Posted on

โรคเรื้อน(Leprosy) สาเหตุ อาการ การป้องกันและรักษา

โรคเรื้อน(Leprosy) คืออะไร

คือ โรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Mycobacterium leprae( M.leprae) ที่ทำให้เกิดอาการทางผิวหนัง เยื่อบุจมูก และเส้นประสาทส่วนปลาย
พบบ่อยแค่ไหน จากรายงานของกองโรคเรื้อน เมื่อปี 2562 พบผู้ป่วย เพียง 269 ราย อัตราการชุกของโรคประมาณ 0.04 รายต่อประชากร 10,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ลดลงมาก เมื่อเทียบกับ 40-50 ปีก่อน
อาการเป็นอย่างไร
1.มีลักษณะผื่นระยะต่างๆ ที่เหมือนหรือคล้าย รอยโรคระยะต่างๆ
2..มีอาการชาที่บริเวณรอยโรค ตั้งแต่สูญเสียความรู้สึกสัมผัสเบาๆ จนถึงเสียความรู้สึกร้อนเย็น หรือความรู้สึกเจ็บ
3. มีเส้นประสาทที่โตกว่าปกติ
4. ขูดหรือกรีดบริเวณรอยโรค แล้วนำไปย้อมน้ำยา acid fast strain แล้วส่งด้วยกล้องจุลทรรศน์ แล้วพบเชื้อ M.laprae ติดสีแดง
แพทย์จะพิจารณาจากอาการแสดงข้างบน เพื่อการวินิจฉัย จะต้องมีอาการแสดงอย่างน้อย 2 ข้อใน 3 ข้อแรกข้างบน และ/หรือ ตรวจพบเชื้อโรคนี้จากกล้องจุลทรรศน์

ติดต่อทางไหน รักษาอย่างไร

การติดต่อ เดิมเชื่อว่าเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยโรคเรื้อน แต่ในปัจจุบัน และหลักฐานหลายอย่าง ทำให้เชื่อว่า การติดเชื้อ ได้โดยการหายใจ ซึ่งพบเชื้อโรคเรื้อนในอากาศ หรือชุมชนที่มีผู้ป่วยอาศัยอยู่ และมีระยะฟักตัว ตั้งแต่ 3-10 ปี ขึ้นกับชนิดของเชื้อโรคเรื้อน
ทำไมต้องกักตัว สิ่งที่ทำให้โรคเรื้อนเป็นที่รังเกียจของสังคม คือ ความพิการที่ตรวจพบ ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคได้ทำลายเส้นประสาท ทำให้เสียหน้าที่ในการควบคุมกล้ามเนื้อ ทำให้อ่อนกำลัง หรือ ลีบ หรือหงิกงอ และระยะที่มีการเห่อ หรือโรครุนแรงขึ้น เช่น มีการกระจายของผื่นอย่างรวดเร็ว ผิวหนังเป็นมันและชุ่ม
แนวทางการรักษา ตั้งแต่ปี 2525 จนถึงปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้การรักษาด้วยยาผสมหลายตัวในระยะเวลาสั้น เพื่อป้องกันภาวะพิการ ทำลายแหล่งและตัดวงจรการระบาดของโรค เรียกว่า MDT ( multi-drug therpy) ซึ่งจะใช้ตัวยาหลายตัวร่วมกัน เช่น Dapsone,Rifampicin,Clofazimine,Ethionamide ,Fluoroquinolone,Macrolides antibiotics ,Minocycline และอาจใช้ยากลุ่มเสตียรอยด์บ้าง ทั้งในรูปของการทา และรับประทาน กรณีที่โรคเห่อมาก หรือเส้นประสาทอักเสบ มีตุ่มอักเสบรุนแรง
ระยะเวลาในการรักษา ได้มีการกำหนดแน่นอน และเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนด ให้หยุดยาได้เลย และได้แบ่งระยะเวลาในการรักษา ตามความรุนแรงดังนี้
1.ประเภทผู้ป่วยเชื้อน้อย ใช้เวลาในการรักษา 6 เดือน โดยรับยาประจำเดือนครบ 6 ครั้ง ในระยะเวลา 9 เดือน
2.ประเภทผู้ป่วยเชื้อมาก ใช้เวลาในการรักษา 24 เดือน โดยรับยาประจำเดือนครบ 24 ครั้ง ในระยะเวลา 36 เดือน
ผู้ป่วยโรคเรื้อน ควรต้องเข้าใจในภาวะและระยะของโรค ตลอดจนผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้ ทั้งจากการดำเนินของโรคเอง ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ การรักษาแนะนำให้รักษาในรพ.ที่รักษาโรคนี้โดยเฉพาะ สถาบันโรคผิวหนัง หรือรพ.ของรัฐที่มีศักยภาพ เพราะจำนวนผู้ป่วยทั่วประเทศไทยไม่มากนัก ตามคลินิกผิวหนังและรพ.บางแห่ง อาจไม่มียาไว้ในคลังยา