องอืด ท้องเฟ้อได้ง่าย เกิดสิว เกิดผื่นแพ้ ทำให้ภาวะเซ็บเดิร์มรุนแรงขึ้น น้ำหนักขึ้นได้ง่ายหรืออ้วนง่ายมาก นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ท้องเสีย ปวดข้อ ฯลฯ หรือ อาจจะเกิดอาการที่เราอธิบายไม่ได้หลายอย่าง และบางครั้งเมื่อเกิดอาการที่ไม่ทราบสาเหตุแล้วไปพบแพทย์ อาจจะได้รับการรักษาทางด้านจิตใจมากกว่า เนื่องจากคิดว่าเป็นอาการที่เกิดจากสภาวะทางจิตใจหรือความเครียด
ในความเป็นจริง อาการเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วร่างกายรับไม่ได้ ที่เรียกว่าการแพ้อาหารแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่รุนแรง หรือเกิดภาวะการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ ( Food Intolerance)
อาการเหล่านี้พบว่าจะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วหลายวัน เช่น เรารับประทานนมหรือขนมปังเข้าไปในวันนี้แต่เกิดอาการปวดข้อหลังจากนั้น 3 วัน หรือเป็นอาทิตย์ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะสรุปว่าเกิดจากอาหารชนิดไหน ซึ่งจะแตกต่างจากการแพ้อาหารแบบทันที (Food Allergy) ซึ่งอย่างหลังเราจะสังเกตได้ง่ายกว่า เพราะจะรุนแรงกว่า เกิดได้เร็วกว่า เช่น เกิดผื่นแพ้ ลมพิษ คัน หน้าเห่อ บวมแดง
ภาวะการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ ( Food Intolerance)
พบได้ถึง 45% ของคนปกติ การเกิดภาวะนี้มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นกับอาหาร และยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด อาจเกิดจากการติดเชื้อราในระบบทางเดินอาหาร, การมีพยาธิ, การติดเชื้อในลำไส้, ความไม่สมดุลของสารอาหารที่บริโภคเข้าไป, การดื่มแอลกอฮอล์ หรือผลมาจากยาซึ่งอาจไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างต่ออาหารมากเกินไป ในภาวะปกติภูมิคุ้มกันจะไปจับกับโปรตีนในอาหารและจะถูกขจัดไปโดยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแต่ถ้าระบบภูมิต้านทานทำงานมากผิดปกติร่างกายจะขจัดไม่หมดและจะไปสะสมอยู่ตามข้อหรือระบบย่อยอาหารทำให้เกิดอาการรับอาหารบางชนิดไม่ได้

อาการของภาวะรับอาหารบางชนิดไม่ได้ ( Food Intolerance)
– ระบบทางเดินหายใจ – ไอ, จาม, หายใจลำบาก, ภูมิแพ้, ติดเชื้อในหู, กรน, หยุดหายใจขณะ นอนหลับ, ปอดบวม, หลอดลมอักเสบ
– ระบบภูมิคุ้มกัน – มีไข้ หรือติดเชื้อได้ง่าย, เป็นแผลในปาก, ติดเชื้อรา
– ระบบประสาท – เชื่องช้า, ซุ่มซ่าม, ปวดหัว, ไมเกรน, เครียด, มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ, โรคจิตเสื่อม
– ผิวหนัง, ผม และ เล็บ – โรคเรื้อน, ผิวหนังอักเสบ, ลมพิษ, ผื่นแดง, ผมร่วง. เล็บฉีกหัก, รังแค
– ระบบเผาผลาญ – หงุดหงิด, น้ำหนักเกิน, น้ำหนักลด, หนาวสั่น, ไทรอยด์เป็นพิษ
– ระบบกล้ามเนื้อ – กล้ามเนื้อหรือข้อล็อค, เอ็นหรือข้ออักเสบ, กระดูกบาง, กระดูกแตก, กระดูกพรุน
– ขาดสารอาหาร – อ่อนเพลีย, สมาธิสั้น, ขาดวิตามิน, ขาดธาตุเหล็ก, โลหิตจาง, ขาด แคลเซียม
– ระบบทางเดินอาหาร – ลำไส้แปรปรวน (IBS), ท้องเสีย, ท้องผูก,อาหารไม่ย่อย, แผลใน กระเพาะอาหาร, แผลในลำไส้,อ้วนได้ง่าย
– ระบบสืบพันธ์ – ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ, มีบุตรยาก, แท้ง
– ที่สำคัญ โรคเรื้อรังที่สำคัญอาจจะเกิดตามมาได้ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1,โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis),โรคแพ้กลูเทน (Coeliac disease),โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis),โรคโลหิตจาง (Anemia),มะเร็งลำไส้และกระเพาะอาหาร (Bowel cancer and Stomach cancer),โรคหลอดเลือดหัวใจ (Atherosclerosis),โรคความดันโลหิตสูง,โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Hashimoto’s thyroiditis) ถ้าหากเราไม่รักษาอาการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ หรือไม่เลี่ยงการรับประทานอาหารที่ร่างกายรับไม่ได้
Food Intolerance Test 
ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้เราสามารตรวจสอบการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ที่เรียกว่า Food Intolerance Test โดยใช้เทคโนโลยี Microarray ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากประเทศอังกฤษ ที่มีความแม่นยำสูงมาก ที่สำคัญคือใช้เลือดเพียงปริมาณเล็กน้อย ผลการทดสอบสามารถบ่งบอกชนิดของอาหารที่ร่างกายรับไม่ได้ได้ถึง 221 ชนิด
การใช้ประโยชน์จากผลการทดสอบ Food Intolerance Test 
จากผลการทดสอบภาวะการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ ถ้าผลการทดสอบของคุณเป็นบวก บ่งบอกได้ว่าคุณมีปฏิกิริยาการต่อต้านอาหาร ซึ่งจากผลการทดสอบนี้คุณสามารถนำมาปรับเปลี่ยนชนิดของอาหารที่คุณรับประทานให้ถูกต้องและเหมาะสมกับภาวะสุขภาพ เพื่อให้การรับประทานอาหารแล้วเกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย และยังเป็นการดูแลสุขภาพจากภายในเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย นอกจากนี้การตรวจหาชนิดของอาหารที่ก่อให้เกิดอาการที่แท้จริง ยังถือว่าเป็นการป้องกัน ที่ดีกว่าการแก้ปัญหาโดยการรักษาอาการของโรคซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วย แต่สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารควรอยู่ภายใต้การควบคุมและดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อความถูกต้องครบถ้วนในการได้รับสารอาหารในแต่ละวัน

Posted on

DHEA : ฮอร์โมนที่จัดเป็นกลุ่มอาหารเสริม เพื่อการชะลอวัย ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

Portrait of smiling senior man using laptop on porch

DHEA คืออะไร

DHEA ย่อมาจาก Dehydroepiandrosterone จัดเป็นฮอร์โมนเพศชนิดหนึ่ง ที่ผลิตจากต่อมหมวกไต ( Adrenal glands บริเวณที่เรียกว่า Zona reticularis ) พบมากที่สุดในร่างกายของมนุษย์
DHEA เป็นฮอร์โมนตั้งต้นของฮอร์โมนเพศที่สำคัญ อันได้แก่
1. Testosterone(ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญ)
2. Estrogen(ฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญ)
3. Androstenidione
DHEA จัดเป็นกลุ่มฮอร์โมนชะลอความชรา (Anti-aging hormone) เช่นเดียวกับฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ,Testosterone,Estrogen และเมลาโตนิน (Melationin) โดย DHEA มีหน้าที่สำคัญๆ ดังนี้
1. ควบคุมการผลิตฮอร์โมน 18 ตัวในร่างกาย อย่างเป็นระบบ ที่สำคัญเป็นต้นตอของฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเพศหญิง
2. ลดการสะสมของไขมัน
3. เพิ่มภูมิคุ้มกัน โดยการกระตุ้นการผลิตและการทำงานของเม็ดเลือดขาว
4. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ และมะเร็งผิวหนัง
5. เพิ่มการทำงานของสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น ชะลออาการของผู้ป่วยอัลไซเมอร์
6. ลดอาการวัยทองในสุภาพสตรี ช่วยในการเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ลดโคเลสเตอรอล และลดอาการซึมเศร้า
7. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากมีหลักฐานว่าช่วยลดระดับฮอร์โมน cortisol ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและเป็นสาหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจ
8. ช่วยทำให้เส้นผมและขนเจริญเติบโต โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ หัวเหน่า (pubic hairs)
9. ช่วยทำให้ผิวพรรณเต่งตึง ลดริ้วรอย เสริมสร้างคอลลาเจน
10. ช่วยทำให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น

DHEA Food Source
DHEA Supplements

ฮอร์โมน DHEA ปกติร่างกายจะสร้าง ตั้งแต่อยู่ในครรภ์และจะมีมากที่สุดเมื่ออายุประมาณ 25 ปี หลังจากนั้นจะลดลงเรื่อยๆ พบว่า เมื่ออายุ 65 ปีจะมีปริมาณเหลือเพียง 20% ของคนหนุ่มสาว (อายุ 20 ปี ) นอกจากนี้ สาเหตุบางอย่าง เช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ ก็ทำให้ระดับฮอร์โมน DHEA ลดลงได้เช่นกัน

DHEA ตรวจได้อย่างไร :
ปัจจุบัน ประเทศไทยเราสามารถจะตรวจหาระดับฮอร์โมน DHEA ได้ในกระแสเลือด โดยการตรวจต้องส่งห้องแลบที่ทำการให้บริการด้าน Anti-Aging โดยเฉพาะ เพราะตามรพ.ทั่วๆ ไป อาจจะยังไม่สามารถให้บริการได้ โดยเมื่อตรวจพบว่า ร่างกายเรามีระดับฮอร์โมน DHEA ลดลง เราจะได้ป้องกันอาการต่างๆ และหาทางเพิ่มระดับฮอร์โมนนี้ให้สูงขึ้น หรือเข้าสู่ภาวะปกติได้

ภาวะพร่อง DHEA :
โดยพบว่า เมื่อใดที่ร่างกายมีภาวะพร่องฮอร์โมน DHEA ( DHEA Deficiency) จะพบมีอาการดังต่อไปนี้

  1. อาจจะมีอาการผมร่วงทั่วหนังศีรษะ เส้นผมบางลง เส้นผมแห้งกรอบ
  2. ขนรักแร้ ขนที่หัวหน่าว ลดลงชัดเจน
  3. อ้วนง่าย มีไขมันส่วนเกิน โดยเฉพาะที่พุง
  4. ความต้องการทางเพศลดลง
  5. เหนื่อยเพลียง่าย (Fatique) หงุดหงิด ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย
  6. ตาแห้ง ผิวหนังแห้ง ขาดความชุ่มชื้น

แนวทางการเพิ่มระดับ ฮอรโมน DHEA
1. อาหาร : พบว่าอาหารจำพวกปลา ไข่ ผัก ผลไม้ สัตว์ปีก ถั่ว หรือธัญญพืช ต่างๆ ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนนี้ให้สูงขึ้นได้
2.การให้ฮอร์โมนทดแทน (DHEA Supplements) : พบว่า DHEA จัดเป็นฮอร์โมนตัวเดียวที่ FDA ของอเมริกา จัดอยู่ในกลุ่มอาหารเสริม เพราะมีความปลอดภัยสูง จะพบว่ามีวางขายตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าอาหารเสริมโดยทั่วไป DHEA-S เป็นที่นิยมและขายดีมากในต่างประเทศ ในสหรัฐอเมริกาสามารถหาชื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
ขนาดที่รับประทาน 25 มก.ต่อวัน (สำหรับผู้หญิง) และ 50 มก(.สำหรับผู้ชาย ) ซึ่งพบว่าถ้ารับประทานในขนาดนี้ จะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายใดๆ เพียงแต่บางคน อาจจะมีผิวมัน สิว หรือขนดกมากขึ้น เนื่องจาก อาจจะมีผลไปทำให้ระดับ Testosterone สูงขึ้นได้

Posted on

Chelation Therapy : การกำจัดสารพิษ โลหะหนัก ในเส้นเลือด เพื่อสุขภาพที่ดี ชีวิตยืนยาว

โลกปัจจุบัน เต็มไปด้วยมลพิษ ทั้ง น้ำ และอากาศ ดิน อาหาร ทุกอย่างล้วนมี โอกาสที่จะปนเปื้อนสารพิษ โลหะหนักได้ สารพิษโลหะหนักพบได้ในวัสดุก่อสร้าง เครื่องสำอาง ยารักษาโรค อาหารที่ผ่านกระบวนการ ต่าง ๆ แหล่งเชื้อเพลิงผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลสุขภาพ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมถึงมนุษย์
ซึ่งจะก่อให้เกิดความผิดปกติ ในการแบ่งตัวของเซลล์ทำให้ความสามารถในการนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายน้อยลง ส่งผลให้เกิดความเสื่อมสภาพของอวัยวะในร่างกายอย่างต่อเนื่อง
Chelation Therapy คืออะไร? 
คือ การให้สารน้ำทางหลอดเลือด ที่มีสารประกอบประเภทกรดอะมิโน ที่เรียกว่า EDTA ผสมกับวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่ง EDTA ทำหน้าที่สำคัญ ในการจับสารโลหะหนักเช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู หรือ แม้แต่แคลเซี่ยมส่วนเกิน ซึ่งสะสมตกค้างในเนื้อเยื่อ และพอกอยู่ ตามผนังหลอดเลือดของเรา เพื่อขจัดออก ทางระบบปัสสาวะ
ระยะเวลาในการทำ แต่ละครั้ง ประมาณ 2.5-3 ชั่วโมง ระหว่างที่ทำสามารถ พักผ่อน ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือหรือฟังเพลงได้ตาม ปกติธรรมดา ภายหลังจากการเสร็จการรักษาสามารถ ประกอบกิจกรรมได้ตามปกติไม่จำเป็นต้องนอนพัก

Chelation Therapy มีกลไกการรักษาอย่างไร ? 
EDTA จะไปจับกับโลหะหนัก เช่น เหล็ก และ แคลเซี่ยม ซึ่งสะสมพอกอยู่ตามผนังหลอดเลือด( Plaque) ให้ไหลเวียนออกมาในกระแสเลือด รวมไปถึงโลหะหนักเป็นพิษที่สะสมอยู่ในเนื้อเยื่อร่างกายด้วย นอกจากนี้ วิตามินและแร่ธาตุ โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระในขนาดที่เรียกว่า Megadose (ขนาดมากพอที่จะส่งผลในการรักษา) ก็จะไปรักษาหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดดีขึ้น เส้นเลือดจะไม่ตีบตัน

Chelation Therapy มีประโยชน์อย่างไร 

  1. ขจัดสารพิษตกข้างในร่างกายและระบบหลอดเลือด
  2. ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
  3. ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
  4. ลดอัตราเสี่ยงของหลอดเลือดแข็งอุดตันและตีบแคบซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด
  5. ป้องกันโรคความเสื่อมต่างๆที่เกิดขึ้นจากระบบหมุนเวียนที่ไม่ดี

    ผลข้างเคียงจากการทำ Chelation Therapy 
    ระยะแรกบางท่านอาจมีอาการอ่อนเพลีย อันเนื่องจากกระบวนการขับสารพิษออกจากร่างกาย อาการที่เกิดขึ้น แก้ได้โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำผลไม้และรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนตามความ ต้องการของร่างกาย

Chelation Therapy เหมาะกับใคร

  1. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการอุดตันของหลอดเลือด เช่น อุดฟันด้วยโลหะ อมัลกัม มีไขมันในเส้นเลือดสูง มี oxidative stress (ระดับอนุมูลอิสระสูง) เช่น ดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ฯลฯ
  2. ผู้ที่มีปัญหาพิษโลหะสะสมและปัญหาสารพิษอื่นๆ สะสมในร่างกาย
  3. ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ การไหลเวียนเลือดบกพร่อง มีอาการ เช่น เวียนหัวง่าย ฯลฯ
  4. ผู้ที่มีปัญหาโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากหลอดเลือดไม่ยืดหยุ่น
  5. ผู้ที่แข็งแรงดี แต่ต้องการป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งและโรคเส้นเลือด ตีบตัน รวมทั้งต้องการกำจัดสารพิษและโลหะหนักออกจากตัวและ ต้องการรักษาสภาพของเส้นเลือดทั่วตัว ไม่ให้เกิดการอุดตันในอนาคต
  6. ผู้ที่ไปทำบอลลูนเส้นเลือด,ใส่ขดลวด,ทำบายพาส มาแล้ว เพราะจะเกิดการอุดตันใหม่เร็ว ๆ นี้ การทำคีเลชั่น จะลดปัญหาเหล่านั้นได้

ขั้นตอนในการทำ Chelation Therapy 

  1. พบแพทย์เพื่อซักถามประวัติและตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต และจะมีการคำนวณปริมาณยาที่เหมาะสมเป็น รายบุคคล
  2. ทำการตรวจ LAB พื้นฐานเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ตรวจหน้าที่ของไต เป็นต้น
  3. ทำการตรวจวิเคราะห์ผลเลือด (Live Blood Analysis) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากสามารถบ่งบอก ภาวะของเลือด ในขณะที่เซลล์ยังมีชีวิตซึ่งสามารถประเมินภาวะของร่างกายได้หลากหลายครอบคลุมในหลายๆ โรค
  4. ทำการบำบัดด้วย คีเลชั่นบำบัดตามสูตรยาที่เหมาะสม แก่ผู้เข้ารับการบำบัดแต่ละราย
  5. นัดติดตามผลเป็นระยะ ซึ่งระยะเวลาขึ้นกับลักษณะของโรคที่เรามีปัญหาอยู่

Posted on

Live Blood Analysis : การตรวจวิเคราะห์ชีวเคมี เลือดขณะยังมีชีวิต ทางเลือกในการดูโลหะหนัก

Live Blood Analysis คืออะไร

คือ การตรวจชีวเคมีในร่างกาย โดยการตรวจวิเคราะห์ส่วนประกอบของเม็ดเลือดขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อดูลักษณะ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว น้ำเลือด รวมทั้งสิ่งผิดปกติในเลือด ซึ่งบ่งบอกถึงสภาวะที่แท้จริงของร่างกาย
โดยผลการวิเคราะห์จะแสดงความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดให้ ทราบทันที แบบ Real Time ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ผลกันในทันที โดยเห็นภาพร่วมกันทั้งแพทย์และคนไข้
ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ อาจจะพบเห็น สารตกค้างในเลือด สารพิษ สารโลหะ หนัก ไขมัน ภาวะเลือดผิดปกติ ภาวะเลือดจาง หรือความผิดปกติในระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบการย่อยอาหาร โรคภูมิแพ้ ระบบฮอร์โมน ตลอดจนภาวะการขาดสารอาหารหรือวิตามินบางอย่าง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรค และความ เสื่อมต่างๆ ของร่างกาย เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูและการรักษาที่ถูกวิธี

ประโยชน์ที่จะได้จากการตรวจ Live Blood Analysis 
ผลวิเคราะห์ด้วยวิธีนี้ จะบ่งบอกถึง ลักษณะการใช้ชีวิตทั่วๆ ไป เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน และแนวโน้มการเกิดโรค โดยจะดูองค์ประกอบหลักๆ ได้ดังนี้

  1. ระบบย่อยอาหาร ภาวะการดูดซึมอาหาร เพื่อวินิจฉัยระบบการย่อยอาหาร ว่ามีความผิดปกติอย่างไรหรือไม่
  2. สารพิษตกค้างในเลือด เช่น โลหะหนัก ต่างๆ ที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมโดยตรงหรือทางอ้อม
  3. ความสมดุลของฮอร์โมนเพศในร่างกาย
  4. สารอนุมูลอิสระในเลือด
  5. ระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะภูมิแพ้ ของร่างกาย
  6. ระบบการหมุนเวียนของเลือด

ขั้นตอนการตรวจ Live Blood Analysis 

  1. แพทย์จะใช้วิธีตรวจโดยเครื่องมือเจาะเลือดแบบปากกา ซึ่งเจ็บเพียงเล็กน้อย และต้องการเลือดเพียง 1 หยด
  2. นำเลือดที่ได้ มาแตะที่สไลด์บางๆ แล้วนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า Darkfield Microscope  ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะสามารถแสดงผลขึ้นหน้าจอทันที เราจะเห็นภาพการกระจายตัวของเม็ดเลือด ชนิดต่างๆ สารพิษตกค้าง ไขมันในเลือด แบคทีเรีย หรือความผิดปกติอื่นๆ ได้ทันที ดูน่าตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก
  3. เมื่อทราบความผิดปกติที่เกิดขึ้น แพทย์จะให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน เปลี่ยน Life Style ที่ไม่ถูกต้อง หรือวางแผนการรักษา เพื่อแก้ไขสิ่งที่ผิดปกติ เช่น การให้วิตามินหรืออาหารเสริม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือการกำจัดสารพิษด้วยการทำ
Posted on

L-Glutamine : กรดอะมิโน ในรูปอาหารเสริม กับการเพิ่มกล้ามเนื้อ และ Growth Hormone

Glutamine เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งในร่างกายของคนเรา มีกรดอะมิโน อยู่ 2 ชนิด คือ
1. แบบจำเป็นต่อร่างกาย (Essential Amino Acid)
2. แบบไม่จำเป็นต่อร่างกาย (Non-Essential Amino Acid)
โดยพบว่า Glutamine เป็นกรดอะมิโนที่มีมากที่สุดในร่างกาย โดยมากกว่า 60% ของ Glutamine จะอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ (Skelaton Muscle) ซึ่งมีโครงสร้างหลักๆ เป็นโปรตีน ดังนั้น Glutamine จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกล้ามเนื้อนั่นเอง
L-Glutamine คือ อาหารเสริม ที่นิยมใช้กันในกลุ่มนักกีฬา ที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น นักเพาะกาย นักยกน้ำหนัก นักยิมนาสติก นักมวย ที่ต้องการให้กล้ามเนื้อแข็งแรง มากขึ้น โตขึ้น
เพราะ เมื่อเรามีการออกกำลังกายอย่างหนัก ร่ายกายของเราจะมีความต้องการใช้ Glutamine จำนวนมาก แต่ร่างกายสร้างได้ไม่เพียงพอ จึงอาจมีการสลายเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มปริมาณกลูตามีนให้มากขึ้นตามความต้องการ เป็นผลให้เกิดภาวะการสูญเสียกล้ามเนื้อ (Muscle breakdown) ขึ้นได้ ดังนั้นกลุ่มนักกีฬาเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องทาน Glutamine ในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพื่อเลี่ยงจากปัญหาการสูญเสียกล้ามเนื้อจากการสลาย Glutamine โดยจะรับประทานเป็นอาหารเสริม สำหรับสุขภาพ โดยพบว่าบางคนนำมารับประทานควบคู่กับกลุ่มเสริมสร้างโปรตีนโดยเฉพาะ เช่น Whey Protein

ประโยชน์ของ Glutamine

  1. หน้าที่คล้าย Branched Chain Amino Acids (BCAAs) BCAA คือจะไปกระตุ้นให้มีการหลั่ง Growth hormone ได้ถึง 4 เท่า
  2. ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ทำให้เป็นหวัดและติดเชื้อได้ยากขึ้น
  3. ช่วยฟื้นฟูสุขภาพหลังการเจ็บป่วย ให้กลับมาแข็งแรงได้เร็วขึ้น
  4. ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีการสังเคราะห์โปรตีนและการเติบโตของกล้ามเนื้อ ลดการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในขณะออกกำลังกาย โดยการช่วยทำลาย กรดแลคติค (Lactic Acid) ที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อในขณะที่ออกกำลังกายได้ ทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายได้นานขึ้น จะมีผลทำให้ มีการหลั่งฮอร์โมน Growth hormone ให้มากขึ้น ทางอ้อมเช่นกัน
  5. ช่วยลดการเสื่อมสลายของกล้ามเนื้อ (Muscular Dystrophy) โดยเฉพาะในคนสูงอายุ ที่ระดับฮอร์โมนเพศเริ่มลดลง ทำให้มวลกล้ามเนื้อจะลดลง การรับประทาน Glutamine ทดแทน จะช่วยลดภาวะดังกล่าวให้รุนแรงน้อยลงได้
  6. สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับสมองได้อีกทางหนึ่ง ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น ป้องกันภาวะสมองเสื่อมจากสูงอายุ
  7. ช่วยรักษาปัญหาแพ้อาหาร(food allergy ) ในกลุ่มที่มีระบบกาย่อยอาหารผิดปกติ เช่น ในกลุ่ม Leaky Gut Sybdrome,Irritible bowel syndrome,Ulcerative Colitis.
  8. ช่วยเพิ่มระดับ Glutathione ในร่างกายให้สูงขึ้นได้ ซึ่งถ้าต้องการทราบประโยชน์ของ Glutathione ก็ได้เขียนบทความไว้ให้แล้ว

     ขนาดที่แนะนำสำหรับการรับประทาน L-Glutamine ในรูปอาหารเสริม คือ 1.5-6.0 กรัมต่อวัน หรือรับประทานในปริมาณที่แพทย์แนะนำ และควรแบ่งมื้อทานหลายๆ ครั้ง กรณีที่ต้องการรับประทานเพื่อหวังผลที่ดีที่สุด แนะนำให้ทานช่วงท้องว่าง จะช่วยดูดซึมได้ดีกว่า และเวลาที่เหมาะสมคือหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก หรือช่วงก่อนนอน จัดเป็นกรดอะมิโนที่มีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงร้ายแรง ยกเว้นในรายทีแพ้กลุ่มสาร Monosodium glutamate (ที่พบในผงชูรส)

Posted on

Melatonin : เมลาโทนิน ฮอร์โมนชะลอวัย ช่วยให้นอนหลับ ปรับสมดุลร่างกาย

Melatonin เป็นฮอร์โมนธรรมชาติ ชนิดหนึ่งในร่างกาย ซึ่งผลิตจากต่อมไพเนียล(Pineal gland) ซึ่งอยู่ในสมอง โดยพบว่ามีหน้าที่หลักๆ ในการควบคุมการนอนหลับของร่างกาย โดยทำให้เรารู้สึกง่วงนอน (fall asleep) เพื่อที่จะให้เราได้พักผ่อนร่างกายหลังจากที่เราได้ตื่นมาทุกวัน
และยังทำให้ร่างกายมีการผ่อนคลายทั้งกล้ามเนื้อและระบบประสาทเพื่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง
กลไลการหลั่งฮอรโมน ปกติร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Melatonin ในช่วงเวลากลางคืน โดยจะหลั่งสูงสุดในช่วงประมาณ 22.00-23.00 น. จึงถือว่าเป็นช่วงที่ร่างกายควรจะเริ่มนอนหลับได้ ในขณะเดียวกัน จะมีผล ทำให้ เพิ่มการหลั่ง Growth hormone ให้มากขึ้นด้วยในช่วงนี้
ร่างกายจะหลั่ง ฮอร์โมน Melatonin ประมาณ 30-100 ไมโครกรัมต่อวัน โดยจะหลั่งสูงสุดในช่วงวัยเด็กและก่อนวัยรุ่น (Puberty) และจะเริ่มลดลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยพบว่าเมื่ออายุ 80 ปี ระดับ ฮอร์โมน Melatonin จะลดลงถึง 80% จึงพบว่าในผู้สูงอายุจึงมักจะมีปัญหาการนอนไม่หลับ

ประโยชน์ของฮอร์โมนเมลาโทนิน

  1. ชะลอความชราก่อนวัย เพราะพบว่ามีสมบัติเป็น Anti-oxidants (สารต้านอนุมูลอิสระ)
  2. สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้แข็งแรงมากขึ้น ทำให้อาการโรคภูมิแพ้เรื้อรังดีขึ้นได้
  3. บรรเทาอาการปวดศีรษะเรื้อรัง เช่น จากไมเกรน
  4. ช่วยลดระดับความดันโลหิต ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
  5. ขับล้างสารพิษในร่างกาย
  6. เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศแก่ร่างกาย
  7. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  8. แก้ปัญหาการนอนไม่หลับ ในช่วงระหว่างเดินทางข้ามทวีบ (Time zone) ที่เรียกว่า Jet Lag(Circadain rhythm disorder)
  9. ช่วยควบคุมความผิดปกติของเนื้อร้ายในร่างกาย ต่อต้านมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
  10. ฮอร์โมนเมลาโทนิน ช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชาย Testosterone,ฮอร์โมนเพศหญิง Estradiole และโกรทฮอร์โมนเพิ่มขึ้นได้
  11. ฮอร์โมนเมลาโทนิน ไม่ใช่ยานอนหลับ แต่ช่วยทำให้คนไข้ที่ต้องใช้ยานอนหลับเป็นประจำ ลดการใช้ยานอนหลับลง ทั้งในแง่ขนาดและความถี่ในการใช้ยานอนหลับ

อาการและอาการแสดงของภาวะพร่อง ฮอร์โมน Melatonin (Melatonin Deficiency)

  1. คุณภาพการนอนหลับลดลง หลับยาก ตื่นง่าย และจะหลับลงอีกครั้งได้ยาก หลับไม่สนิท
  2. อารมณ์ปรวนแปร หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล อาจจะมีปัญหาซึมเศร้าได้
  3. รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า รู้สึกนอนไม่พอ อยากจะงีบ และง่วงในช่วงบ่ายๆ
  4. หน้าแก่ก่อนวัย บางคนอาจจะมีผมหงอกก่อนวัย
  5. ในเด็กที่ขาด ฮอร์โมน Melatonin จะพบว่ามีการก้าวเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติ (Precocious puberty in children)
  6. ภาวะพร่อง ฮอร์โมน Melatonin ทำให้มีโอกาสเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง , Jet Lag, โรคหัวใจขาดเลือด ,อ้วนได้ง่าย ,ข้อเข่าเสื่อม ,มะเร็งเต้านมหรือมะเร็งต่อมลูกหมาก,โรคอัลไซเมอร์

การวัดระดับ ฮอร์โมน Melatonin ว่าพร่องจริงหรือไม่ การตรวจจากเลือด ทำได้ยาก เพราะสลายไปเร็ว แต่ก็ยังพอจะมีการตรวจสารใกล้เคียงได้ โดยตรวจวัดจากระดับ 6-sulfatoxy-melatonin ในปัสสาวะ ( เก็บตรวจปัสสาวะ 24 ชั่วโมง –24 hours of urine) และตรวจวัดระดับ ฮอร์โมน Melatonin ในน้ำลาย ดังนั้นปัจจุบัน จึงอาศัยอาการ อาการแสดง และอายุ เป็นหลักพื้นฐานในการวินิจฉัยภาวะ พร่องเมลาโทนิน

แนวทางการรักษาภาวะ พร่อง ฮอร์โมน Melatonin (Melatonin Deficiency)

  1. อาหาร พบว่ามีผลไม้บางอย่าง สามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน ได้ เช่น กล้วย ข้าวโอ๊ต มะเขือเทศ ผลเชอรี่ เป็นต้น เลี่ยงอาหารที่มีผลรบกวนต่อการนอนหลับ เช่น อัลกอฮอล์ กาแฟ นม( ซึ่งอาจจะรบกวนระบบการย่อยอาหาร) ของหวาน
  2. สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการนอนหลับ ควรนอนในห้องมีมืดสนิท ไม่มีเสียงหรืออะไรรบกวน เป็นไปได้ แนะนำให้ใช้ที่ปิดตา ก่อนนอน และอากาศในห้องนอน ควรจะเย็นสบาย ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป และพบว่าในช่วงที่ตื่น หรือตอนกลางวัน ควรจะอยู่ที่ที่แสงจ้า เพื่อให้ร่างกายหลั่งเมลาโทนินให้น้อยลง เพื่อที่จะให้ร่างกายกระตุ้นให้เมลาโทนิน หลั่งมากในตอนกลางคืนแทน (Light therapy)
  3. การให้ ฮอร์โมน Melatonin ทดแทน ปัจจุบันในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศทางยุโรป และอเมริกา ประชาชนจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับได้ยากมาก และพบว่าส่วนใหญ่จะมีภาวะพร่องเมลาโทนิน ทำให้บางประเทศจัดให้ ฮอร์โมน Melatonin เป็นกลุ่มอาหารเสริมที่ช่วยให้นอนหลับ เพราะ ฮอร์โมน Melatonin ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ถ้ารับประทานมากเกินไป อาจจะทำให้ตื่นได้ยาก และมีอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน ขนาดที่รับประทาน ปกติจะประมาณวันละ 1-3 มก.ต่อวัน
Posted on

ชายวัยทอง (Andropause ): ภาวะพร่องฮอร์โมน ที่ทำให้ความเป็นชายลดลง แก้ไขอย่างไร?

ชายวัยทอง (Andropauase) คืออะไร
 เดิมเรามีความเชื่อกันว่า ผู้ชายจะคงความเป็นชายหรือมีการสร้างฮอร์โมนเพศชายไปตลอดชีวิต ส่วนผู้หญิงนั้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้วรังไข่จะหยุดการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง จึงเรียกว่าวัยหมดประจำเดือน
แต่ความรู้ใหม่ พบว่าไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง ต่างก็ต้องก้าวเข้าสู่วัยทองกันทั้งนั้น โดยมีการวิจัยทางการแพทย์จากหลายๆ ประเทศพบว่า ชายทุกคน เมื่ออายุย่างเข้าวัย 40 ปีขึ้นไป การสร้างฮอร์โมนเพศชายจะลดลงอย่างสม่ำเสมอทุกปี โดยจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงปีละประมาณร้อยละ 1 และเมื่ออายุ 65 ปีจะมีระดับฮอร์โมนนี้ลดลงกว่าช่วงวัยรุ่นถึงร้อยละ 25 เมื่อระดับของฮอร์โมนเพศชายลดลงถึงระดับหนึ่งจะเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายไปบางส่วน ทำให้เกิดอาการต่างๆคล้ายกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

อาการ ! ที่บ่งบอกถึง ” ภาวะการพร่องฮอร์โมนเพศชาย “
– เครียด หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย บางครั้งอาจจะรู้สึกซึมเศร้า อยากอยู่คนเดียว ไม่ชอบพบปะผู้คนหรือเข้าสังคม
– เหงื่อออกมาก เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว สมาธิลดลง นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับก็หลับไม่สนิท
– โครงสร้างของร่างกาย เช่น กระดูกต่างๆ เริ่มเสื่อมถอย (แม้จะไม่ชัดเจนเหมือนผู้หญิง) กล้ามเนื้อเริ่มมีขนาดเล็กลง ไม่กระชับ มีการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อ โดยจะสังเกตได้ชัดที่กล้ามเนื้อต้นแขน
– สมรรถภาพทางเพศลดลง ซึ่งเรื่องนี้แหละที่ผู้ชายส่วนใหญ่วิตกกังวลกันมากเป็นพิเศษ
– การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้ชายวัยทองที่เห็นได้ชัดอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ การเผาผลาญไขมันจะลดลง จึงทำให้มีไขมันส่วนเกินได้ง่าย ดังนั้นผู้ชายวัยทองจึงมักจะลงพุง
– กำลังวังชา เริ่มถดถอย มีอาการเหนื่อยง่าย เมื่อต้องออกแรงหรือทำงานหนัก
– ผิวหนัง เริ่มหย่อนคล้อย ริ้วรอยมากขึ้น ริมฝีปากบาง และผมบางมากขึ้น
– มีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น โรคหัวใจ กระดูกพรุน ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะออกลำบาก

Andropauase

ปัจจัยที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงเร็วกว่าปกติ
นอกจากอายุซึ่งเป็นปัจจัยทางธรรมชาติที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลงแล้ว ปัจจุบันยังมีปัจจัยเสริมอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้ผู้ชายเข้าสู่วัยทองเร็วกว่าปกติ นั่นคือ

– เรื่องของกรรมพันธุ์
– การทำงานหนัก และพักผ่อนน้อย
– มีความเครียดตลอดเวลา
– ความอ้วน
– การขาดสารอาหารบางชนิด (เช่น แร่ธาตุสังกะสี เบต้าแคโรทีน)
– การดื่มเหล้า สูบบุหรี่
– มีโรคเรื้อรัง (เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไตวาย ฯลฯ)
– การกินยาบางชนิด (เช่น ยารักษาไทรอยด์)
– การออกกำลังกายที่มากเกินไป เป็นต้น
– สรุปได้ว่าอะไรก็ตามที่ทำให้ร่างกายเสื่อมถอยเร็ว จะทำให้มีการหมดฮอร์โมนเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน

การวินิจฉัย
เนื่องจากมีความแตกต่างของการขาดฮอร์โมนเพศในชายและหญิงวัยทอง คือ ในผู้ชายวัยทองฮอร์โมนเพศจะค่อยๆ ลดลง และไม่ได้ขึ้นกับอายุ อีกทั้งยังมีความแตกต่างกันผู้ชายแต่ละคน บางคนอาจจะเริ่มมีปัญหาตั้งแต่อายุน้อยๆ (น้อยกว่า 40 ปี ) แต่ผู้ชายที่มีอายุ 80 ปีบางคนก็ยังมีฮอร์โมนเพศและสุขภาพยังดีอยู่ก็ได้ จึงจำเป็นต้องมีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้
1. อาศัยอาการ ด้วยการประเมินอาการ 3 ด้าน คือ ด้านร่างกายและระบบไหลเวียน ด้านจิตใจ และด้านเพศ โดยอาศัยแบบสอบถาม ซึ่งช่วยในการคัดกรอง และใช้ในการติดตามผล
2. จากการตรวจเลือด เพื่อหา
2.1 ฮอร์โมนเทสทอสเตอโรน แบบรวม(Total testosterone )
2.2 Sex Hormone Binding Globulin(SHBG) ในช่วงเวลา 6.00-8.00 น. และควรงดอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 8 ชม. (อาจจะดื่มน้ำได้บ้างตอนเช้า) จึงจะได้ค่าที่ถูกต้องและใกล้เคียงความจริง
แล้วนำผลเลือดทั้งสองมาคำนวณให้ได้ค่าฮอร์โมนเทสทอสเตอโรนอิสระ (Free Testosterone) ซึ่งมีความแม่นยำกว่าการตรวจ เทสทอสเตอโรนรวม แล้วนำผลมาพิจารณาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน
แต่จริงๆ แล้วชายวัยทอง ไม่มีตัวเลขระดับฮอร์โมนเทสทอสเตอโรนที่แน่นอนว่าเท่าไหร่ จึงจะเรียกว่าภาวะพร่องฮอร์โมน ดังนั้นแนวความคิดใหม่ของแพทย์ ด้าน Anti-Aging จึงมักจะแนะนำให้ผู้ชายทุกคน ควรตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศชายในช่วงที่ยังไม่มีอาการผิดปกติ และตรวจติดตามทุก 10 ปี ว่ามีแนวโน้มการลดลงของฮอร์โมนเพศชายหรือไม่ หรือเมื่อเริ่มมีอาการทางกาย อารมณ์ และเรื่องทางเพศ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น นอกจากนี้ แพทย์ ด้าน Anti-Aging อาจจะมีการตรวจระดับฮอร์โมนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น FSH,LH,Estradiol,DHEA,Growth hormone(IGF-1) ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่

consultation
blood test

จะดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเข้าสู่อาการชายวัยทอง
ถึงแม้มนุษย์จะไม่สามารถเอาชนะความเสื่อมถอยได้ แต่ก็พอมีวิธีที่จะยืดเวลาแห่งความเป็นหนุ่ม ให้ยืนยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายใต้เงื่อนไขของธรรมชาติเอง นั่นคือ
1. อาหาร: นอกจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่แล้ว ชายวัยทองควรจะเน้นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนชนิดดีในปริมาณที่สูง เช่น ปลา สัตว์ปีก พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ผักใบเขียว เป็นต้น และควรจะรับประทานแคลเซียม ซึ่งจะเป็นตัวเสริมสร้างกระดูก ชายวัยทองควรจะได้รับแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน นอกจากนี้ ควรจะควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด โดยงดรับประทานอาหารที่มีโคลเลสเตอรอลสูง เช่น หอยนางรม ไข่แดง ควรงดของที่มีรสหวาน ชา กาแฟ อัลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดลดลงได้
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ เป็นต้น
3. การบริหารสุขภาพจิต: เพื่อลดความเครียดจากอาการทางกาย เช่น การไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ การเล่นโยคะ การมีสังคมกับคนรอบข้าง มองโลกในแง่ดี หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว
4. ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง: ตรวจเช็คความดันโลหิต ตรวจเลือดหาระดับไขมัน ตรวจภายในเช็คมะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจหามะเร็งลำไส้ มะเร็งตับอ่อน และตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density

5 การให้ฮอร์โมนทดแทน (Testosterone Replacement Therapy) :
 การใช้ฮอร็โมนเพศชายทดแทนในผู้ชายวันทองนั้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคที่พอจะป้องกันได้ และประวิงเวลาของโรคที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ข้อดีของการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน คือ การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทนในผู้ชายวัยทองให้เข้าสู่ระดับปกติ โดยไม่สูงเกินไป จะมีประโยชน์เพื่อลดปัญหาที่เกิดในชายวัยทองดังได้กล่าวมาข้างต้น โดยปัจจุบันมีการให้การให้ฮอร์โมนทดแทนชายวัยทอง ในหลายรูปแบบ เช่น
แบบรับประทาน : พบว่าเดิมมีการใช้การให้ฮอร์โมนทดแทนแบบรับประทาน แต่พบว่ามีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้ ถ้าทานติดต่อกันนานๆ เพราะตัวยารับประทานอาจจะผ่านตับได้
กรณีที่ใช้ฮอร์โมนทดแทนเพศชายแบบทานติดต่อกันนานๆ  แนะนำให้ตรวจระดับฮอร์โมน ความเข้มข้นของเลือด (Hematocrit) และตรวจเช็คมะเร็งต่อมลูกหมาก และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ไม่ควรจะซื้อยามารับประทานเอง
แบบฉีด : เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีระดับฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ต่ำมากๆ หรือผู้สูงอายุ (มากกว่า 60 ปี) โดยจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายได้เร็วกว่าแบบอื่นๆ และสะดวกในการใช้ เพราะฉีด 1-3 เดือนต่อครั้ง แต่บางครั้งก็พบว่า ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลงได้เร็วเช่นกัน และพบว่ามีรายงานว่า การเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายอย่างรวดเร็ว จะทำให้ฮอร์โมนเพศชายบางส่วน เปลี่ยนแปลงเป็นฮอร์โมนเพศหญิง(Estrogen) โดยผ่านกระบวนการ Aromatase Activites จึงมักจะมีการเสริมการให้สังกะสี ควบคู่ไปด้วย เพื่อรบกวนการทำงานของเอนไซม์ Aromatase กรณีที่ใช้ฮอร์โมนทดแทนเพศชายแบบฉีด แนะนำให้ตรวจระดับฮอร์โมน ความเข้มข้นของเลือด (Hematocrit) และตรวจเช็คมะเร็งต่อมลูกหมาก(PSA) เป็นระยะๆ หรือตามแพทย์สั่งอย่างใกล้ชิดเช่นเดียวกับแบบรับประทาน
แบบทา (Transdermal Testosterone): จัดเป็นฮอร์โมนทดแทนเพศชาย ที่ปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงมาก โดยระดับฮอร์โมนเพศชายจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น และไม่เปลี่ยนแปลงเปลี่ยนแปลงเป็นฮอร์โมนเพศหญิง(Estrogen) โดยผ่านกระบวนการ Aromatase Activites ) และไม่ทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งตับหรือต่อมลูกหมากมากขึ้น
แบบเหน็บ หรือฝังใต้ผิวหนัง : จัดเป็นฮอร์โมนทดแทนเพศชาย ที่ปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงดังสองแบบแรก เช่นกัน และได้ผลใกล้เคียงกับแบบทา สะดวกที่ไม่ต้องทาทุกวัน แต่ไม่สะดวกสำหรับบางคน เพราะมักจะฝังไว้ที่บั้นท้าย เป็นที่นิยมในแถบยุโรป แต่ในเอเซีย ยังนิยมแบบทาและรับประทานมากกว่า

testosterone injection
testosterone gel

ข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน

  1. เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือว่าสงสัยจะเป็น
  2. เป็นมะเร็งเต้านม หรือสงสัยว่าจะเป็น
  3. ต่อมลูกหมากโตทีมีอาการอุดตันการปัสสาวะที่รุนแรง
  4. มีความเข้มข้นของเลือดมากเกินไป
  5. มีการหยุดหายใจขณะหลับ
  6. หัวใจล้มเหลวอย่างรุนแรง
  7. ต่อมลูกหมากโตอย่างรุนแรง จนมีอาการของการอุดตันทางเดินปัสสาวะ
  8. แพ้ฮอร์โมนเพศชาย

การติดตามชายวัยทองที่ได้รับฮอร์โมนทดแทน

 ควรมีการตรวจระดับฮอร์โมนเริ่มต้นไว้ก่อน ที่จะให้ฮอร์โมนทดแทน และการตรวจซ้ำเมื่อครบทุก 3 เดือน หรือทุกปี แล้วแต่แพทย์จะนัดติดตามผล นอกจากการตรวจฮอร์โมนเพศเพื่อการวินิจฉัยภาวะพร่องฮอร์โมน แล้วควรตรวจ

  1. การตรวจเพื่อคัดกรองหาโรคในผู้สูงอายุทั่วไป เช่น ดัชนีมวลกาย สัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก ความดันโลหิตสูง ความเข้มข้นของเลือด เบาหวาน ไขมันในเลือด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคต่อมลูกหมากโต มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ ถ้าหากไม่มีปัญหาค่าใช้จ่ายก็อาจจะตรวจความหนาแน่นของกระดูกเพิ่มเติม
  2. ประเมินพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของชุมชน
  3. ผู้ที่ใช้ฮอร์โมนทดแทน ควรได้รับการตรวจ ความเข้มข้นของเลือด และ PSA (เพื่อคัดกรองหามะเร็งของต่อมลูกหมาก) ทุก 3 เดือน
Posted on

หญิงวัยทอง (Menopause ) : ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ ที่ผู้หญิงไม่อยากให้เกิด

Sad mature woman on bed with her husband in the background

หญิงวัยทอง (Menopauase) คืออะไร 
หญิงวัยทอง เป็นช่วงต่อระหว่างวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและวัยสูงอายุ โดยในช่วงอายุ 40 หรือ 45 ปีขึ้นไป ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะมีการผลิตฮอร์โมนเพศลดลง โดยปกติ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง และมีช่วงเวลาที่ประจำเดือนเริ่มมาในเวลาที่ไม่แน่นอน ถี่บ้างห่างบ้างตามกระแสขึ้นลงของฮอร์โมนเพศ เราเรียกระยะนี้ว่า ระยะก่อนหมดประจำเดือน (Premenopause)
จะทราบได้อย่างไรว่าเริ่มเข้าสู่วัยนี้แล้ว
สตรีเมื่ออายุมากว่า 40 ปีขึ้นไป ที่มีอาการผิดปกติต่างๆ โดยเฉพาะ 3 M คือ
1. Memory: ความจำเริ่มลดลง
2. Mood: อารมณ์ที่แปรปรวน
3. Muscles: กล้ามเนื้อไม่กระชับ
ควรจะสงสัยว่า เริ่มเข้าสู่วัยใกล้หมดประจำเดือนแล้ว หรือสตรีที่แม้ไม่มีอาการอะไรเลย แต่ไม่มีประจำเดือนติดต่อกันนาน 1 ปี ก็ถือว่า หมดประจำเดือนแน่นอน ในกรณีที่ต้องการทราบผลแน่ชัด
ตรวจสอบให้ชัดเจนได้อย่างไร
สามารถทราบได้โดยการเจาะเลือดหาระดับฮอร์โมน เอสโตรเจน โปรเจสเทอโรน ที่ผลิตที่รังไข่ และระดับฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ซึ่งถ้าต่ำกว่าค่าปกติ ก็บ่งบอกว่าเริ่มเข้าสู่วัยทองแล้ว (Peri-menopausal syndrome)

อาการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยทอง
ท่านสามารถจะสังเกต ตนเองได้ว่ากำลังจะหมดประจำเดือนหรือยัง โดยเริ่มต้นจากอายุที่เข้าใกล้เลข 40 และจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ดังนี้

  1. ประจำเดือนมาไม่แน่นอน บางทีมาถี่ๆแล้วทิ้งช่วงหายไปหลายเดือนแล้วกลับมามีอีก มีเลือดประจำเดือนออกแบบมากกว่าปกติหรือมาทุก 2-3 สัปดาห์
  2. อาการร้อนวูบวาบ (Hot Flash) ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะเคยมีอาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้นบางครั้งมีอาการเหงื่อออกมากกว่าปกติทั้งที่อากาศเย็น หรือมีเหงื่อออกตอนกลางคืนหรือขณะหลับอยู่ อาการเหล่านี้มักเกิดบ่อยในช่วง 2-3 ปีแรกที่ประจำเดือนหมด โดยความรุนแรงจะไม่เท่ากันในผู้หญิงแต่ละคน
  3. มีอาการนอนไม่หลับหรือหลับยาก บางคนตื่นบ่อยๆ กลางดึกหรือตื่นเช้ากว่าปกติ
  4. มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย บางคนมีอาการเศร้าซึม
  5. ปัญหาของช่องคลอด ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อของช่องคลอดบางลง ความยืดหยุ่นและความหล่อลื่นลดลง ทำให้เกิดอาการเจ็บเวลาร่วมเพศ หรือมีอาการแสบ คัน
  6. ปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเยื่อบุท่อปัสสาวะบางลง และมีความแข็งแรงของกระเพาะปัสสาวะลดลง ผู้หญิงวัยทองมักมีอาการปัสสาวะแล้วแสบ กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้หรือไม่นาน ปัสสาวะเล็ดหรือราดเวลาไอจามหรือยกของหนัก
  7. ความเต่งตึงและชุ่มชื้นของผิวหนังลดลงเพราะร่างกายสร้างสารคอลลาเจนลดลง ผิวหนังแห้งง่าย มักมีอาการคัน ตามร่างกาย ริ้วรอยเริ่มลึกและเห็นเด่นชัดขึ้น ใบหน้าเริ่มหย่อนคล้อย มวลกล้ามเนื้อลดลง ไม่กระชับ
  8. การเจริญพันธุ์ลดลง เนื่องจากเวลาตกไข่ไม่แน่นอน แต่สามารถตั้งครรภ์ได้เสมอจนกว่าประจำเดือนจะหยุดมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม

จะดูแลตนเองอย่างไรในวัยหมดประจำเดือน
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า วัยหมดประจำเดือนไม่ใช่วัยเริ่มต้นสู่วัยชรา สตรีวัยนี้ยังคงทำงานได้อย่างกระฉับ กระเฉง ปฏิบัติหน้าที่ทั้งในที่ทำงาน และที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมดังที่เรียกขานวัยนี้ว่าวัยทอง ดังนั้น สตรีวัยทองควรจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ทั้งจากสื่อต่างๆ สิ่งพิมพ์ พูดคุยกับเพื่อน หรือปรึกษาแพทย์ทางนรีเวช และควรจะมีการปฏิบัติตัวดังนี้

  1. อาหาร: นอกจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่แล้ว สตรีวัยทองควรจะเน้นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนชนิดดีในปริมาณที่สูง เช่น ปลา สัตว์ปีก พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ผักใบเขียว เป็นต้น และควรจะรับประทานแคลเซียม ซึ่งจะเป็นตัวเสริมสร้างกระดูก สตรีวัยทองควรจะได้รับแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน นอกจากนี้ ควรจะควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด โดยงดรับประทานอาหารที่มีโคลเลสเตอรอลสูง เช่น หอยนางรม ไข่แดง ควรงดของที่มีรสหวาน ชา กาแฟ อัลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดลดลงได้ 
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ เป็นต้น
  3. การบริหารสุขภาพจิต: เพื่อลดความเครียดจากอาการทางกาย เช่น การไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ การเล่นโยคะ การมีสังคมกับคนรอบข้าง มองโลกในแง่ดี หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว
  4. ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง: ตรวจเช็คความดันโลหิต ตรวจเลือดหาระดับไขมัน ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammography) และตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density)
  5. ฮอร์โมนทดแทน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาว่าควรรับฮอร์โมนทดแทนหรือไม่

การให้ฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยทอง (Hormonal replacent therapy=HRT)
จะมีข้อบ่งชี้ในการให้ เมื่อได้ตรวจระดับฮอร์โมนเพศ แล้วพบว่ามีการพร่องของฮอร์โมน (Hormone Deficiency) เพื่อป้องกันและรักษาอาการดังต่อไปนี้
– ใช้เพื่อรักษาอาการร้อนวูบวาบ (hot flush) ตามร่างกาย ใบหน้า ลำคอ หน้าอก ร่วมกับการมีเหงื่อออกมาก
– ใช้เพื่อรักษาอาการทางระบบปัสสาวะ และระบบสืบพันธ์ เพราะสตรีวัยทอง มักจะมีปัญหาปัสสาวะแสบขัดบ่อยๆ มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ช่องคลอดแห้ง ทำให้มีปัญหาเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับคู่สมรส
– ใช้เพื่อรักษาภาวะกระดูกพรุน
– ใช้เพื่อป้องกันโรคเส้นเลือดอุดตันหัวใจ ความจำเสื่อม บำรุงผิวพรรณ

การให้ฮอร์โมนทดแทนมีผลเสียหรือไม่
สมัยก่อน คนเรากลัวเรื่องการให้ฮอร์โมนทดแทนแล้วมีผลต่อมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก ซึ่งก็มีส่วนที่เกิดขึ้นได้ เพราะในสมัยก่อน การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน จะเป็นแบบรับประทาน(Premarin) ซึ่งมีผลข้างเคียงในระยะยาวได้
– แต่ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาการให้ฮอร์โมนทดแทนในรูปแบบของสารสกัดจากธรรมชาติ และได้เปลี่ยนเป็นรูปแบบของการครีมทาเฉพาะที่แทน (Transdermal forms) ซึ่งมีความปลอดภัยขึ้นมาก และแทบจะไม่มีผลข้างเคียงระยะยาว แต่ยังไงก็ต้องปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ (Anti-aging Medicine) เพื่อปรับระดับของการให้ฮอร์โมนทดแทนที่เหมาะสม
– ขณะเดียวกันได้มีผลการวิจัยทางการแพทย์จากหลายๆ สถาบัน พบว่าอัตราการเสียชีวิตของสตรีในอเมริกา พบว่า ประมาณ 48% เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมเพียง 1.5% เมื่อสตรีวัยทองได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน พบว่าอัตราการตายจากโรคหัวใจ ลดลงถึง 40% แต่มีอัตราการเพิ่มของมะเร็งเต้านมเพียง 0.15% เท่านั้น จึงมีข้อสรุปว่า การให้ฮอร์โทนทดแทน (เอสโตรเจน) ในสตรีวัยหมดประจำเดือน จะได้ผลดีมากกว่าผลเสีย
– นอกจากนี้ยังมีวิตามินและสารสกัดจากธรรมชาติหลายตัวที่ช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดดี (good estrogen) เช่น กลุ่ม flax(ป่าน) seed extracts,Soy,กะหล่ำปลี ,วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 ,folic acid,Omega-3 fatty acid (Fish oils ) กลุ่มสมุนไพร เช่น ใบแปะก๊วย ใบขี้เหล็ก เป็นต้น

Posted on

Growth Hormone : ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความสูง และช่วยชะลอวัย ให้คงความเป็นหนุ่มสาวไว้ได้

growth hormone (GH) ทำหน้าที่อะไร 
-โกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) เป็นฮอร์โมนชนิดโปรตีน หรือที่เรียกว่า Peptide Hormone เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Lobe of Pituitary Gland ) เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งการ Metabolism ของร่างกาย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Somatotropin
growth hormone (GH) สำคัญอย่างไร
growth hormone (GH) ในเด็ก มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เด็กที่ขาดหรือพร่องฮอร์โมนนี้ มีผลต่อความสูงของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะเตี้ยแคระ (dwarfs) และเด็กที่มีฮอร์โมนนี้สุงกว่าปกติ ก็จะเกิดภาวะตัวสูงใหญ่ผิดปกติ(Giants)
growth hormone (GH) ในผู้ใหญ่ จะเกี่ยวข้องกับขบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกาย การเผาผลาญพลังงาน เกี่ยวข้องกับระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ตลอดจนการทำงานของปอด หัวใจ ตับ สมอง และอวัยวะที่สำคัญหลายอย่าง
growth hormone เป็นฮอร์โมนสำหรับความเยาว์วัย
เพราะจะหลั่งสูงสุดเมื่ออายุ 20 ปี และหลังจากนั้น ระดับฮอรโมนนี้จะเริ่มทำงานลดลง โดยจะพบว่าทุกๆ 10 ปี growth hormone (GH) จะทำงานลดลงประมาณ 14% โดยพบว่าเมื่ออายุประมาณ 65 ปี growth hormone (GH) จะทำงานลดลงประมาณ 50% ดังนั้นถ้าพูดกันง่ายๆ ก็คือ ขบวนการชรา จะเริ่มต้นที่อายุ 20 ปี และค่อยๆ มากขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งก็คือเมื่อย่างเข้าวัยทองนั่นเอง

ภาวะพร่องโกรทฮอร์โมน(GH deficiency) มักจะเริ่มมีอาการให้เห็นทีละเล็กละน้อย ตั้งแต่อายุ 25-30 ปีขึ้นไป แล้วแต่คน แต่จะเริ่มสังเกตชัดขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี และอาการเหล่านี้จะเด่นชัดขึ้นถ้ามีการนอนหลับพักผ่อนไม่เต็มที่ อาการและอาการแสดงที่พบได้มีดังนี้
– รู้สึกอ่อนเพลียง่ายตลอดทั้งวัน คุณภาพชีวิตแย่ลง เรี่ยวแรง(Energy) ถดถอย
– ไม่สามารถทนนอนดึกได้ เช่น ถ้าต้องนอนหลังเที่ยงคืน จะทำให้เพลียและไม่มีแรง กว่าจะฟื้นตัวก็นานหลายวัน ต้องการจะนอนมากกว่า 8-9 ชม.ต่อวัน จึงจะมีเรี่ยวแรงทำงานได้
– เส้นผมเริ่มบางลง ทั่วหนังศีรษะ
– อาการทางผิวหนัง –เปลือกตาเริ่มตก มีถุงไขมันใต้ตา แก้มเริ่มหย่อนคล้อย จมูกและริมฝีปาก บางลง คอเริ่มหย่อนคล้อย มีร่องรอยเหี่ยวย่นตามใบหน้า ลำคอ
– ควบคุมน้ำหนักได้ยากขึ้น อ้วนได้ง่าย เริ่มมีพุง มีไขมันส่วนเกินสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
– ความผิดปกติทางอารมณ์- หงุดหงิดง่าย ทนความเครียดไม่ค่อยได้ แม้จะเล็กน้อย อยากจะปลีกตัวจากสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง
– กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรง ไม่กระชับ มวลกล้ามเนื้อ (Muscle mass) ลดลง ต้นแขนห้อยเหมือนหนังไก่(Chicken arms)
– สมรรถภาพทางเพศลดลง ผู้ชายอาจจะมีปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศไม่เต็มที่ มีปัญหาหลั่งไว ส่วนผู้หญิงก็อาจจะมีความต้องการทางเพศ(Sexual Desire) ลดล

การตรวจวัดระดับ growth hormone
– ในร่วงกายว่าเริ่มลดลงหรือพร่องไปมากน้อยเท่าไหร่ ทางการแพทย์ทำได้ยาก เพราะ growth hormone จะอยู่ในกระแสเลือดเพียงไม่กี่นาที แต่จะเปลี่ยนสภาพเป็น Growth factor ที่ตับแทน
– ดังนั้นการวัดระดับ growth hormone จึงจะใช้การวัดระดับของ Growth factor แทน ในรูปของ Insulin-like growth factor(IGF-1) ซึ่งจะตรวจการในเลือด และใช้เป็นตัวบ่งชี้แทน ระดับ growth hormone ได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่การตรวจที่จะได้ผลดีและถูกต้อง ต้องตรวจช่วงเวลา 6.00-8.00 น. และควรจะงดอาหารก่อนการตรวจเลือดอย่างน้อย 8 ชม. อาจจะพอดื่มน้ำก่อนตรวจได้บ้าง ถ้ากระหายน้ำในตอนเช้า
– การตรวจระดับ growth hormone นอกจากจะตรวจจากระดับ Insulin-like growth factor(IGF-1) แล้วแพทย์มักจะตรวจหาระดับของ IGF-BP-3 (Binding protein) ร่วมด้วย เพราะจะมีระดับผกผันกัน เพื่อให้เปรียบเทียบ ระดับ Insulin-like growth factor(IGF-1) ที่ทำงานอย่างแท้จริง คือถ้าพบว่า ระดับ IGF-BP-3 สูง ก็บ่งบอกว่า ระดับ growth hormone บางส่วนได้จับกับโปรตีน ทำให้ GH จริงๆ ออกฤทธิ์ได้น้อยลง

แนวทางการรักษาภาวะ พร่องโกรทฮอร์โมน (GH deficiency)
ปัจจุบัน ในวงการแพทย์ Anti-Aging พบว่า การเพิ่มระดับ growth hormone สามารถทำให้เราชะลอวัย และฟื้นฟูความเป็นหนุ่มสาวขึ้นมาใหม่ได้ ดังนี้
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือนิสัยเดิมๆ (Life Style Change )
1.1 Diet: ควรหันกลับมาบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าอย่าง จริงๆ จังๆ โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนชนิดดี (good protein) เช่น ปลา ผลไม้ ผัก เนื้อแดง สัตว์ปีก และพยายามเลี่ยง เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ กาแฟ ของหวานทั้งหลาย ผลิตภัณฑ์จากนม เนย งดสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้ระดับ GH ลดลงได้ 
1.2 Exercise : ควรสร้างนิสัยการออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง นานครั้งละ 30-45 นาที การออกกำลังที่เหมาะสำหรับการเพิ่มระดับ GH คือการออกกำลังกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหม เช่นการวิ่งเหยาะๆ การเดินเร็ว การเต้นแอโรบิก หรือการออกกำลังกายหนักๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ เช่นการยกน้ำหนัก เป็นต้น
1.3 การนอนหลับให้เพียงพอ : ควรจะนอนหลับให้สนิทอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และควรนอนไม่เกิน 4-5 ทุ่ม เพราะจะเป็นช่วงที่ฮฮร์โมน Melatonin ซึ่งเกี่ยวกับการทำให้ง่วงและนอนหลับ(จะอธิบายออร์โมนนี้อย่างละเอียดภายหลัง) หลั่งสูงสุด ซึ่งผลของ ฮฮร์โมน Melatonin นี้จะช่วยเพิ่มระดับ GH ได้เช่นกัน
2. การปรับเปลี่ยนด้านจิตใจ : พยายามเป็นคนมองโลกในแง่ดี เลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด สร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง เช่น การสวดมนต์ นั่งสมาธิ การเล่นโยคะ การรำไท้เก้ก หรือการสูดหายใจลึกๆ ยาวๆ อย่างน้อยซัก 10 นาที วันละ 3 ครั้งก็ได้ เพราะความเครียด ทำให้ฮอร์โมนทุกตัวในร่างกายลดลงได้

3. อาหารเสริมกลุ่ม Amino acid : พบว่าอาหารเสริมบางตัว สามารถที่จะเพิ่มระดับ GH ได้ แต่ควรจะทานช่วงที่ท้องว่าง หรือช่วงเช้า และ ก่อนนอน เพราะจะเพิ่มการออกฤทธิ์ได้ดีกว่า

3.1 Arginine : ขนาด 7-12 กรัมต่อวัน
3.2 Ornithine: ขนาด .5-8 กรัมต่อวัน
3.3 Lysine ขนาด 1-3 กรัมต่อวัน

พบว่า อาหารเสริมในข้อ 3.1-3.3 มักจะเพิ่มระดับ GH ได้คนหนุ่มสาว อายุระหว่าง 20-35 ปี และพบว่าหลายยี่ห้อ ได้นำ กรดอะมิโนทั้ง 3 ตัว จะผสมกันเพื่อให้ทานง่าย บางคนเรียกว่า Tri-amino Acids

3.4 Glycine ขนาด 5-7 กรัมต่อวัน
3.5 L-tryptophan ขนาด 5-10 กรัมต่อวัน
3.6 L-glutamine ขนาด 2 กรัมต่อวัน จัดเป็นกรดอะมิโนที่สามารถเพิ่มระดับ GH ได้ทุกกลุ่มอายุ แม้แต่คนสูงอายุ ( 32-64 ปี) ปัจจุบันถือว่าเป็นอาหารเสริมกลุ่มอะมิโนที่ได้รับความนิยมสูงสุด

4. การให้ฮอร์โมนอื่นทดแทน (Hormonal Replacement Therapy-HRT) : พบว่าเพื่อคนสูงอายุขึ้น มีฮอร์โมนหลายตัวที่ลดระดับหนึ่ง ดังมีการรายงานทางการแพทย์ว่า เพื่อเราทำการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทนตัวอื่นๆ เช่น Testosterone,Melatonin,Estrogen,Thyroid hormone ในคนไข้ที่ขาดออร์โมนเหล่านี้ เมื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเหล่านี้ในระดับที่น่าพอใจแล้ว ก็มีผลส่งให้ระดับฮอร์โมน GH เพิ่มขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
5. การให้โกรทฮอร์โมนทดแทน (Growth hormone replacement ): จัดเป็นการเพิ่มระดับ GH ที่ได้ผลที่สุด และเร็วสุด แต่แพทย์มักจะเลือกให้การรักษาเป็นทางเลือกสุดท้าย ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบของ GH หลากหลายยี่ห้อ การเลือกพิจารณารูปแบบของการให้ และบริษัทที่น่าเชื่อถือ ถือว่ามีผลต่อการรักษา ที่ใช้กันทั่วๆ ไป ก็คือ
5.1 แบบหยอดหรือสเปรย์ใต้ลิ้น ได้ผลในระดับหนึ่ง เป็นที่นิยม เพราะราคาไม่แพงมาก (ประมาณ 5,500 บาท)
5.2 แบบฉีด GH แต่ถ้าต้องการเพิ่มระดับ GH ที่ได้ผลจริงๆ ต้องใช้การฉีด GH เท่านั้น ซึงในเมืองไทย ยังไม่อนุญาตให้ทำได้ และปัจจุบันก็ยังมีราคาแพงมาก ( ราคาประมาณ 15,000-25,000 บาทต่อ เดือน
ผลข้างเคียงของการฉีด GH พบได้ แม้จะไม่รุนแรงนัก เช่น เกิดภาวะบวมที่ข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) การปวดข้อต่างๆ หรือความดันในสมองเพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่าเพื่อหยุดฉีดหรือลดขนาดการฉีดลง ก็สามารถทำให้ผลข้างเคียงเหล่านี้ลดลงได้
ข้อห้ามใช้ในการฉีด GH ได้แก่ คนไข้ท่มีปัญหามะเร็งระยะลุกลาม จอตาผิดปกติ(Proliferative retinopathy) หรือความดันในสมองสูง (Intracranial hypertension)

Posted on

Anti-Aging Medicine : เวชศาสตร์ชะลอวัย การแพทย์ที่ใช้ป้องกันและฟื้นฟูร่างกายให้ดูดีจากภายในสู่ภายนอกแบบองค์รวม

Anti-aging medicine คืออะไร

Anti-aging medicine คือ องค์ความรู้ทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการป้องกัน การดูแลสุขภาพ ทุกๆ ด้านทั้งด้านสรีระร่างกาย ผิวพรรณ โภชนาการ ระดับฮอร์โมน การออกกำลังกาย ภาวะทางจิตใจและอารมณ์ หรือปัจจัยอีกหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำให้คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น อย่างสุขสมบูรณ์ (Vital life)
เนื่องจาก อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโลก นับวันจะพบว่าอายุขัย เฉลี่ยจะมากขึ้น คือคนเรามีอายุยืนยาวกว่าในอดีต โดยปี 2564 จะเป็นปีที่ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ อายุขัยเฉลี่ยประมาณ 75 ปี
ทำให้เราต้องคิดว่า “ เมื่อตัวฉันต้องอยู่ในโลกใบนี้อีกนานมากขึ้น ฉันจะต้องทำอย่างไร ที่จะทำให้ชีวิตบั้นปลายของตนเอง อยู่อย่างมีความสุข ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งร่างกายและจิตใจ แบบองค์รวม (Holistics) โดยไม่ให้เป็นไปตามกลไกการเสื่อมของร่างกาย (Aging Process) หรือถ้าจะเกิด ก็ให้เกิดผลน้อยที่สุด สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ต้องตกเป็นภาระแก่ลูกหลาน”


จากประโยคดังกล่าว จึงดูเหมือนว่า Anti-aging medicine ต้องยึดหลักการดูแลและป้องกันสุขภาพเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเป็นการแพทย์เชิงรุก ก่อนที่จะมีปัญหาเกิดขึ้น หรือถ้าเกิดขึ้น จะเยียวยารักษาอย่างไร ให้เกิดขึ้นช้าที่สุด และมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันให้น้อยที่สุด ซึ่งก็ต้องอาศัยทีมแพทย์จากหลายๆ ฝ่าย หรืออาศัยความรู้เฉพาะจากหลายๆ ด้าน ในการประเมินผลการดูแลสุขภาพของคนไข้แต่ละคน

หลักการดูแลสุขภาพตามแนวทาง Anti-Aging

มุ่งเน้นการป้องกันเป็นหลัก เหมือนการมาตรวจสุขภาพตามปกติ แต่ต่างกันที่จะมีการตรวจที่ลงลึกกว่าการตรวจสุขภาพโดยทั่วไป เช่น การตรวจระดับฮอร์โมน วิตามิน การคัดกรองปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรค สารพิษ ภาวะภูิมแพ้อาหารแฝง โดย เวชศาสตร์ชะลอวัยจะมุ่งเน้นเข้าไปว่าในร่างกายเรามีอะไรที่มันยังขาดที่จำเป็นต้องเสริม เพื่อที่จะมีผลดี หรือผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เพราะหากเรารู้ก่อนตั้งแต่ยังไม่เป็นโรคและรีบป้องกันย่อมได้ผลที่ดีกว่า เน้นการดูแลจากภายในของเรา ถ้าภายในดีภายนอกก็จะดูดีขึ้นด้วย
เนื่องจากเป็นการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวม จึงต้องอาศัยทีมแพทย์หรือองค์ความรู้จากหลายๆ ด้านทางการแพทย์ เพราะการที่จะทำอย่างไร ให้เกิดชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุข( Vital life) ต้องมีการดูแลในหลายๆ ด้านอาทิเช่น
-Life style improvement ( การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น สอดคล้องกับหลักการมีสุขภาพที่ดี)
-Vitamins,Minerals and Trace elements Supplements ( การเลือกรับประทานอาหารเสริม หรือวิตามิน เกลือแร่ ที่เหมาะสมกับภาวะของร่างกายที่พร่องไป)
-Lean Body (การมีร่างกายที่สมส่วน ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป)
-Hormonal replacements/supplements( การเสริมฮอร์โมนบางตัวที่ร่างกายพร่องไป)
-Healthy Blood and Body ( การมีภาวะที่ปกติในระบบเลือด และร่างกายโดยรวม)
-Mental Status( การมีภาวะจิตใจที่สมบูรณ์)
-Sleep as well ( การนอนหลับพักผ่อนที่เปี่ยมสุข)
-Sex life( การมีความสุขทางเพศอย่างเหมาะสม) /Family Happiness( ความสุขในครอบครัว)
-Diets ( การดูแล การควบคุม และการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับวัย)
-Exercise (การออกกำลังกายที่พอเหมาะพอดี ต่อสุขภาพ)
-ฯลฯ

กลุ่มคนที่ควรไปพบแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย

  1. บุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคจากกรรมพันธุ์ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคความดันโลหิตสูง แต่หากคุณอยู่ในกลุ่มนี้อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะกรรมพันธุ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเท่านั้น ถ้าคิดเป็นสัดส่วนก็เพียงแค่ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งบางคนอาจมีความใกล้เคียงกับคนในครอบครัวที่เป็นโรคดังกล่าว จึงทำให้มีโอกาสเป็นโรคตามกันไป
  2. บุคคลที่มีโรคประจำตัว ยกตัวอย่างเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ โรคไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง เป็นต้น
  3. บุคคลที่อยากเริ่มรักษาสุขภาพร่างกายอย่างถูกวิธี  
Posted on 4 Comments

อยากสูงทำอย่างไร ฉีดโกรทฮอร์โมน จะช่วยมั้ย และมีปัจจัยอะไรอีก ที่ทำให้เราสูงขึ้นได้

Growth hormone (GH) ทำหน้าที่อะไร

โกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) เป็นฮอร์โมนชนิดที่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Lobe of Pituitary Gland ) เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งการ Metabolism ของร่างกาย โดยพบว่า
1. กระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกาย 
Growth Hormone ในการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นการกระตุ้นตับและเนื้อเยื่ออื่นๆ ให้สร้าง IGF-I(insulin-like growth factor-I)
IGF-I กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์สร้างกระดูกอ่อน ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของกระดูก นอกจากนี้ IGF-I จะกระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและจะมีผลโดยตรงกระตุ้นให้เซลล์กระดูกอ่อนเกิดการพัฒนาจำแนกชนิดต่อไป ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของกระดูก จึงช่วยให้สูงขึ้นได้ตามวัย
ระยะการเจริญเติบโตและพัฒนาของร่างกาย
1. การเจริญเติบโตในวัยเด็ก ในขวบปีแรก เด็กจะเจริญเติบโตมากที่สุด ในช่วง 4 เดือนแรก ความเพิ่มขึ้น 3 ซม./เดือน หลังอายุ 4 เดือน ถึง 12 เดือน ความยาวเพิ่มขึ้น1.5 ซม./เดือน อายุ 1 – 2 ปี เด็กจะมีความยาวเฉลี่ย 1 ซม./เดือน หลังอายุ 2 ปี จนถึงอายุ 10 ปี อัตราการเจริญเติบโตจะคงที่ ความสูงเพิ่มขึ้น 5 – 6 ซม./ปี
2. การเจริญเติบโตในวัยรุ่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นการเจริญเติบโตในเพศชายและเพศหญิงจะแตกต่างกันชัดเจน เนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ ดังนี้
– เด็กหญิงไทยมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยสาว อายุ 10 – 10.5 ปี เริ่มมี growth spurt (โตอย่างรวดเร็ว) อายุ 11 ปี ความสูงเพิ่มขึ้น 7 ซม./ปี หลังจากนั้นความสูงจะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุ 14 – 15 ปี ความสูงลดลงเหลือเพียง 0.5 – 1 ซม./ปี ความสูงเฉลี่ยของผู้หญิงไทยขณะมีประจำเดือนครั้งแรก คือ 148.8 ซม. และสูงเต็มที่วัยผู้ใหญ่เพิ่มขึ้นอีก 6.2 ซม.
– ในเพศชายเข้าสู่วัยรุ่นช้ากว่าเด็กผู้หญิง คือ อายุประมาณ 12 – 12.5 ปี เริ่มมีความสูงอย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้น 6 ซม./ปี อายุ 14 ปี เริ่มมีการเพิ่มความสูงมากที่สุด 8 ซม./ปี หลังจากนั้นความสูงช้าลง อายุ 17 – 18 ปี ความสูงของคนไทย โดยเฉลี่ย 169.6 ซม
ดังนั้น หลายคนมาที่นึกอยากสูงขึ้น ถ้าอายุเลยวัยรุ่นไปแล้ว จึงไม่สามารถจะทำได้ เพราะกระดูกได้ปิดไปแล้ว ดังนั้นถ้าอยากจะเพิ่มความสูง ต้องเร่งทำก่อน ที่สายเกินไป ที่จะแก้ไข

ปัจจัยที่มีผลต่อความสูงของคนเรา 

1.กรรมพันธุ์  รูปร่างของพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย เป็นตัวกำหนดโครงสร้างพื้นฐานของลูกหลาน หากพ่อแม่สูงหรือเตี้ย ลูกก็มีแนวโน้มที่จะมีรูปร่างแบบนั้น ความสูงของลูกสามารถกะคร่าวๆ ได้ ด้วยการนำความสูงของพ่อรวมกับของแม่ แล้วหารสอง (บวก-ลบ ได้ 10 เซนติเมตร)
2. ภาวะโภชนาการ อาหารมีผลต่อความแข็งแรงของกระดูกอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น ควรได้รับอาหารครบ 5 หมู่อย่างพอเพียง สารอาหารที่สำคัญในการทำให้กระดูกแข็งแรง ก็คือแคลเซียม อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม แต่บางคนดื่มนมแล้วท้องเสีย ก็ให้เลี่ยงไปรับประทานปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งก้าง กุ้งแห้ง ผักที่มีสีเขียวเข้มๆ ถั่วเหลือง และงา เป็นต้น
3. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองหลั่ง growth hormone ได้เหมือนกัน และยังกระตุ้นให้เซลล์ที่สร้างเนื้อกระดูกดึงแคลเซียมจากเลือดมาสร้างกระดูก และสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกด้วย นอกจากนี้การได้รับแสงแดดอย่างพอเพียงในตอนเช้าหรือเย็น จะช่วยให้มีการสร้างวิตามินดีในร่างกาย เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมได้ คนที่เอาแต่นั่งๆ นอนๆ พัฒนาการของกระดูกจะช้ากว่าคนที่เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ

4.การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับให้สนิทและนานพอ จะทำให้ร่างกายหลั่ง growth hormone ออกมาได้อย่างเต็มที่ และพบว่าควรนอนก่อน 5 ทุ่ม เพราะจะเป็นช่วงที่ร่างกายจะหลั่ง growth hormone ออกมาได้สูงสุด การนอนดึกมีผลทำให้ hormone หลั่งออกมาน้อย และมีผลต่อความสูงได้ ในอนาคต
5. สุขภาพร่างกายและจิตใจ การดูแลสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วย จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ การเจ็บป่วยบ่อยๆ จะทำให้การเติบโตหยุดชะงัก การใช้ยาบางชนิดก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย นอกจากนี้ ความเครียดก็เป็นตัวบั่นทอนการเจริญเติบโตได้เช่นกัน
6. ฮอร์โมน ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโต คือ
6.1 Growth hormone จากการที่ฮอร์โมนตัวนี้ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตดังกล่าวข้างต้น คนที่ขาดฮอร์โมนตัวนี้จะมี รูปร่างเตี้ยเล็กกว่าปกติ
ซึ่งจะทราบได้ ก็ต่อเมื่อมีการเจาะระดับฮอร์โมนตัวนี้ว่าต่ำกว่าปกติจริงหรือไม่ คนที่ขาดฮอร์โมนตัวนี้ หากได้รับการฉีด growth hormone ตั้งแต่เด็ก จะทำให้สูงขึ้นได้ แต่ในคนที่มีระดับฮอร์โมนตัวนี้ ปกติ ถึงแม้จะฉีด growth hormone ก็ไม่ได้ทำให้สูงขึ้นอีกแต่อย่างใด
6.2 Thyroid hormone ไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งสร้างจากต่อมไทรอยด์ ก็มีผลต่อสมองและความสูงอย่างมาก ถ้าขาดฮอร์โมนตัวนี้ มักจะมีพัฒนาการช้าและเตี้ย
6.3 Sex hormone ฮอร์โมนเพศก็สำคัญเช่นกัน หากเด็กเป็นสาวเป็นหนุ่มเร็ว จะส่งผลให้กระดูกปิดเร็วและค่อยๆ หยุดเจริญเติบโตในที่สุด พบว่าเด็กผู้หญิงที่มีประจำเดือนเร็ว มีแนวโน้มที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สูง ส่วนมากเด็กหญิงที่มีประจำเดือนแล้ว 3 ปี และเด็กชายที่เสียงแตกมาแล้ว 3 ปี มักจะหยุดโตและหมดโอกาสที่จะสูงได้อีก นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนบางชนิดก็อาจทำให้เด็กเตี้ยได้ ได้แก่ การมีฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตมากเกินไป เด็กจะมีรูปร่างอ้วนเตี้ย
7. อาหารเสริมกลุ่ม Amino acid : พบว่าอาหารเสริมบางตัว สามารถที่จะเพิ่มระดับ GH ได้ แต่ควรจะทานช่วงที่ท้องว่าง หรือช่วงเช้า และ ก่อนนอน เพราะจะเพิ่มการออกฤทธิ์ได้ดีกว่า
7.1 Arginine : ขนาด 7-12 กรัมต่อวัน
7.2 Ornithine: ขนาด .5-8 กรัมต่อวัน
7.3 Lysine ขนาด 1-3 กรัมต่อวัน พบว่า อาหารเสริมในข้อ 3.1-3.3 มักจะเพิ่มระดับ GH ได้คนหนุ่มสาว อายุระหว่าง 20-35 ปี และพบว่าหลายยี่ห้อ ได้นำ กรดอะมิโนทั้ง 3 ตัว จะผสมกันเพื่อให้ทานง่าย บางคนเรียกว่า Tri-amino Acids ดู
7.4 Glycine ขนาด 5-7 กรัมต่อวัน
7.5 L-tryptophan :ขนาด 5-10 กรัมต่อวัน
7.6 L-glutamine: ขนาด 2 กรัมต่อวัน จัดเป็นกรดอะมิโนที่สามารถเพิ่มระดับ GH ได้ทุกกลุ่มอายุ แม้แต่คนสูงอายุ ( 32-64 ปี)


นอนก่อน 5 ทุ่ม
ฉีด GH เพิ่มความสูงได้ ถ้าเจาะเลือดแล้วพบว่า GH ต่ำ
Posted on

วิธีเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เมื่อเริ่มสูงวัย จะปรับตัวอย่างไร ให้มีความสุขกาย สุขใจ ไร้โรคภัยคุกคาม

หน้าที่ของฮอร์โมน
ฮอร์โมนในร่างกายของคนเรา มีหน้าที่หลักในการทำงานคือ การควบคุมอวัยวะและระบบต่างๆ ให้ทำงานได้ตามปกติ ทั้งในแง่การดำรงชีวิตประจำวัน การเจริญเติบโต การนอนหลับพักผ่อน การเผาผลาญพลังงาน การสืบพันธุ์ การควบคุมอารมณ์ ฯลฯ
ซึ่งในร่างกายเราก็มีฮอร์โมนหลายชนิด และร่างกายก็ผลิตหรือหลั่งฮอรโมนจากอวัยวะต่างๆ หลากหลาย แต่เมื่อเราอายุมากขึ้น หรือแก่ขึ้น ก็มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย
ตามทฤษฎีว่าด้วยความแก่ (Theory of Aging) พบว่าทฤษฎีเกี่ยวกับฮอร์โมน (The Neuroendocrine Theory) ได้การอธิบายกลไกการเสื่อมของร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น โดยพบว่า เมื่ออายุมากขึ้นฮอร์โมนต่างๆ จะลดระดับลง หรือการมีสร้างลดลง เมื่อมีระดับฮอร์โมนต่างๆ ลดลง สุขภาพของเราก็จะเสื่อมถอยลง เพราะขบวนการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายลดลง ไม่ว่าจะเป็น การซ่อมแซมสิ่งทีสึกหรอ การเจริญเติบโต สมรรถภาพทางเพศ ผิวพรรณ ฯลฯ


การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่างๆ เริ่มต้นเมื่อไหร่
โดยตามทฤษฎีพบว่า เมื่อเราอายุย่างเข้า 30-40 ปี ฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งเคยมีระดับสูงในวัยหนุ่มสาว ได้มีการ ลดปริมาณลงเรื่อยๆ มากน้อยแล้วแต่ชนิดของฮอร์โมน ทำให้บางคนเกิดมีภาวะพร่องฮอรโมน ( Hormonal Depletion) เป็นช่วงๆ อาการจะรุนแรงมากน้อย ก็แตกต่าง กันไปแล้วของแต่ละคน ฮอร์โมนหลักๆ ที่มีการลดลงให้เห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่
1. Growth Hormone: จัดเป็นฮอร์โมนที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย (Anabolic Hormone) โดยมีบทบาทในการสร้างความเจริญเติบโตของสรีระของร่างกาย จากวัยทารก สู่วัยรุ่น สู่วัยหนุ่มสาว จนเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว การขาดฮอร์โมนนี้ในวัยเด็ก ก็จะทำให้เราเตี้ย แคระแกร็นได้ (Dwarfs) หรือถ้าเรามีระดับฮอรโมนนี้มากเกินไป ก็จะทำให้เรามี ร่างกายโตผิดปกติ (Giantism) แต่ถ้าภาวะปกติ เราก็จะสูงเตี้ย ตามกรรมพันธุ์และเชื้อชาติของเรา มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับภาวะโภชนาการและการออกกำลังกายด้วย เมื่ออายุมากขึ้น การสร้าง Growth Hormone จะลดลง ทำให้เราเกิดมีอาการอ่อนเพลียได้ง่าย ผิวพรรณเหี่ยวย่น ลงพุง กล้ามเนื้อหย่อนคล้่อย และเกิดไขมันสะสมในร่างกายได้ง่ายขึ้น ขาดความกระฉับกระเฉงในการทำงาน
2. Melatonin: จัดเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ทำให้รู้สึกง่วงนอน อยากพักผ่อน และมีผลทำให้การนอนหลับได้สนิท นอกจากนี้ยังมีบทบาทหลายอย่าง อาทิ ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฯลฯ แต่เมื่ออายุมากขึ้น ระดับฮอรโมนนี้ก็จะลดลงเช่นกัน มีผลทำให้เรานอนหลับได้ยากขึ้น หลับไม่เต็มอิ่ม สะดุ้งตื่นได้ง่าย และนอนหลับต่อได้ยากขึ้น

3. Testosterone: จัดเป็นฮอรโมนเพศชาย ที่ทำให้ลักษณะเพศชายเด่นชัด เช่น มีหนวดเครา มีกล้ามเนื้อ ขนตามลำตัว อวัยวะเพศชาย ฯลฯ เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และมีความสำคัญเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศ เมื่ออายุมากขึ้น ( ประมาณ 40 ปี) ระดับฮอรโมนนี้ก็จะลดลงเช่นกัน ทำให้มีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ สมรรถภาพทางเพศเสื่อมถอย อ่อนเพลียได้ง่าย อ้วนง่าย หงุดหงิดง่ายขึ้น ความจำช้าลง ฯลฯ
4. Estrogen: จัดเป็นฮอรโมนเพศหญิง ที่ทำให้ลักษณะเพศหญิงเด่นชัด เช่น มีหน้าอก สะโพกผาย ทำให้มดลูกมีสภาพพร้อมที่จะมีบุตร ผิวพรรณเนียนนุ่ม มีความต้องการทางเพศ ฯลฯ เมื่ออายุมากขึ้น ( ประมาณ 40-50 ปี) ระดับฮอรโมนนี้ก็จะลดลงเช่นกัน ทำให้มีผลต่อการเกิดริ้วรอยได้ง่าย อ้วนง่าย ความต้องการทางเพศลดลง รอบเดือนผิดปกติ เกิดอาการที่เรียกว่าวัยทอง (Perimenopausal syndromes) อาทิ วิงเวียนศีรษะ ร้อนวูบวาบตามลำตัว หงุดหงิดง่าย เครียดบ่อยๆ หดหู่ ซึมเศร้าได้ง่าย ความจำลดลง และทำให้เกิดภาวะกระดูกผุได้ง่าย (Osteoporosis)
5. Progesterone: จัดเป็นฮอรโมนเพศหญิงที่ช่วยปรับสมดุลย์ของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีรอบเดือน ช่วยสร้างเสริมสุขภาพของกระดูกและเต้านม เมื่ออายุมากขึ้น ( ประมาณ 40-50 ปี) ระดับฮอรโมนนี้ก็จะลดลง ถ้าขาด ก็จะทำให้มีอารมณ์ปรวนแปร ฉุนเฉียวได้ง่าย ก้าวร้าว กระวนกระวาย ขี้วิตกกังวล ปวดรอบเดือน ความรุ้สึกไวต่อการเจ็บปวดทั้งหลาย ไม่ค่อยถึงจุดสุดยอดในขณะที่มีเพศสัมพันธ์

6. Thyroid Hormone: จัดเป็นฮอรโมนที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญและการใช้พลังงานของร่างกาย มีผลควบคุมระดับความดันโลหิต ชีพจร การคิด การพูด ระบบย่อยอาหาร ระบบปัสสาวะ ระดับไขมันในเลือด ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้น ในบางคนระดับฮอรโมนนี้ก็จะลดลงหรือพร่องไป ซึ่งจะมีผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม ท้องผูก นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ไวต่ออากาศเย็น มือเท้าเย็น ติดเชื้อง่าย ง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา ความจำเสื่อม ความคิดอ่านช้าลง และอาจจะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย
7. DHEA: จัดเป็นฮอรโมนที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนเลือด ระบบภูมิคุ้มกันและเมตาโบลิซึม จัดเป็นต้นกำเนิดของฮอร์โมนเพศ เทสโตเตอโรน และเอสโตรเจน เมื่ออายุมากขึ้น ในบางคนระดับฮอรโมนนี้ก็จะลดลงหรือพร่องไป ซึ่งจะมีผลทำให้ป่วยด้วยโรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง และโรคซึมเศร้าได้ง่ายกว่าคนปกติ

การวินิจฉัยภาวะพร่องฮอร์โมน
1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การตรวจระดับฮอร์โมน : ซึ่งมีการตรวจได้หลายทางแล้วแต่ชนิดของฮอร์โมน เช่น อาจจะวัดระดับฮอร์โมนจากเลือด น้ำลาย หรือปัสสาวะ

แนวทางแก้ไข
ในแนวทางเวชศาสตร์ชะลอวัย เราเชื่อว่า ฮอร์โมนที่ลดลง ก่อให้เกิดความเสื่อมต่อร่างกาย ถ้าเรามีวิธีหรือแนวทางใด ที่ทำให้ระดับฮอร์โมนต่างๆ กลับมาเพิ่มขึ้น ก็จะช่วยทำให้เราชะลอความเสือม หรือชะลอวัย ให้ช้าลง ทำให้เราลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในวัยชราได้ ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน ฯลฯ เพื่อเพิ่มระดับฮอรโมนต่างๆ ซึ่งแต่ละฮอร์โมน ก็มีแนวทางแตกต่างกัน
2. การให้วิตามิน อาหารเสริม ที่มีผลต่อการกระตุ้นระดับฮอร์โมน เช่น Arginine,leucine,Glutamine ซึ่งช่วยเพิ่มระดับ Growth Hormone
3. ให้ฮอร์โมนทดแทน Hormonal Replacement Therapy (HRT) : เป็นทางเลือกสุดท้าย ที่แพทย์จะเลือกทดแทนฮอร์โมนที่ลดลง หรือหลังจากปฏิบัติตามข้อ 1-2 แล้ว อาการและระดับฮอร์โมนไม่เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึง ผลดี ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

Posted on

ทฤษฎีว่าด้วยความชรา (Theory of Aging) : ทำไมเราถึงแก่ มีกลไกการเกิดอย่างไร ในระดับเซลล์

ทำไมเราถึงแก่

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น สังขารของเราก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ตามวัฏสงสาร คือ เกิด แก่ เจ็บและตาย การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านผิวพรรณ รูปลักษณ์ภายนอก อวัยวะต่างๆ ก็ย่อมเดินทางไปสู่ทางเสื่อมลงๆ ดังเช่น รถยนต์ ยิ่งนานวัน อายุการใช้งานที่มากขึ้น ก็ย่อมทำให้ประสิทธิภาพและ ศักยภาพต่างๆลดลง
นักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มหลายคน ที่พยายามจะอธิบายทฤษฎืความแก่ (Theory of Aging) ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมเมื่ออายุมากขึ้น จึงต้องแก่ จึงต้องมีโรคภัยหรือมีการเจ็บป่วย ที่ทำให้เราต้องสูญเสียการทำงานบางอย่าง หรือเกิดการตายในที่สุด โดยได้มีการสรุปออกมาได้ดังนี้
ทฤษฎืความแก่ (Theory of Aging)
ได้อธิบายออกมาในแง่ของโมเลกุลของเซลล์ที่เสื่อมออกมา เป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆ คือ
1. เสื่อมตามโปรแกรมที่ตั้งไว้แล้ว (Biological Clock) หมายถึง ในวงจรชีวิตของคน หรือสัตว์ทั้งหลาย ได้มีการตั้งเวลาไว้ก่อนแล้วว่า อายุขัยของสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทนั้น ควรจะประมาณกี่ปี เช่น สุนัขก็จะประมาณ 10-15 ปี คนเราก็ประมาณ 70-80 ปี ยุงมีอายุขัยประมาณ 1-2 วัน เป็นต้น
2. เสื่อมจากอุบัติเหตุหรือปัจจัยภายนอก (Accidental or environment aging) ซึ่งหมายถึงการเสื่อมหรือการสิ้นอายุขัยที่เราทำขึ้นมาเอง เช่น จากอุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม การไม่ดูแลใส่ใจในสุขภาพตนเอง เป็นต้น

Life Style
hormone decline

จากทฤษฎืความแก่ (Theory of Aging) ใหญ่ๆ ข้างต้น ได้มีการพยายามศึกษา และหาเหตุผลในการอธิบายให้ละเอียดลึกซึ้ง มากขึ้น ทำให้เกิด ทฤษฎืความแก่ปลืกย่อยออกมาอีกมากมายที่พอจะเล่าให้ฟังคร่าวๆ ที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายแล้ว ดังนี้

  1. The Wear and Tear Theory : โดยเชื่อว่าคนเราแก่จากการที่เซลล์ของเราถูกทำลาย จากการใช้งานมากเกินไป หรือใช้งานไม่ถูกต้อง ไม่รู้จักดูแลสุขภาพ
    – เช่นการพักผ่อนให้เพียงพอ การรับประทานไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เกิดสารพิษปนเปื้อน เกิดการติดเชื้อโรค เป็นต้น จึงทำให้เสื่อมลงๆ เปรียบเหมือนรถยนต์ที่ใช้งานหนักมานาน และไม่ทะนุถนอม ก็จะทำให้เครื่องพังได้เร็วขึ้น ดังนั้นอายุขัยแต่ละคน จะมีชีวิตยืนยาวที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของเรานั่นเอง
  2. The Neuroendocrine Theory: เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นฮอร์โมนต่างๆ จะลดระดับลง เช่น ในเพศหญิงจะมีระดับ Estrogen,Progesterone จะลดลง ส่วนเพศชายจะมีระดับฮอร์โมน Testosterone ลดลง
    – นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนตัวอื่นที่ลดลงเหมือนกันทั้งในเพศหญิงและชายคือ Growth Hormone,Cortisol, Melatonin ฯลฯ ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้ เป็นฮอร์โมนหลักๆ ที่มีผลต่อการทำงานของเซลล์ และอวัยวะต่างๆ เมื่อมีระดับฮอร์โมนลดลง สุขภาพของเราก็จะเสื่อมถอยลงเช่นกัน เพราะทำให้การซ่อมแซมสิ่งทีสึกหรอ หรือการทำงานต่างๆ ลดลง
  3. The Genetic Control Theory: เชื่อกันว่ายีนส์จากพันธุืกรรมของแต่ละคน ได้เป็นตัวกำหนดอายุขัยของแต่ละคนตามเชื้อชาติ เช่น การมีประวัติโรคภัยจากกรรมพันธุ์ ในการสืบทอดทางสายเลือด ทำให้คนเราอายุไม่เท่ากัน
    – เช่น คนที่มีประวัติเบาหวานในครอบครัว ก็จะมียีนส์ที่ด้อย และถ่ายทอดไปยังบุตรหลาน ทำให้มีโอกาสเกิดเบาหวานได้ง่ายกว่าคนที่ ไม่มีประวัติทางครอบครัว เป็นต้น ซึ่งทำให้มีการค้นคว้าวิจัยในอนาคต ที่จะทำการเปลี่ยนถ่ายยีนส์ที่ไม่ดีออกไป แล้วคัดสรรยีนส์ที่แข็งแรงทดแทน ที่บางคนอาจจะเคยได้ยินที่เค้าเรียกว่า Gene testing and Gene Therapy หมายถึงการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดี การ Screen ยีนส์ที่ไม่ดี ก่อนการสมรส หรือการคัดสรรสายพันธุ์ที่ดี เพื่อสืบทอดทายาท เป็นต้น

4. The Free-Radical Theory:  ทฤษฎืที่ว่าด้วยสารอนุมูลอิสระ โดยเชื่อว่าสารอนุมูลอิสระ(Free radicles) ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นจากแสงแดด สารเคมีบางอย่าง ฯลฯ เป็นตัวการในการทำลายเซลล์ ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ โดยไปทำลายและรบกวนการสร้าง DNA ซึ่งเป็นยีนส์ในการสังเคราะห์โปรตีน รบกวนการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น เปรียบเสมือนสนิมของรถยนต์ที่จะคอยกัดกร่อนร่างกายให้เสื่อมสภาพ
จึงได้มีการแก้ไขด้วยสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย ที่เรียกว่า Anti-Oxidants เช่น วิตามินซี วิตามินเอ CoQ10 Idebenone ฯลฯ ออกมาป้องกันภาวะชราดังกล่าว
5. Telomerase Theory of Aging: พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น เซลล์มีการแบ่งตัวตลอดเวลาเพื่อการเจริญเติบโต โดยมีโครโมโซมในยีนส์เป็นตัวที่มีบทบาทสำคัญ นักวิทยาศาสตร์พบว่าในโครโมโซม จะมี Telomeres เป็นตัวที่กำหนดบทบาทความแข็งแรงของโครโมโซม
โดยพบว่ายิ่งอายุมากขึ้น เซลล์ก็จะแบ่งตัวมากขึ้น ทำให้ความยาวของ Telomeres จะยิ่งสั้นลง ทำให้เซลล์ลดความแข็งแรง และเสื่อมตายในที่สุด ทั้งนี้ยังพบว่า ขบวนการดังกล่าวอาศัยเอนไซม์ Telomerase เป็นตัวนำพาการแบ่งตัว ในงานวิจัย พบว่าในเซลล์มะเร็งจะมีเอนไซม์ Telomerase มาก และทำให้เซลล์แบ่งตัวตลอดเวลาจนผิดปกติ เกิดเป็นเซลล์มะเร็ง ได้มีการทดลองนำสารที่ยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์ Telomerase ทำให้พบว่าสามารถป้องกันและรักษามะเร็งได้ในอนาคต
ปัจจุบันศาสตร์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย(Anti-Aging Medicine) ได้มีการศึกษา ทดลอง ค้นคว้า กันอย่างต่อเนื่อง และก็มี ทฤษฎืความแก่ (Theory of Aging) หลากหลาย บทความ งานวิจัย ออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น
Waste Accumulation Theory
– Mitochondrial Theory,Cross-Linkage Theory
-Autoimmune Theory
– Carorie Restriction Theory
– Gene Mutation and DNA Damage Theories,Rate of Living Theory,Order to Disorder Theory ฯลฯ
ซึ่งงานวิจัยหาสาเหตุของความชราหาความเป็นไปได้ในการป้องกัน รักษา เพื่อชีวิตที่ยืนยาว แข็งแรง ในอนาคต และเป็นการเอาชนะธรรมชาติที่มนุษย์ได้พยายามค้นคว้า ศึกษา ทดลอง อย่างไม่หยุดยั้งในการเรียนรู้นี่เอง นำมาซึ่งการพัฒนาองค์ความรู้มากมาย ก็คงต้องติดตามความก้าวหน้าด้านการแพทย์กันต่อไป

Free-Radical
Telomere
Posted on

Glutathione : สารต้านอนุมูลอิสระ กำจัดสารพิษ ชะลอวัย แล้วยังช่วยให้สีผิวขาวขึ้น

Glutathione
สารต้านอนุมูลอิสระ( Antioxidant) ตัวหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองเรียกว่า Universal Antioxidant จากกระบวนปฏิกิริยา ชีวเคมีในเซลล์ทั่วไป
สร้างที่ไหนในร่างกาย
ที่ตับของเรา การสร้างสารนี้ต้องอาศัย เอนไซม์ อย่างน้อย 2 ชนิด ดังนั้น หากมียีนผิดปกติเกี่ยวกับเอนไซม์ ทั้ง2 ชนิดนี้ก็จะไม่สามารถสร้างสารตัวนี้ได้ ดังนั้นในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถสร้างสารตัวนี้ได้ จึงต้องมีการเสริมเพิ่มเติมทดแทน
ลักษณะทางเคมี
Glutathione เกิดจากการจับตัวกันในรูปแบบ Tri-peptides ของกรดอะมิโน3 ชนิด ได้แก่ Cysteine,Glycine และ Glutamic

บทบาทและหน้าที่ของสาร Glutathione

  1. การขจัดสารพิษ (Detoxification) กลูต้าไธโอน ช่วยสร้างเอ็นไซม์ ชนิดต่างๆ ในร่างกายโดยเปลี่ยนสารพิษชนิดไม่ละลายในน้ำ (ละลายในน้ำมัน) เช่นพวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลง แม้แต่ยาบางชนิดให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีขึ้นและง่ายต่อการกำจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตับ จากการถูกทำลายโดยแอลกอฮอล์(สุรา) สารพิษจากบุหรี่
  2. ต้านปฏิกริยาอ๊อกซิเดชั่น(Antioxidant) จึงช่วยป้องกัน ริ้วรอยเหี่ยวย่นจากวัยที่มากขึ้น และป้องกันภาวะเสื่อมของเซลล์ได้ โดยในบางประเทศ ได้นำมาใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับคนชราที่มีปัญหาความจำเสื่อม หรือภาวะอัลไซเมอร์ และยังส่งเสริมให้วิตามินซี และวิตามินอี ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และทำงานได้เต็มที่มากขึ้น
  3. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย (Immune Enhancer) ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยกระตุ้น การทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดเพื่อให้ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอมรวมทั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้ กลูต้าไธโอน ยังช่วยสร้างและซ่อมแซม DNA สร้างโปรตีน มีรายงานการวิจัยทางการแพทย์หลายที่ ได้นำสาร Glutathione มาฉีดให้กับคนไข้โรคเอดส์ เพื่อเพิ่มระดับ CD4 ให้สูงขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรง และลดอุบัติการณ์การติดเชื้อแทรกซ้อน
  4. ทำให้สีผิวขาวขึ้นได้(skin whitening)โดยอาศัยกลไกการทำงานที่มีคุณสมบัติในการไปยับยั้งการทำงานของ Tyrosinase ทำให้ Tyrosine ไม่สามารถเปลี่ยนไปเป็น DOPAquinone เป็นสารต้นแบบของ Dopachrome, DHI….Pheomelanin,Eumelanin (ซึ่งกลุ่มนี้เป็นสารที่ทำสีผิวคล้ำ ผลลัพธ์ คือทำให้สีผิวขาวขึ้นได้ระดับหนึ่ง แต่ก็เกิดขึ้นไม่ถาวร

บทบาทของ Glutathione ในแวดวงความงาม
จากคุณสมบัติของการเป็น Whitening และ Anti-Oxidant ของสาร Gluthathione ทำให้ได้มีการทำการสังเคราะห์สารตัวนี้ขึ้นมาทางกรรมวิธีทางเคมี โดยอาจจะอยู่ในรูปของอาหารเสริม หรือ ผสมกับไวเทนนิ่งตัวอื่นๆ เป็นคอกเทล แล้วนำมาใฃ้ประโยชน์ด้านความงาม โดยแบ่งได้เป็น
1. ชนิดรับประทาน : มักจะผสมในรูปของอาหารเสริมที่ประกอบด้วยวิตามินซี และสารสกัดจากธรรมชาติหลายตัว เช่น เปลือกสน เพราะจะเสริมฤทธิ์กันทำให้ได้ผลมากขึ้น เนื่องจากตัวกลูต้าเอง ดูดซึมไม่ดีนัก
2. ยาฉีด ถือว่าดูดซึมและได้ผลที่สุด เพราะตัวยาไม่ต้องผ่านขบวนการดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งปัจจุบันในต่างประเทศ บางประเทศ (ยกเว้นประเทศไทย ที่ยังไม่อนุญาตให้ฉีดได้ ) ได้มีการนำ Glutathione 600 มก. มาผสมกับวิตามินซี 2,000 มก. นำมาฉีดเข้าเส้นเลือดและเข้ากล้าม พบว่าจะทำให้ได้ผลในเรื่องสีผิวได้เร็วขึ้น ภายใน 1-2 เดือน
ผลข้างเคียงของการใช้สาร Glutathione 
– สีผิวขาวขึ้นโดยไปหยุดการสร้างเอ็นไซม์เม็ดสี ทำให้ผิวจะไวต่อรังสียูวีมากขึ้น และได้รับอันตรายมากขึ้นจากแสงแดด ทำให้เกิดฝ้า กระ หรือมะเร็งผิวหนังได้ง่ายขึ้น เหมือนคนผิวขาวทางตะวันตกที่มีอุบัติการณ์นี้ได้มากกว่าคนแถบตะวันออก
– กรณีที่ฉีดเข้าเส้นเลือด เพื่อหวังผลให้ได้มากขึ้น เร็วขึ้น อาจจะเกิดการแพ้ได้อย่างรุนแรง ถึงกับเสียชีวิตได้
– อาจจะทำให้จอประสาทตาไวต่อแสงมากขึ้น ทำให้การมองเห็นผิดปกติได้

Posted on

Idebenone : สุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระ (Super -Antioxidants ) ชะลอวัย ที่ได้ผลดีกว่าทุกตัว

Idebenone คืออะไร

Idebenone คือ สารที่สังเคราะห์ที่พัฒนามาจาก สาร Co-enzyme Q10 ซึ่งเรารู้จักกันดี เป็นนวัตกรรมใหม่ของสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ทรงประสิทธิภาพจนได้รับการขนานนามว่าเป็น Super -Antioxidants Idebenone
Idebenone ดีกว่า Co-enzyme Q10 หรือสารต้านอนุมูลอิสสระตัวอื่น อย่างไร
Idebenone มีความแตกต่างจาก CoQ10 เนื่องจากการทำงานของ CoQ10 ใน mitochondria ค่อนข้างจำกัด และ Idebenone เป็นตัวช่วยให้การทำงานได้ดีขึ้น
และดีกว่า สาร Antioxidants ตัวอื่นๆ เช่น วิตามินซี วิตามินอี เพราะมีขนาดของโมเลกุลเล็กมาก และสามารถละลายได้ทั้งในน้ำและน้ำมัน อีดีบีโนนจึงสามารถซึมเข้าสู่ผิวได้ดีกว่าสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่น ทำให้เซลล์ทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งการทำงานของเซลล์หมายถึง การสร้างคอลลาเจน และการทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระด้วย
อีดีบีโนนมีประสิทธิภาพโดดเด่นกว่าสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ โดยใช้ค่า EPF (Environment Protection Factor) หรือ ค่าการปกป้องผิวจากสภาพแวดล้อม เป็นตัวเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสาร Antioxidants ซึ่งได้ทำการทดสอบ 6 ตัว ดังตารางนี้ ซึ่งดูได้จากตารางการเปรียบเทียบข้างล่าง โดย พบว่า Idebenone เป็น Super -Antioxidants ที่ได้ผลดีกว่า และมากกว่า Coenzyme Q10 ถึง 40 เท่า

Test
Idebenone
CoQ10
Vitamin E
Vitamin C
Kinetin
Lipoic Acid
Sunburn Cell Assay
20
6
16
0
11
5
Photochemiluminescence
20
15
20
20
10
5
Primary Oxidative Products
16
5
10
3
20
4
Secondary Oxidative Products
19
12
17
12
10
 
UVB-Irradiated Keratinocytes
20
17
17
17
17
7
Total Points
95
55
80
52
68
41

ที่มา : Paper presented by DiNardo Joshep C., Lewis Joseph A. II, Neudecker , Birgit A. MD , Bekyarov Dimitar MD , Wieland Eberhard MD , Maibach Howard I. MD at Annual Meeting of the American Academy of Dermatology ; February 6-11 ,2004 ; Washington , DC.

บทบาทสำคัญของสาร Idebenone

  1. ใช้รักษาภาวะ ความผิดปกติของสมองจากระบบหลอดเลือด ( vascular cerebral pathology )
  2. ภาวะสมองเสื่อมตามอายุ ( degenerative cerebral pathology ) ได้แก่ ภาวะความจำเสื่อม การรับรู้ที่ผิดปกติ การพูด ความสนใจผิดปกติ หรือ ความผิดปกติทางสมองที่แสดงออกทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย ( psycho-motor activity disorders ) รวมถึง ความผิดปกติด้านอารมณ์
  3. สารต้านอนุมูลอิสระและอาหารเสริมสำหรับภาวะชะลอวัย ( Anti-Aging Products) เพื่อป้องกันและลดปัญหาริ้วรอย และภาวะเสื่อมตามวัย
  4. ภาวะหลอดเลือดในสมองผิดปกติ ( Cerebral arteriosclerosis)
  5. เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ (Consequences arising from cerebral infarction or cerebral haemorrhage.)
  6. ความจดจำรับรู้เสื่อม ตามอายุ (Cognitive senile deficit) หรือ กลุ่มโรคสมองเสื่อม ( Multi-coronary dementia)
  7. โรคของหลอดเลือดสมองผิดปกติชนิดเรื้อรัง( Chronic cerebral-vascular disease)
  8. ความจำเสื่อมจากโรคอัลไซม์เมอร์ ( Slight or moderate Alzheimer’s-type dementia)

ผลข้างเคียงของยา 

พบว่าอัตราการเกิดผลข้างเคียง พบได้น้อยมาก โดยทั่วไปก็คล้ายๆ ยารับประทานตัวอื่นๆ ทั่วไป อาทิ การแพ้ยา ระบบอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ระบบประสาท เช่น ปวดหัว เวียนหัว นอนไม่หลับ ซึม ระบบเลือด เช่น เม็ดเลือดขาวบางตัวต่ำ ค่าการทำงานของตับสูงขึ้น เป็นต้น ดังนั้นการใช้ยาจึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

Posted on

โภชนาการสำหรับผู้สูงวัย : รับประทานอย่างไร จึงจะปลอดภัย ไร้โรค สุขภาย สุขใจ

วัยสูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ซึ่งจัดเป็นวัยแห่งความสำเร็จของชีวิต ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานหนักสร้างฐานะในวัยหนุ่มสาว เป็นวัยที่มีฐานะเป็นปึกแผ่นมั่นคง มีลูกหลานรักใคร่และใกล้ชิด

ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในกลุ่มคนสูงอายุ
เป็นขบวนการที่สลับซับซ้อนที่อธิบายได้ 4 ประการดังนี้

  1. เป็นสิ่งที่ต้องเกิดตามธรรมชาติ
  2. การเปลี่ยนแปลงดำเนินไปในข้างหน้า อย่างไม่หยุดนิ่ง
  3. เป็นการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อม
  4. เกิดขึ้นภายในเซลล์ โดย เซลล์บางส่วนหยุดการแบ่งตัวทดแทนเซลล์เก่าที่หมดอายุไป และ ความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อลดลง ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น จึงเกิดโรคความดันโลหิตสูง หรือเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในวัยสูงอายุ ที่มีผลต่อภาวะโภชนาการไ ด้แก่

  1. ร่างกายมีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารลดลง ทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารลดลง จึงมีอาหารท้องอืดเฟ้อได้ง่าย
  2. ขบวนการสร้างและหลั่งน้ำดีจากตับบกพร่อง ทำให้การย่อยอาหารบางประเภทผิดปกติ ทำให้มีผลกระทบต่อการสะสมของวิตามินและเกลือแร่บางชนิด
  3. ความรู้สึกอยากอาหารลดลง เพราะประสาทสัมผัสการรับรสและกลิ่นลดลง
  4. การบดเคี้ยวอาหารลดลง จากปัญหาเหงือกและฟัน
  5. โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้มีการจำกัดอาหารบางประเภท จึงทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน

โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

  1. ลดอาหารเค็มทุกชนิด เพราะการลดเกลือโซเดียม จะช่วยเสริมผลของยาลดความดันโลหิต พร้อมกับการลดน้ำหนักตัว
  2. ลดอาหารที่มีไขมันสูง
  3. ลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง
  4. รับประทานผักผลไม้มากขึ้น

    ทำอย่างไรจึงจะหยุดบริโภคนิสัยเกี่ยวกับรสเค็มได้
  1. ขวดใส่เกลือ หรือ น้ำปลาที่หมดแล้วไม่ต้องเติมอีก
  2. ไม่วางน้ำปลา หรือ น้ำพริกไว้ที่โต๊ะอาหาร
  3. งดการใช้อาหารสำเร็จรูป โดยเฉพาะอาหารกระป๋อง ซอสปรุงรส บะหมี่สำเร็จรูป
  4. เลือกอาหารว่าง ที่เป็นพวกผลไม้สด
  5. รับประทานอาหารที่ไม่มีผลชูรส ระมัดระวัง ในการใช้ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ ปรุงอาหาร ใช้มะนาว ขิง และเครื่องเทศแทน

เลือกอาหารอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากไขมัน

  1. ใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหาร
  2. เลือกใช้มาการีนที่ทำมาจากน้ำมันพืช
  3. เลือกใช้เนื้อส่วนที่เป็นเนื้อแดง ตัดส่วนที่เป็นมันออก
  4. จำกัดอาหารประเภทเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ ควรบริโภคในปริมาณน้อยๆ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เนื้อปลา เนื้อไก่แทน งดพวกเครื่องในสัตว์ ตับ
  5. ดื่มนมพร่องมันเนย
  6. จำกัดไข่เพียง 3 ฟองต่อสัปดาห์
  7. หลีกเลี่ยงการใช้ถั่วลิสง เนย ช๊อกโกแลค
  8. หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์เปลือกแข็ง เช่น หอย กุ้ง ปู

    เลือกอาหารอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากน้ำตาล
  1. ไม่ควรวางขวดน้ำตาลไว้ในโต๊ะอาหาร
  2. เลือกใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลปกติ
  3. เลี่ยงผลไม้บางอย่างที่มีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่
  4. งดของหวานทุกชนิด
  5. งดดื่ม สุรา น้ำอัดลม แบ่งรับประทานอาหารเป็น 5 มื้อต่อวัน ในปริมาณที่น้อยและคงที่ งดกินอาหารจุกจิก
Posted on

Coenzyme Q10: อาหารเสริม สารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ ชะลอวัย ลดโรคภัย

Coenzyme Q10 คืออะไร

CoQ10 (Ubiquinone) คือ สารที่ร่างกายสามารถผลิตได้เองโดยธรรมชาติและมีความจำเป็นต่อร่างกายพบในเซลล์ทุกเซลล์ที่มีชีวิตในร่างกายโดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม ของไมโตคอนเดรีย ซึ่งไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) นี้ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์
– Q10 ถูกพบมากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง ซึ่งจะมีจำนวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) มาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง
Q10 ทำงานอย่างไร : Q10 จะทำหน้าที่เป็นเอนไซม์หลัก ในวงจร Kreb ’s or Citric Acid Cycle ) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำการเปลี่ยนแปลงอาหารพวกคาร์โบไอเดรตและไขมันให้อยู่ในรูปของพลังงานที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้
ประโยชน์ของ Q10
1. โรคหัวใจและหลอดเลือด : Q10 ช่วยแก้ปัญหาคลอเลสเตอรอลจับเป็นก้อนอุดตันเส้นเลือด ใช้รักษา โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจล้มเหลวเนื่องจากเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
2. โรคอัลไซเมอร์: Q10 มี Phenylalanine ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้กระตุ้นการเผาผลาญอาหารของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย ไอโอดีนทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว อารมณ์ดี ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำดีขึ้น
3. ลดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง : Q10 เป็นสารต้านออกซิเดชั่น (Antioxidant)ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังจากแสงแดด เพราะอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากแสงแดงง จะทำอันตรายต่อไขมัน โปรตีน และสารพันธุกรรม (DNA) ในเซลล์ผิวหนัง
4. โรคเกี่ยวกับเหงือก: Q10 เข้าไปในจะช่วยลดและบรรเทาอาการเหงือกบวม ฟันโยก (Periodontitis) ได้
5. โรคเรื้อรังอื่นๆ : พบว่าช่วยให้ไต ทำงานดีขึ้น ในคนไข้ที่มีปัญหาไตวาย ช่วยป้องกันมะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย อย่างไรก็ดียังคงต้องการการศึกษามากกว่านี้เพื่อยืนยันผลดังกล่าว อีกทั้งในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระดับคลอเลสเตอรอลสูงในกระแสเลือด และได้รับยากลุ่ม Statin drugs ผู้ป่วยดังกล่าวควรจะถูกแนะนำให้รับประทาน Q10 เพราะยากลุ่มดังกล่าวส่งผลต่อการยับยั้งสร้าง Q10 ในร่างกาย

Q10 พบได้ในอาหารประเภทใด
Q10 นอกจากสังเคราะห์ขึ้นจากร่างกายมนุษย์แล้ว ในสัตว์และพืชบางชนิดก็เป็นแหล่งอุดมของ Q10 เช่นกัน
-น้ำมันปลา ปลาทะเลลึก เช่น ปลาซาดีน
– อาหารทะเล
– เครื่องในสัตว์ส่วน หัวใจ ตับ ไตของสัตว์ เนื้อสัตว์
– รำข้าว ผลิตภัณฑ์จากถั่ว น้ำมันถั่วเหลือง
– บรอคคอลี่ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน
ถ้าปริมาณ Q10 ในร่างกายลดลงจะมีผลอย่างไร
– ถ้าระดับของ Q10 ลดลง ร่างกายจะไม่สามารถแปลงพลังงานจากอาหารให้อยู่ในสภาพที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้เลย ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ร่างกายอ่อนเพลีย ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพตามมาได้
Q10 ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
ขนาดที่แนะนำคือ 30 มิลลิกรัมต่อวัน แต่สำหรับคนที่มีอาการโรคชรา หรือโรคอื่นๆ ควรรับประทานในขนาดมากขึ้นคือ 50–100 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อผลในการรักษาโรค แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ ควรใช้ในปริมาณที่แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ หรือบนฉลากแจ้งไว้เท่านั้น ไม่ควรใช้ยานี้โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

ผลข้างเคียง

  • ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
  • สูญเสียความอยากอาหาร
  • ท้องเสีย
  • มีผื่นขึ้น
  • ความดันโลหิตต่ำ
Posted on

อนุมูลอิสระ(Free radicles) คือปัญหาของการชราของผิวพรรณ(Cutaneous ageing) จะการป้องกัน แก้ไขอย่างไร

ขบวนการชราของผิวหนัง(Cutaneous Ageing) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ความชราที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ (Intrinsic Ageing) โดยมีการเสื่อมไปตามกาลเวลา
  2. ความชราที่เกิดขึ้นภายนอกเซลล์(Extrinsic Ageing) เป็นความชราที่เกิดขึ้นภายนอกเซลล์ จากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด (Photoageing) มลภาวะ การสูบบุหรี่ อดนอน ความเครียด อายุ ภูมิคุ้มกัน ระดับฮอร์โมน และพันธุกรรม เศรษฐานะ ภูมิประเทศ ศาสนา อาชีพ วัฒนธรรม ดังนั้น ภาวะชราจากปัจจัยภายนอก จึงแตกต่างกันในแต่ละคน
    ภาวะ Cutaneous Ageing เป็นผลของความชรา จากเซลล์ภายใน และปัจจัยภายนอกร่วมกัน เช่น แสงแดด(ด้งนั้น การใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ สามารถป้องกัน และลดความแก่ได้ระดับหนึ่ง) และพบว่าตัวการสำคัญที่เกิดขึ้น เราเรียกว่า free radicles(อนุมูลอิสระ)
    Free radicles  คืออนุมูลอิสระ อาจเป็น อะตอม อิออน หรือ โมเลกุล ที่พร้อมจะทำปฏิกริยากับสารต่างๆ ในขบวนการเผาผลาญพลังงาน(Metabolism) ในขบวนการต่างๆ และมี ออกซิเจน เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องด้วย และอนุมูลอิสระนี้เอง แบ่งได้เป็นหลายชนิด ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะชราของผิวหนังทั้งสิ้น
    ดังนั้น ในการแก้ไข ป้องกันภาวะชรา จึงต้องหาสารที่สามารถกำจัด อนุมูลอิสระ(free radicles)เหล่านี้ และสารดังกล่าวที่นำมาใช้กำจัด เราเรียกว่า Antioxidants

Antioxidants จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ 

1. สารต้านออกซิเดชันธรรมชาติ ได้แก่ สารเคมีจากพืช เช่น ผัก ผลไม้ เครื่องเทศ สมุนไพร ชา

  • Phenolic Compound ในเครื่องเทศ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ชา ขมิ้น
  • ยูจีนอล ใน กานพลู
  • วิตามินซี
  • วิตามินอี
  • กรดซิตริก
  • แอนโทไซยานิน
  • ซีลีเนียม
    2. สารต้านออกซิเดชันสังเคราะห์ สารกลุ่มนี้จะมีโมเลกุลเล็ก ทำงานทั้งภายในและภายนอกของร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะทำงานภายนอกเซลล์ และในกลุ่มนี้เอง ที่ได้นำมาใช้ในทางการแพทย์ อย่างแพร่หลาย และได้มีการคิดค้นเพื่อใช้ป้องกันและรักษา ภาวะชราของผิวหนัง ซึ่งได้แก่
  • – Viamin C
  • – Vitamin E
  • – Vitamin A
  • – Beta carotene
  • – Coenzyme Q10

คุณสมบัติของสาร Antioxidants ที่ดี(Ideal) ควรมีดังนี้

1. กำจัด free radicles ได้หลายชนิด
2. หาง่าย
3. ไม่เป็นพิษ ไม่ระคายเคือง
4. ดูดซึมทางผิวหนังได้ดี
5. มีความคงตัว ไม่สลายง่าย
6. ออกซิไดซ์ ได้ง่ายในบริเวณที่ใช้

ดังนั้นเครื่องสำอาง หลายๆ ยี่ห้อ ได้นำ Antioxidants มาผสมเพื่อใช้ในการป้องกันและรักษาภาวะชรา การได้ทราบพื้นฐานของกลไกการทำงาน อาจเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ เลือกใช้ อย่างฉลาด

Posted on

10 วิธีหลีกหนีริ้วรอยของผู้หญิง ทำอย่างไร ไม่ต้องพบแพทย์ แบบง่ายๆ

ริ้วรอย เป็นสิ่งที่หลายคนไม่ปรารถณา ไม่ว่าท่านจะอายุซักเท่าไหร่ ทุกคนอาจจะหยุดเวลาไว้ ณ วัยอันเปล่งปลั่งสดใส แต่คงไม่มีใครหยุดยั้ง เวลาที่ผ่านไปแต่ละวัน แต่ละนาทีได้ บทความนี้จะนำเสนอแนวทางเคล็ดลับง่ายๆ 10 วิธีที่ท่านจะหลีกเลี่ยงภาวะชราตามวัย หรือเกินวัย ด้วยตัวท่านเอง ดังนี้

  1. ปกป้องผิวจากแสงแดด : ได้มีการพิสูจน์ยืนยันกันหลายต่อหลายครั้งในรายงานทางการแพทย์ว่า รังสียูวีเอ ยูวีบี และรังสีอินฟราเรด เป้นตัวการ สำคัญมากที่ทำให้เกิดริ้วรอยแห่งวัย ดังนั้นการเลี่ยงการโดนแดด หรือทาครีมกันแดดทุกวัน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะป้องกัน อาการไหม้เกรียมแดด ริ้วรอยแล้ว ยังป้องกันมะเร็งผิวหนังในอนาคตด้วย
  2. หยุดสูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถหล่อเลี้ยงผิวพรรณได้เต็มที่และเพียงพอ ทำให้เซลล์ผิวหนังไม่สดใส และส่งผลให้เกิดเซลล์ ใหม่ล่าช้า และยังเร่งให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้าให้เร็วขึ้น และเกิดรอยย่นเล็กๆ ที่บริเวณริมฝีปาก และปากดำคล้ำไม่สวยงาม
  3. การทำความสะอาด: หลังจากเสร็จภารกิจจากการงาน ควรล้างหน้าให้สะอาดหมดจด ปราศจากคราบเครื่องสำอาง สิ่งสกปรกหรือเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ด้วยครีมเช็ดคราบเครื่องสำอาง แล้วล้างทำความสะอาดอีกครั้งด้วยครีมล้างหน้า แต่ถ้าสภาพผิวแห้ง ควรใช้ชนิดออยล์สำหรับล้างหน้า นวดวนเบาๆ แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น
  4. บำรุงให้ล้ำลึก: เพื่อชดเชยความชุ่มชื้นคืนให้แก่ผิวหน้า อาจจะโดยการพอกหน้าด้วยผลิตภัณฑ์สำหรับพอกหน้าเฉพาะ หรือทา Night Creams หนาๆ ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วใช้กระดาษเนื้อนุ่มเช็ดออกเบาๆ
  5. กระตุ้นการหมุนเวียนของโลหิต : ด้วยการขัด นวด และปรับสภาพผิว เพื่อให้เซลล์ผิวกลับคืนสู่ความสดใส มีชีวิตชีวา อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการหมุนเวียน ของระบบโลหิตให้แข็งแรงกระฉับกระเฉง

6. การปกปิดริ้วรอย : คือ การเลือกใช้ครีมรองพื้น คอลซีลเลอร์และแป้งทาให้ทั่วใบหน้า เพราะนอกจากจะช่วยปกปิดริ้วรอยแล้ว ยังลดความหมองคล้ำ รอยดำ และจุดบกพร่องที่ไม่พึงปรารถณา ทั้งยังมีส่วนผสมของสารกระจายแสงให้ผิวหน้าดูสว่างไสวขึ้นได้ด้วย
7. ปรนนิบัติบำรุงผิวพรรณเป็นประจำ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่เปี่ยมคุณค่า อาทิ เซรุ่มบำรุงผิว หรือครีมเข้มข้นที่พลิกฟื้นความสดชื่น ให้แก่ผิวพรรณ
8. สภาพอากาศ : ในแต่ละฤดูกาลทำให้ความชุ่มชื้นของผิวพรรณเปลี่ยนแปลง ควรเลือกครีมบำรุงตามสภาพอากาศ เช่นเดียวกับในภาวะน้ำร้อน หรือน้ำเย็น ที่มีผลต่อการสูญเสียน้ำของผิวหนัง อาหารบำรุงผิว
9.  เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ เป็นประจำเพื่อให้อาหารแก่ผิวพรรณสม่ำเสมอ
10. แต่งหน้าอย่างชาญฉลาด โดยเลือกเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารสกัดธรรมชาติ วิตามิน และสารกรองแสง แต่งหน้าเพราะนอกจากจะได้เรื่อง ความสวยงามแล้วยังมีคุณค่าต่อผิวอีกด้วย

Posted on

3 ขั้นตอน ของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ อย่างง่ายๆ ไม่ต้องออกแรงให้เหนื่อยเกินไป

โดยปกติผู้สูงอายุ ( อายุมากกว่า 60 ปี> เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่ายกายและจิตใจ เข้าสู่ภาวะถดถอยของสังขาร แม้จะต้องการการพักผ่อน ให้มากกว่าคนในวัยทำงาน แต่การออกกำลังกายเป็นประจำก็ถือว่าสำคัญ เพราะจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวม

ประโยชน์การออกกำลังกายในวัยสูงอายุ

  1. หัวใจแข็งแรงขึ้น โดยทำให้หัวใจบีบตัวแต่ละครั้งแล้วส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้มากขึ้น เพราะหลอดเลือดในคนสูงอายุ มักจะมีความยืดหยุ่นไม่ดี อาจจะมีผนังหลอดเลือดแข็งจากไขมันเกาะติด
  2. ความดันโลหิตลดลงได้ เพราะในวัยสูงอายุจะมีแนวโน้มที่ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความดัน Systolic pressure
  3. ลดไขมันชนิดเลว ( LDL) ที่จะจับที่ผนังเส้นเลือด ทำให้ลดภาวะหลอดเลือดแข็งได้
  4. สมรรถภาพปอดแข็งแรงขึ้น เพราะมีการรับออกซิเจนเพิ่มขึ้น และขับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น
  5. น้ำหนักลดลง
  6. น้ำตาลในเลือดลดลง ในคนไข้ที่มีปัญหาเบาหวาน การออกกำลังกายทำให้ร่างกายใช้น้ำตาลให้เปลี่ยนเป็นพลังงานมากขึ้น
  7. กระดูกแข็งแรงขึ้น ลดอัตราหรือโอกาสเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน
  8. ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น จึงลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ในสตรีจะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งมดลูก เพราะการออกำลังกายทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
  9. สุขภาพจิตดีขึ้น อารมณ์แจ่มใส เพราะการออกกำลังกายทำให้มีการหลั่งของ Endorphin และ serotonin ในสมอง

ขั้นตอนการออกกำลังกายที่ดีในวัยสูงอายุ
ขั้นตอนที่ 1. การอบอุ่นร่างกาย ( warm up): โดยก่อนจะออกกำลังกายทุกครั้ง ควรจะทำให้ร่างกายอบอุ่นก่อน โดยการเดินหรือวิ่งเหยาะๆ ประมาณ 5-10 นาที หรือจนกระทั่งเหงื่อเริ่มออก จึงเริ่มขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 2. การยืดเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ: เพื่อป้องกันการออกกำลังกายหักโหมที่มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น โดยมีวิธีง่ายๆ 3 วิธี ดังนี้
2.1 ยืนห่างกำแพงประมาณ 1-1.5 ฟุต ส้นเท้าติดพื้น และโน้มตัวมือยันกำแพง นับ 1-20 ทำประมาณ 1-2 ครั้ง
2.2 ยืนแยกเท้า ย่อเข่าเล็กน้อย ก้มลงเอาฝ่ามือแตะพื้น นับ 1-20 ทำ 1-2 ครั้ง
2.3 เท้าขวาวางบนบันได เท้าซ้ายวางบนพื้น แล้วงอเท้าซ้ายเล็กน้อย ก้มลงเอามือขวาแตะนิ้วหัวแม่เท้าขวา นับ 1-20 ทำ 1-2 ครั้ง

ขั้นตอนที่ 3. การออกกำลังกาย: จัดแบ่งได้ 2 แบบ ดังนี้
3.1 การยืดหยุ่น (Flexibility): เพื่อช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ ดีขึ้น เนื่องจากว่าเมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อจะฝ่อลงและทำให้เกิดข้อเสื่อม และข้ออักเสบได้ง่าย โดยมีขั้นตอนดังนี้
3.1.1 Finger streching: การยืดกล้ามเนื้อนิ้วมือ โดยการคว่ำมือขวา แล้ววางมือซ้ายไว้บนปลายนิ้วมือขวา แล้วให้นิ้วมือขวาขยับขึ้น ขณะที่นิ้วมือซ้าย กดลงออกแรงต้านกัน แล้วทำสลับกัน ข้างละ 5 ครั้ง
3.1.2 Hand rotation: การบริหารท่านี้จะทำให้การเคลื่อนไหวข้อมือและนิ้วดีขึ้น ให้ใช้มือซ้ายจับข้อมือขวา แล้วให้หมุนข้อมือขวาอย่างช้าๆ 5 รอบ และให้หมุนกลับทิศอีก 5 รอบ แล้วก็สลับข้อมือซ้ายทำเช่นกัน
3.1.3 Ankle and foot circling: เป็นการบริหารข้อเข่าและข้อเท้า โดยการนั่งไขว้เข่าและให้หมุนข้อเท้าเป็นวงใหญ่ 10 รอบ และค่อยสลับข้าง
3.1.4 Neck extension: การบริหารข้อคอ โดยการนั่งบนเก้าอี้ ก้มหน้าเอาคางจรดอก แล้วเงยหน้ากลับสู่ท่าตรง หันหน้าไปทางซ้ายแล้วกลับท่าตรง แล้วหันหน้าไปทางขวา ให้ทำซ้ำกัน 5 ครั้ง
3.1.5 Single knee pull: การยืดกล้ามเนื้อหลังและต้นขา โดยการให้นอนหงาย ใช้มือดึงหน้าแข้งให้จรดหน้าอก นับ 1-5 ทำข้างละ 3-5 ครั้ง
3.1.6 การแกว่งแขน: ให้ยืนกางเท้าแกว่งแขนไปข้างหน้า และแกว่งไปข้างหลัง และยกมือขึ้นเหนือศีรษะ แกว่ง 6-8 ครั้ง
3.1.7 การยกมือขึ้น : นั่งบนเก้าอี้แล้วหายใจเข้าช้าๆ พร้อมกับยกมือขึ้น-ลง พร้อมกับการหายใจออกช้าๆ ทำซ้ำกัน 6-8 ครั้ง
3.1.8 การยืดกล้ามเนื้อหลัง: โดยการนั่งเก้านี้ ก้มหลังให้ชิดเข่า มือจับบนเข่าขวาแล้วเอี้ยวตัวเล็กน้อย แล้วก็ทำซ้ำบนขาอีกข้างหนึ่ง
3.1.9 การยืดกล้ามเนื้ออก: ยืนบนพื้น เท้าแยกออกจากัน แล้วเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องและเท้า ยกมือขึ้นระดับอก หายใจเข้าพร้อมกับดึงมือออกด้านข้าง หายใจออก พร้อมกับดึงมือกลับท่าเดิม

3.2 ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ( Strength) เป็นขึ้นตอนการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแร ป้องกันและลดอาการปวดหลังในอนาคตได้
โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
3.2.1 ให้กำนิ้วมือ นั่งหลังตรง แขนเหยียดตรง คว่ำมือ แล้วกำนิ้วมือช้าๆ และคลายออก ทำซ้ำ 5 ครั้ง แล้วต่อจากนั้น ทำการหงายมือ กำนิ้วมือช้าๆ และคลายออก ทำซ้ำ 5 ครั้ง หนังจากนั้นให้เหยียดแขน คว่ำมือ สั่นนิ้วมือ 5 ครั้ง
3.2.2 ให้นั่งหลังตรง มือซ้ายแตะไหล่ขวา แล้วเหยียดแขนขวาออกไปในระดับไหล่ จากนั้นงอแขนขวาให้ฝ่ามือมาแตะกับมือซ็ายที่แตะไหล่ไว้ แล้วเหยียดออกที่เดิม ทำซ้ำกัน 10-15 ครั้ง แล้วสลับข้างทำเช่นกันกับที่ไหล่ซ้าย
3.2.3 ให้นั่งหลังตรงท่าเดิม แล้วเหยียดเท้าทั้งสองข้าง แล้วเกร็งไว้ประมาณ 5-10 วินาที แล้วปล่อยเท้ากลับท่าปกติ ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง ท่านี้ถือว่าเป็นท่า การบริหารที่สำคัญในคนที่มีปัญหาข้อเข่าเริ่มเสื่อม เพราะจะช่วยได้มากทีเดียวในอนาคต
3.2.4 ยืนตรงมือเกาะเก้าอี้ แล้วแกว่งเท้าทีละข้างไปข้างหลัง โดยเข่าตรง เกร็งกล้ามเนื้อก้นและขาไว้ นานประมาณ 5-10 วินาที แล้วกลับสู่ท่าปกติ ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง แล้วก็สลับกันกับเท้าอีกข้าง
3.2.5 ย่อตัว ยืนหลังตรง โดยมือยังจับที่เก้าอี้ ย่อตัวลงโดยการงอเข่าแต่ไม่เกินนิ้วเท้าถึงกับนั่ง แล้วกลับสู่ท่ายืน ทำซ้ำ 8-12 ครั้ง
3.2.6 ยืนตรง แล้วเขย่งข้อเท้าทั้งสอง โดยมือจับที่เก้าอี้ แล้วกลับสู่ท่าปกติ ทำซ้ำ 10 ครั้ง
3.2.7 ยืนตรง โดยมือจับที่เก้าอี้เช่นเดิม แล้วยกข้อเข่าข้างขวาขึ้นมาชิดหน้าอกให้มากที่สุด ทำซ้ำ 5 ครั้งแล้วย้ายไปทำกับข้อเข่าซ้าย
3.2.8 การบริหารหน้าท้อง โดยการนอนราบ แล้วชันเข่าตั้งไว้ แขนแนบลำตัว แล้วยกแขนและศีรษะให้มือจับเข่าได้ ค้างไว้ 5 วินาที แล้วทำซ้ำ 10 ครั้ง