Posted on

Melatonin : เมลาโทนิน ฮอร์โมนชะลอวัย ช่วยให้นอนหลับ ปรับสมดุลร่างกาย

Melatonin เป็นฮอร์โมนธรรมชาติ ชนิดหนึ่งในร่างกาย ซึ่งผลิตจากต่อมไพเนียล(Pineal gland) ซึ่งอยู่ในสมอง โดยพบว่ามีหน้าที่หลักๆ ในการควบคุมการนอนหลับของร่างกาย โดยทำให้เรารู้สึกง่วงนอน (fall asleep) เพื่อที่จะให้เราได้พักผ่อนร่างกายหลังจากที่เราได้ตื่นมาทุกวัน
และยังทำให้ร่างกายมีการผ่อนคลายทั้งกล้ามเนื้อและระบบประสาทเพื่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง
กลไลการหลั่งฮอรโมน ปกติร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Melatonin ในช่วงเวลากลางคืน โดยจะหลั่งสูงสุดในช่วงประมาณ 22.00-23.00 น. จึงถือว่าเป็นช่วงที่ร่างกายควรจะเริ่มนอนหลับได้ ในขณะเดียวกัน จะมีผล ทำให้ เพิ่มการหลั่ง Growth hormone ให้มากขึ้นด้วยในช่วงนี้
ร่างกายจะหลั่ง ฮอร์โมน Melatonin ประมาณ 30-100 ไมโครกรัมต่อวัน โดยจะหลั่งสูงสุดในช่วงวัยเด็กและก่อนวัยรุ่น (Puberty) และจะเริ่มลดลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยพบว่าเมื่ออายุ 80 ปี ระดับ ฮอร์โมน Melatonin จะลดลงถึง 80% จึงพบว่าในผู้สูงอายุจึงมักจะมีปัญหาการนอนไม่หลับ

ประโยชน์ของฮอร์โมนเมลาโทนิน

  1. ชะลอความชราก่อนวัย เพราะพบว่ามีสมบัติเป็น Anti-oxidants (สารต้านอนุมูลอิสระ)
  2. สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้แข็งแรงมากขึ้น ทำให้อาการโรคภูมิแพ้เรื้อรังดีขึ้นได้
  3. บรรเทาอาการปวดศีรษะเรื้อรัง เช่น จากไมเกรน
  4. ช่วยลดระดับความดันโลหิต ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
  5. ขับล้างสารพิษในร่างกาย
  6. เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศแก่ร่างกาย
  7. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  8. แก้ปัญหาการนอนไม่หลับ ในช่วงระหว่างเดินทางข้ามทวีบ (Time zone) ที่เรียกว่า Jet Lag(Circadain rhythm disorder)
  9. ช่วยควบคุมความผิดปกติของเนื้อร้ายในร่างกาย ต่อต้านมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
  10. ฮอร์โมนเมลาโทนิน ช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชาย Testosterone,ฮอร์โมนเพศหญิง Estradiole และโกรทฮอร์โมนเพิ่มขึ้นได้
  11. ฮอร์โมนเมลาโทนิน ไม่ใช่ยานอนหลับ แต่ช่วยทำให้คนไข้ที่ต้องใช้ยานอนหลับเป็นประจำ ลดการใช้ยานอนหลับลง ทั้งในแง่ขนาดและความถี่ในการใช้ยานอนหลับ

อาการและอาการแสดงของภาวะพร่อง ฮอร์โมน Melatonin (Melatonin Deficiency)

  1. คุณภาพการนอนหลับลดลง หลับยาก ตื่นง่าย และจะหลับลงอีกครั้งได้ยาก หลับไม่สนิท
  2. อารมณ์ปรวนแปร หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล อาจจะมีปัญหาซึมเศร้าได้
  3. รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า รู้สึกนอนไม่พอ อยากจะงีบ และง่วงในช่วงบ่ายๆ
  4. หน้าแก่ก่อนวัย บางคนอาจจะมีผมหงอกก่อนวัย
  5. ในเด็กที่ขาด ฮอร์โมน Melatonin จะพบว่ามีการก้าวเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติ (Precocious puberty in children)
  6. ภาวะพร่อง ฮอร์โมน Melatonin ทำให้มีโอกาสเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง , Jet Lag, โรคหัวใจขาดเลือด ,อ้วนได้ง่าย ,ข้อเข่าเสื่อม ,มะเร็งเต้านมหรือมะเร็งต่อมลูกหมาก,โรคอัลไซเมอร์

การวัดระดับ ฮอร์โมน Melatonin ว่าพร่องจริงหรือไม่ การตรวจจากเลือด ทำได้ยาก เพราะสลายไปเร็ว แต่ก็ยังพอจะมีการตรวจสารใกล้เคียงได้ โดยตรวจวัดจากระดับ 6-sulfatoxy-melatonin ในปัสสาวะ ( เก็บตรวจปัสสาวะ 24 ชั่วโมง –24 hours of urine) และตรวจวัดระดับ ฮอร์โมน Melatonin ในน้ำลาย ดังนั้นปัจจุบัน จึงอาศัยอาการ อาการแสดง และอายุ เป็นหลักพื้นฐานในการวินิจฉัยภาวะ พร่องเมลาโทนิน

แนวทางการรักษาภาวะ พร่อง ฮอร์โมน Melatonin (Melatonin Deficiency)

  1. อาหาร พบว่ามีผลไม้บางอย่าง สามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน ได้ เช่น กล้วย ข้าวโอ๊ต มะเขือเทศ ผลเชอรี่ เป็นต้น เลี่ยงอาหารที่มีผลรบกวนต่อการนอนหลับ เช่น อัลกอฮอล์ กาแฟ นม( ซึ่งอาจจะรบกวนระบบการย่อยอาหาร) ของหวาน
  2. สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการนอนหลับ ควรนอนในห้องมีมืดสนิท ไม่มีเสียงหรืออะไรรบกวน เป็นไปได้ แนะนำให้ใช้ที่ปิดตา ก่อนนอน และอากาศในห้องนอน ควรจะเย็นสบาย ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป และพบว่าในช่วงที่ตื่น หรือตอนกลางวัน ควรจะอยู่ที่ที่แสงจ้า เพื่อให้ร่างกายหลั่งเมลาโทนินให้น้อยลง เพื่อที่จะให้ร่างกายกระตุ้นให้เมลาโทนิน หลั่งมากในตอนกลางคืนแทน (Light therapy)
  3. การให้ ฮอร์โมน Melatonin ทดแทน ปัจจุบันในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศทางยุโรป และอเมริกา ประชาชนจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับได้ยากมาก และพบว่าส่วนใหญ่จะมีภาวะพร่องเมลาโทนิน ทำให้บางประเทศจัดให้ ฮอร์โมน Melatonin เป็นกลุ่มอาหารเสริมที่ช่วยให้นอนหลับ เพราะ ฮอร์โมน Melatonin ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ถ้ารับประทานมากเกินไป อาจจะทำให้ตื่นได้ยาก และมีอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน ขนาดที่รับประทาน ปกติจะประมาณวันละ 1-3 มก.ต่อวัน