Posted on

วิตามินกินกันแดด ( Sun Vitamins) ถ้าป้องกันได้ ก็ไม่ต้องหวั่นผิวเสีย เพราะทาครีมไม่ทั่วถึง

370_2

วิตามินกินกันแดด ได้อย่างไร?

วิตามินกันแดด ได้ออกมาจำหน่ายหลากหลายยี่ห้อ และเป็นที่นิยม เพราะสะดวก สามารถป้องกันแสงแดดได้ดีตลอดวัน โดยไม่ต้องทาครีมกันแดดให้เหนียวเหนอะหนะ หรือคอยทาซ้ำๆ ทุก 2 – 3 ชั่วโมง
วิตามินกันแดดเกือบทุกยี่ห้อ มักประกอบด้วยวิตามินที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ และสารสกัดจากธรรมชาติที่ดูดซึมได้ง่าย เช่น สารกลุ่ม Astaxanthine เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สกัดได้จากสีชมพูและแดงในสัตว์ทะเล เช่น เปลือกกุ้ง ปู ปลาแซลมอน สารกลุ่มนี้จะช่วยป้องกันอาการผิวไหม้จากแสงแดดและริ้วรอยลึกบนผิว รวมถึงช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกายด้วย
1 สารสกัดจากมะเขือเทศ (Tomato extract) มีสารสำคัญ ได้แก่ ไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยปกป้องผิวจากความเสื่อมโทรมอันเป็นผลมาจากแสงแดดและมลภาวะ นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้ผิวดูขาวอมชมพูมีสุขภาพดี
2.สารสกัดจากพืชกลุ่มซิตรัส (Citrus extract) หรือผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม อุดมด้วยวิตามิน ซี และวิตามิน อี มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันผลกระทบจากแสง UV เช่น ผิวหมองคล้ำและการทำลายคอลลาเจน จึงช่วยให้ผิวดูกระจ่างใสเปล่งปลั่ง

3. สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape seed extract) ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดและมลภาวะไม่ให้ผิวระคายเคือง ป้องกันการทำลายคอลลาเจน ทำให้ผิวแข็งแรงและยืดหยุ่น ยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวซึ่งทำให้ผิวคล้ำขึ้น และยังมีงานวิจัยที่พบว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่นช่วยให้ฝ้าดูจางลงด้วย
4. วิตามิน ซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญมาก ซึ่งช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากแสงแดด ป้องกันผิวเสื่อมโทรม หยาบกร้าน หมองคล้ำ และระคายเคือง มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์ กระชับ เต่งตึง นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงขึ้นด้วย
5. สารสกัดอื่นๆ จากธรรมชาติ เช่น สารสกัดจากชาเขียว เฟิร์น และเปลือกสน ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและป้องกันไม่ให้ผิวถูกแสง UV ทำลายเช่นเดียวกับสารอื่นๆ

กินวิตามินกันแดดอย่างเดียว ไม่ต้องทากันแดดได้ไหม?

วิตามินกันแดด มีส่วนช่วยในการป้องกันผลกระทบที่เกิดจากแสงแดด เช่น ผิวโทรม ผิวหยาบกร้าน และริ้วรอยเป็นหลัก แต่ไม่ได้ป้องกันรังสี ยูวีเอ ยูวีบี แบบเดียวกับครีมกันแดด จึงไม่ควรกินวิตามินอย่างเดียว แล้วออกไปเดินกลางแดดจ้าโดยไม่ทากันแดด เพราะไม่มีอะไรรับประกันผิวเราจะไม่ถูกแดดเผาจนพัง ทางที่ดีก็ควรทำควบคู่กันไป ทั้งกินวิตามิน ทาครีมกันแดด และใช้ร่ม หมวก เสื้อแขนยาวป้องกันแดดด้วย


Posted on

ฝ้า (Melasma) อยากหาย ให้หน้าใส รักษาอย่างไร ให้ถูกจุด หยุดปัญหาเรื้อรัง ป้องกันไว้ก่อน

ฝ้าคืออะไร ชนิดของฝ้าและสาเหตุการเกิดฝ้า

ฝ้า (melasma) คือ ปื้นสีน้ำตาลที่เกิดบริเวณแก้มจมูกหน้าผากคาง ซึ่งเป็นบริเวณที่ถูกแสงแดด (แต่อาจเกิดที่แขนได้) มักเป็นเหมือนกันทั้ง 2 ข้างของใบหน้า
สาเหตุของการเกิดฝ้า
1. แสงแดดเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดตัวกระตุ้นให้เกิดฝ้า หรือทำให้ฝ้าเป็นมากขึ้น
2. ผิวแห้งขาดการบำรุง จะทำให้เกิดฝ้าได้ง่ายกว่าคนผิวมัน
3. ฮอรโมน ถือว่าเป็นสาเหตุของการเกิดฝ้าที่สำคัญอีกสาเหตุหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนผิดปกติ อาจทำให้เกิดฝ้าได้
4. เครื่องสำอางค์ การแพ้เครื่องสำอางค์ อาจทำให้เกิดรอยดำแบบฝ้าได้
5. พันธุ์กรรม และเชื้อชาติ เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้ามีบุคคลใดเคยเป็นฝ้าในครอบครัว จะทำให้บุตรหลาน มีโอกาสเป็นฝ้าได้ถึง ร้อยละ 30-50 และพบบ่อยในคนเอเซียมากกว่าในยุโรป
ชนิดของฝ้า
1. ฝ้าตื้น (Epidermal type) – เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังกำพร้า มีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาดำ และสามารถเห็นขอบเขตได้ชัดเจน
2.ฝ้าลึก (Dermal type) – เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังแท้ใต้หนังกำพร้า มีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา สีเทาอมฟ้า มีขอบเขตของฝ้าไม่ชัดเจน โดยมากเราจะสังเกตได้ว่าฝ้าชนิดนี้จะกลืนไปกับผิวหน้าเป็นบริเวณกว้าง
3. ฝ้าผสม (Mix type) – ฝ้าที่มีการผสมกันระหว่างฝ้าลึก และฝ้าตื้นบนใบหน้า
4. ฝ้าเลือด ( Vascular melasma หรือ Telangiectetic melasma ) ฝ้าเลือดดังกล่าวเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนผิวหน้า อันเป็นผลมาจากการใช้เครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมของ ไฮโดรควินิน หรือเสตียรอยด์หรือยาคุมกำเนิด ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยแตกและมีเลือดกระจุกบริเวณพังผืดใต้ผิวหนังชั้นลึก โดยจะมีสีน้ำตาลแดง

รักษาฝ้าในปัจจุบัน 

1. ครีมทารักษาฝ้า สมัยก่อน ครีมทาฝ้ามักจะมีส่วนผสมของสาร Hydroquinone ซึ่งได้ผลดี แต่ก็มีผลข้างเคียง อย.ได้ถือว่าเป็นยาอันตราย ไม่อนุญาตให้ผสมในครีมรักษาฝ้า เพื่อวางจำหน่ายทั่วไป ครีมรักษาฝ้าในปัจจุบัน จึงได้เปลี่ยนมาใช้ สารสกัดจากธรรมชาติแทน อาทิเช่น เปลือกสน ,Kogic acid,Albutin, Licorice Extracts,Vitamin C ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์แต่สารแต่ละตัว ก็จะแตกต่างกันไป ในยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ผิดปกติ ดังนั้นก่อนเลือกครีมทารักษาฝ้า ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อผลการรักษาที่ได้ผลดี ไม่มีผลข้างเคียง
2. ยารับประทานรักษาฝ้า  มักจะใช้เสริมกับครีมทาฝ้า เช่นวิตามินซี, วิตามินอี ,ยารับประทาน tranexamic acid (มักใช้ในฝ้าเลือด ) การรับประทานยาควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ เพราะยารับประทานบางตัวมีผลข้างเคียงได้

3. การรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์เม็ดสี : การรักษาฝ้า ด้วยเลเซอร์เม็ดสี( Pigmented laser) เป็นการใช้เลเซอร์ Q-Switched Nd:YaG Laser ซึ่งจัดว่าเป็นเลเซอร์ที่รักษารอยฝ้า ได้ผลดีมากกว่า 70-80% โดยไม่พบผลข้างเคียงใด และเหมาะกับทุกสภาพสีผิว กลไกการรักษา คือการทำให้ฝ้า ค่อยๆ เลือนจางลง โดยไม่ต้องลอกผิว หลังทำจึงไม่ต้องพักฟื้น ไปทำงานได้ปกติ ปัจจุบัน Q-Switched Nd:YaG Laser จัดเป็นการรักษาฝ้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน เพราะเห็นผลชัดเจน ไว และไม่มีผลข้างเคียง ออกแดดได้ตามปกติ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเลเซอร์รักษาฝ้า ได้แก่ MedLite ,Revlite , Pico Laser นอกจากนี้ยังนำมารักษารอยด่างดำ ตามใบหน้า ลำตัว หรือหัวนมดำคล้ำ รักแร้ดำ ริมฝีปากดำคล้ำได้ด้วย

3. การรักษาฝ้าด้วยการฉีด(Meso bright) : หลักการคือการฉีดสารไวเทนนิ่งที่มีส่วนผสมขนานต่างๆ เช่น วิตามินเอ,ซี Glutathione,Placental Extracts ,Transemic acid เข้าสู่ผิวชั้นใน (ในชั้น Mesoderm) ด้วยปืนยิงดิจิตอล หรือ ใช้เข็มฉีดไปบริเวณที่เป็นฝ้า เพื่อจุดมุ่งหมายในการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ผิดปกติ หรือการละลายฝ้าให้ค่อยๆ จางลง วิธีนี้มักจะได้ผลดีเฉพาะฝ้าเลือด หรือฝ้าที่เกิดจากฮอรโมนผิดปกติ ฝ้าบางชนิดอาจจะไม่ได้ผล ดังนั้นก่อนทำ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเช่นกัน
ส่วนการรักษาฝ้า วิธีอื่นๆ เช่น การลอกด้วยกรดผลไม้ (Chemical peeling ) , การทำไอออนโต , การกรอผิว การทำ IPL การลอกฝ้าด้วยเลเซอร์ ไม่ค่อยแนะนำ เพราะบางอย่างไม่เหมาะกับผิวเอเซีย ทำให้ดำคล้ำได้ง่าย เกิดผลข้างเคียง บางอย่างยังไม่มีผลงานวิจัยรับรองชัดเจน

การป้องกันการเกิดฝ้า 

1. โฟมล้างหน้า หรือเจลล้างหน้า ควรเลือกล้างหน้าด้วยโฟม หรือเจล ที่เหมาะกับผิวแห้ง เพื่อป้องกันผิวแห้งมากขึ้น
2. ครีมกันแดด ถือว่าเป็นเครื่องสำอางพื้นฐานที่ต้องใช้ตลอดเวลา เนื่องจากมีการวิจัยแล้วว่า แสงแดดนอกจากทำให้เกิดฝ้าแล้ว ยังทำให้เกิดริ้วรอยแก่ก่อนวัย การเลือกใช้ครีมกันแดด นอกจากจะต้องเหมาะกับผิวแล้ว ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพของสารกันแดดด้วย ค่า SPF เท่าใด (ค่าสารกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีบี) และค่า PA เท่าไหร่ (ค่าสารกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีเอ) สำหรับผู้ที่เป็นฝ้า ควรเลือกครีมกันแดด ที่มีค่า SPF> 25 และค่า PA++ เป็นอย่างน้อย และควรมีส่วนผสมของครีมบำรุงร่วมด้วย
3. ครีมปรับสภาพผิว อาจอยู่ในรูปของ BHA Creams,AHA gel,BHA gel หรือครีมบำรุงอย่างอื่น เพื่อช่วยปรับสภาพผิวหน้า ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
4. ครีมบำรุงผิว การบำรุงผิวหน้าตั้งแต่วัยเยาว์ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี การเลือกครีมที่มีส่วนผสมของ วิตามินเอ ซี อี หรือ EPO พบว่ามีส่วนช่วยในการป้องกันฝ้า และริ้วรอยได้
5. โภชนาการและอาหารเสริม ควรรับประทานผัก ผลไม้ ที่มีคุณค่าทางวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินซี เพราะพบว่านอกจากป้องกันการเกิดโรคหวัดแล้ว ยังใช้รักษาฝ้าได้ด้วย แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานวิตามินซี(เม็ด) วันละ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ควบคู่กับวิตามินอี 1,200 ยูนิตต่อวัน

Posted on

กระ (Freckles) : กระตื้น กระลึก กระเนื้อ กระแดด กระกรรมพันธุ์ รักษาอย่างไร ให้จางลง คงความขาว เนียน ใส ให้ใบหน้า

กระคืออะไร มีกี่แบบ

กระ คือจุดด่างดำที่เกิดบนใบหน้า อาจจะมีสีน้ำตาล หรือเป็นสีค่อนข้างดำ กระบางชนิดอาจจะเป็นคล้ายๆ ติ่งเนื้อ มักจะเกิดบนผิวหนัง ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า ลำคอ หน้าอก แขน หรือขา
กระแบ่งได้เป็น 4 ชนิด
1. กระตื้น (Freckle, Ephelis) ลักษณะเป็นสีแทนออกแดง หรือน้ำตาลอ่อน รูปร่างกลมเป็นจุดเล็ก ๆ โดยมักจะปรากฏขึ้นช่วงฤดูร้อน และพบได้ในผู้ที่มีสีผิวค่อนข้างขาว หรือในครอบครัวที่มีพันธุกรรมกระชนิดนี้ รวมถึงกลุ่มคนที่มีสีผมแดงและตาสีเขียวที่มีความเสี่ยงสูง
2. กระลึก(Nevus of Hori) มีลักษณะเป็นจุดสีเทาหรือฟ้าอมเทาหลายจุดที่บริเวณโหนกแก้มสองข้าง มักพบในผู้หญิงเอเชียเนื่องจากมีเซลล์สร้างเม็ดสีขึ้นผิดที่ คือไปอยู่ชั้นหนังแท้

3. กระแดด (Lentigo or Solar Lentigo ) กระชนิดนี้ที่มีสีเข้ม มักเป็นสีแทน น้ำตาล หรือดำ ปรากฏตามบริเวณที่สัมผัสแดด เช่น หลังมือ ใบหน้า บริเวณไหล่และหลังส่วนบน กระชนิดนี้ เป็นได้ทุกกลุ่มอายุ โดยเป็นผลมาจากตากแดดเป็นเวลายาวนาน จึงพบได้มากในผู้สูงอายุ ซึ่งต่อมาอาจจะกลายเป็นมะเร็งผิวหน้ังได้
4. กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis) ลักษะเป็นก้อนเนื้อ มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อขนาดเล็กคล้ายหูดนูนขึ้นมาจากผิวหนัง สีน้ำตาลหรือดำอาจมีผิวเรียบหรือขรุขระ ขนาด2-3เซนติเมตร พบได้บ่อยตามใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอก ไหล่ ท้อง และหลัง มักเกิดเป็นกระจุกมากกว่าจุดเดียว แต่จะไม่พบตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า มักจะเกิดจากพันธุกรรม แสงแดด เมื่ออายุมากขึ้น หรือโดนแดดมากขึ้น เป็นเวลานาน จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นได้
ฝ้ากับกระ แตกต่างกันอย่างไร
ฝ้า จะมีลักษณะเป็นปื้นและมีขนาดใหญ่กว่า ขอบเขตไม่ชัดเจน มักจะเกิดในบริเวณที่สัมผัสแสงแดด ขณะที่ กระ จะเป็นจุดกลมๆ เล็กๆ มีขอบเขตชัดเจน มักจะเกิดกระจายทั่วไป บนใบหน้า

การรักษากระ

1. ครีมทา(Whitening creams) : มักจะเป็นครีมกลุ่มที่ผสมไวเทนนิ่ง เช่น Kojic adic,Albutin,Vitamin C เพื่อให้กระจางลง มักจะใช้ได้เฉพาะกระตื้น แต่ก็ได้ผลไม่ดี
2. การลอกผิวด้วยกรดเข้มข้น (Chemical peeling ): กลุ่มนี้มักจะใช้ได้กับกระตื้น กับกระแดด แค่พอทำให้กระจางลงได้บ้าง ถ้าทำบ่อยๆ ก็ทำให้ผิวบางลงและไวต่อแสงแดดมากขึ้น ทำให้กระกลับมาเป็นใหม่ และรุนแรงกว่าเดิม
3. เลเซอร์ ( Laser ) : การใช้เลเซอร์เป็นวิธีที่ง่าย ปลอดภัย ผลตอบสนองค่อนข้างดี มากกว่า 80-90 % โดยพบว่าเลเซอร์ที่ใช้ก็มีดังนี้
3.1 Pigmented Laser (Q-Switched Nd:YaG Laser) เช่น Revlite ,Pico Laser ซึ่งจัดว่าเป็นเลเซอร์ที่รักษากระได้ทุกชนิด ยกเว้นกระเนื้อ เหมาะกับทุกสภาพสีผิว ผลการรักษา ขึ้นอยู่กับ จำนวนครั้งและเทคนิคของแพทย์
3.2 Co2 Laser : เป็นเลเซอร์ที่ใช้กำจัดกระเนื้อ สามารถกำจัดออกหมดได้ในครั้งเดียว สะดวกและปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ หลังทำอาจจะมีรอยแดงๆ ควรเลืี่ยงแดดหรือทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันรอยดำหลังทำ

การป้องกันกระ

นอกจากสาเหตุทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขอะไรได้แล้ว การหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดเป็นทางเดียวที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นกระ หรือมิให้กระกลับมาใหม่ ปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ ไม่กี่ข้อดังนี้

  • เตรียมพร้อมเผชิญแสงแดดด้วยการทาครีมกันแดดทุกครั้ง โดยเลือกครีมที่มี SPF 50 เป็นอย่างต่ำ
  • ปกป้องใบหน้าซึ่งเป็นส่วนที่โดนแสงแดดบ่อย ๆ ด้วยการสวมหมวกปีกกว้าง
  • สวมใส่เสื้อผ้าปกปิดร่างกาย เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว
  • หลีกเลี่ยงการพบเจอแสงแดดช่วงเวลาประมาณ 10 โมงเช้าถึง 3 โมงเย็น ที่มีแดดแรง
  • พยายามอยู่ในร่มหรือภายในตัวอาคาร
กระตื้น กระลึก รักษาด้วย Q-Switched Nd:YaG Laser
กระเนื้อ ก่อนหลัง การรักษาด้วย CO2 Laser
Posted on

ผิวของคนเราจะเข้มขึ้นหรือจางลงได้ มีกระบวนการเกิดอย่างไร (Melanin-Biosynthesis Pathway)

เซลล์เมลานิน คืออะไร

คือ เซลล์ชนิดหนึ่งในชั้นผิวหนังกำพร้า ( Melanocyte) ประกอบด้วยส่วนประกอบที่เรียกว่า Melanosome ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตเม็ดสี Melanin ให้เข้มขึ้น เวลาโดนแสงแดด หรือเกิดภาวะอักเสบจากสาเหตุต่างๆ เม็ดสีที่เข้มขึ้นนี้จะถูกนำมาสู่ชั้นผิวหนังด้วยเซลล์อีกตัวคือ keatinocytes ซึ่งสร้างเคอราตินที่ชั้นผิวหนังและทำให้เม็ดสีเมลานินมาอยู่ที่ผิวหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ ซึ่งเม็ดสีเมลานินที่ผลิตออกมามี 3 แบบ ก็คือ

  1. Eumelanin ซึ่งจะได้แก่เม็ดสีดำ ซึ่งพบในคนเอเซียและคนที่ผิวคล้ำทั้งหลายในปริมาณที่มากกว่าคนผิวขาว
  2. Pheo-melanin ซึ่งได้แก่เม็ดสีแดง(Oxyhemoglobin)หรือสีเหลือง(carotene) ซึ่งจะพบในคนที่ผิวขาวมากกว่าคนที่ผิวคล้ำ
  3. Mixed-melanin คือมีเม็ดสีเมลานินทั้งสองแบบข้างบน ผสมผสานกัน
    เมื่อมีการสร้างเม็ดสีมากขึ้น ก็จะทำให้สีผิวที่เข้มขึ้น เกิดฝ้า กระ รอยหมองคล้ำ ขี้แมลงวัน

สาเหตุที่ทำให้สีผิวเข้มขึ้น หรือสีผิวผิดปกติ

1. แสงแดด :
– รังสียุวีเอ จะกระตุ้นเซลล์เมลานินโดยตรงให้ทำงานมากขึ้น หรือทางอ้อม โดย จะกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ Tyrosinase หรือจะกระตุ้นให้มีสารที่คล้ายสารอาหาร ทำให้เซลล์ keratinocyste รับสารเมลานินได้มากขึ้นส่งผลให้สีผิวเข้มขึ้น
– ส่วนรังสียูวีบี จะทำให้การทำงานประสานกันของเซลล์ melinocyte และเซลล์ keratinocytes ได้ดีขึ้นในการรับส่งเม็ดสีเมลานิน
2. ยาคุมกำเนิด หรือฮฮรโมนบางอย่าง เช่น เอสโตรเจน หรือโปรเจสเตอโรน
3. ความเครียดเรื้อรัง ซึ่งจะเห็นว่าในบางคนทำให้ผิวหน้าหมองคล้ำ ไร้ราศีได้
4. ยารับประทาน บางอย่างที่ทำให้ผิวหนังบางลงและไวต่อแสง
5. สารเคมีในเครื่องสำอาง หรือน้ำหอม ทำให้เกิดการแพ้ ไวต่อแสง หรือผิวหนังอักเสบ
6. พันธุกรรมหรือเชื้อชาติ ที่ทำให้ไวต่อแสงอยู่แล้ว เช่นกลุ่มชาวเอเซีย กลุ่มฮีสแปนิค(กลุ่มชนละติน)
7. แร่ธาตุบางอย่าง เช่น ทองแดง สังกะสี ธาตุเหล็ก ทำให้มีการสร้างสีเมลานินได้มากขึ้น ดังนั้นในอาหารเสริมพวกนี้ ต้องมีขนาดที่พอเหมาะ ถ้ามากเกินไปก็จะทำให้สีคล้ำลงได้

กระบวนการเกิดเม็ดสีผิว

ขั้นตอนการสังเคราะห์ เม็ดสีผิวเมลานิน อาศัย เอนไซม์ที่สำคัญมากมาย แต่จะกล่าวเฉพาะตัวเด่นๆ ดังนี้

  1. เอนไซม์ Tyrosinase ซึ่งถือว่าเป็นเอนไซม์ที่สำคัญสุดและมีบทบาทมากสุดในการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินให้สีผิวเข้มขึ้น ซึ่งทำให้มีการวิเคราะห์สารไวเทนนิ่งที่ยับยั้งเอนไซม์นี้ให้ทำงานน้อยลง เช่น Hydroquinone วิตามินซี,Albutin,Licorice
  2. เอนไซม์ Glutathione Or Cysteine มีบทบาทในการยับยั้งขบวนการสร้างเม็ดสี ดังนั้น การฉีดกลูต้า หรือทานน้ำผึ้งที่มีสาร Cysteine จึงทำให้สีผิวขาวขึ้น
  3. เอนไซม์ D.tautomerase ,Dpolymerase ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสีของกระ หรือรอยแดง ซึ่งพบว่าครีมไวเทนนิ่งกลุ่มวิตามินซี,Licorice,Kogic acid สามารถยับยั้งเอนไซม์นี้ได้
  4. เอนไซม์ D.peoxidase เป็นเอนไซม์อีกขั้นตอนหนึ่งที่เปลี่ยนเม็ดสี Pheomelanin(สีแดง) เป็น Eumelanin (สีดำ) ซึ่งสารไวเทนนิ่งกลุ่ม albutin จะออกฤทธิ์ยับยั้งตรงนี้นะครับ
    ดังนั้น ครีมไวเทนนิ่ง หรือขบวนการฟอกสีผิวให้ขาวขึ้น หรือการรักษาเม็ดสีผิวที่ผิดปกติ เช่น ฝ้า กระ การทำเลเซอร์หรือ ทาครีมรักษาฝ้า กระ ต้องมีฤทธิ์ในการรบกวน ขบวนการ ขั้นตอน หรือเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดสีเมลานินนี้
Posted on

ครีมทาหน้าขาว ตรวจสอบ ให้ดีก่อนซื้อ ว่าส่วนประกอบคืออะไร ได้ผล ปลอดภัยมั้ย

ครีมหน้าขาวทำงานอย่างไร

กลุ่มสารที่ทำให้ผิวขาวขึ้น( Whitening creams) ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด หรือที่คลินิกผิวพรรณทั้งหลาย จำแนกตามกลไกการทำงานได้ดังนี้

  1. สารป้องกันแสงแดด เพื่อลดการทำลาย หรือ การสร้างเม็ดสีมากขึ้น ได้แก่ ครีมกันแดดทั้งหลาย ซึ่งควรมีค่ากันแดดอย่างน้อย SPF > 25 PA ++
  2. รบกวนการทำงานของเอนไซม์ Tyrosinase หรือ Melanosome ในขบวนการสร้างเม็ดสีผิว แบ่งย่อยๆ ได้เป็น
    2.1 Hydroquinone เดิมใช้ผสมในครีมรักษาฝ้า เพื่อลดและลบรอยดำจากฝ้า มีส่วนผสมตั้งแต่ 2-5 % HQ แต่ถ้าใช้ติดต่อกันนานๆ จะมีผลข้างเคียงได้ และทำให้ฝ้ากลับมาเป็นใหม่ได้จากผลของยาเอง
    ดังนั้นในปัจจุบัน ทางอ.ย ของไทย จึงห้ามผสมในเครื่องสำอางค์ แต่ในคลินิก ถ้าอยู่ในความดูแลของแพทย์ ยังสามารถใช้ได้
    2.2 Vitamin C อาจในรูปของสารละลาย (สำหรับใช้ในการทำไอออนโต) หรือในรูปของครีมทาผิว หรือ การรับประทานวิตามินซีเม็ด ซึ่งกรณีการรักษาฝ้า แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานวิตามิน C ควบคู่ไปด้วย ประมาณ 100-200 มก.ต่อวัน
    2.3 Kojic Acid ซึ่งใช้เป็นส่วนผสม ของผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ครีมรักษาฝ้า ครีมทาหน้าขาว

2.4 Arbutin ส่วนประกอบคล้ายๆ ไฮโดรคลิโนน แต่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์เมลานิน มักนำมาใช้รักษาฝ้า แทน ยาไฮโดรคลิโนน แม้ให้ผลการรักษาช้ากว่า แต่ก็มีผลข้างเคียงน้อย
2.5 Licorice เป็นผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากแป้งสาลี ชะเอม ปัจจุบันนิยมนำมาผสมในเครื่องสำอาง เช่นแป้งรองพื้น ครีมบำรุงผิวหน้า ผิวกาย ลิปติค ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า
2.6 สารสกัดทางธรรมชาติ ซึ่งจะมีการค้นคว้าอีกมากมาย แต่ยังไม่ฮิตติดอันดับสำหรับการนำมาใช้เท่าสารเคมีที่กล่าวมาข้างบน อาทิ Green Tea Extract, Compositae(สารสกัดจาก matricaria) แต่ในอนาคตอาจมีสารกลุ่มนี้มากขึ้นกว่านี้

ดังนั้นการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ครีมทาหน้าขาว ก่อนซื้อสามารถยึดหลักว่าต้องมีส่วนประกอบต่างๆ ตามข้างต้น และถ้ายิ่งมีส่วนประกอบผสมกันหลายตัว น่าจะเพิ่มประสิทธิภาพตามที่ต้องการได้

Posted on

งานวิจัย : Pycnogenol สารสกัดจากเปลือกสน มาริไทม์ สามารถรักษาฝ้าทำให้จางลงได้

Pycnogenol คืออะไร

คือ สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ สกัดจากเปลือกสนมาริไทม์ฝรั่งเศส (Pinus pinaster)Pycnogenol  ที่อุดมไปด้วยส่วนผสมของสารอาหารจากธรรมชาติ อันได้แก่ สารไบโอฟลาโวนอยด์ (bioflavonoids) และ กรดผลไม้ (fruit acids) หลากหลายชนิด
สรรพคุณ
1.ช่วยต่อต้านการผลิตเม็ดสีเมลานิน ปรับสภาพผิวที่หมองคล้ำ กระ ฝ้า สีผิวไม่สม่ำเสมอจากการทำลายของแสง UV
2.ปรับผิวพรรณให้เนียนนุ่ม มีน้ำมีนวล ผิวดูอ่อนเยาว์ จากคุณสมบัติเพิ่มกรดไฮยาลูโรนิกในชั้นผิวหนังมากขึ้น นอกจากขาวใสแล้วยังลดเลือนริ้วรอยลึกได้อีกด้วย
3. มีสารป้องกันการอักเสบให้ผิว ซึ่งช่วยป้องกันผิวจากการถูกทำร้ายด้วยแสงแดด
4. ช่วยกระตุ้นความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของเซลล์เป็น 2 เท่า และช่วยดักจับอนุมูลอิสระที่อยู่ในกระแสเลือด
5. ปกป้องโครงสร้างผิวไม่ให้ถูกทำลายโดยเอนไซม์ที่สลายคอลลาเจนและอิลาสติน

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ได้นำคนไข้ฝ้าผู้หญิง จำนวน 30 คน อายุประมาณ 29-59 ปี ( อายุเฉลี่ย 41 ปี) และมีปัญหาเรื่องฝ้าโดยเฉลี่ย 8 ปี รับประทานยาที่สกัดจากเปลือกสนดังกล่าว ขนาด 25 มก. วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน แล้วนำมาวัดผล ด้วยการซักประวัติ ว่าดีขึ้นหรือแย่ลง หรือเหมือนเดิม และได้ทำการวัดระดับความเข้มของฝ้า ผลการทดลองมีดังนี้ 

ผลลัพธ์ ได้ผลดีมาก ได้ผลดี ไม่ได้ผล ได้ผลรวม
จำนวนคน 7 17 6 24
% 22.23 % 56.57 % 20 % 80%

โดยเกณฑ์การพิจารณาประสิทธิภาพของการรักษา 

– กรณีได้ผลดีมาก คือ ขนาดความเข้มของฝ้าลดลง 2 หน่วย หรือ ขนาดพื้นที่ของฝ้าลดลง 1 ใน 3 ส่วน และไม่มีฝ้าเกิดใหม่
– กรณีที่ได้ผลดี คือ ขนาดความเข้มของฝ้าลดลง 1หน่วย หรือ ขนาดพื้นที่ของฝ้าลดลง 1 ใน 3 ส่วน และไม่มีฝ้าเกิดใหม่
– กรณีที่ไม่ได้ผล คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดและความเข้มของฝ้า

จากการทดลองดังกล่าว ได้มีการบันทึกผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้ ดังนี้

อาการที่พบ จำนวน ได้ผลดีมาก ได้ผลดี ไม่ได้ผล ได้ผลรวม
อ่อนเพลีย 13 3 6 4 69.23 %
เจ็บหน้าอก/ซี่โครง 10 2 5 3 70 %
ท้องผูก 13 3 5 5 61.54 %
ใจร้อน 16 2 7 7 56.52 %


โดยพบว่าผลการตรวจเลือดและปัสสาวะก่อนและหลังการรับประทานยาดังกล่าว ไม่พบการเปลี่ยนแปลง

จากผลงานการวิจัยดังกล่าว  ถือว่าเป็นแนวทางการรักษาฝ้า ที่ได้ผลในการรักษาในระดับหนึ่ง และมีผลข้างเคียงก็ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร นอกจากนี้อาจจะช่วยชะลอวัยได้ด้วย

Posted on

สารไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ส่วนผสมใน ครีมทาหน้าขาว รักษาฝ้า ใช้นานๆ อันตราย !

สารไฮโดรควิโนน คืออะไร

ไฮโดรควิโนน เป็นสารเคมีซึ่งเป็นที่นิยมในการนำมาเตรียมครีมที่ทำให้หน้าขาวในอดีต เนื่องจากเห็นผลได้เร็ว ออกฤทธิ์โดยการการยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน อันเป็นสาเหตุของการเกิดฝ้า กระ
สารตัวนี้ มักจะผสมดเป็ฯส่วนประกอบยารักษาฝ้า ครีมทาหน้าขาว ครีมลบรอยดำตามบริเวณต่างๆ เช่น ครีมทารักแร้ดำ ง่ามขาดำ ฯลฯ ที่มีวางขายตามท้องตลาดและสินค้าออนไลน์
ปกติจะผสมความเข้มข้นมากกว่า 3-5 % ซึ่งจัดว่าเป็นยา ต้องใช้ในความควบคุมของแพทย์ เพราะซึ่งถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเกิดผลข้างเคียงได้ ปัจจุบัน อ.ย. ได้กำหนดให้ผสมสารดังกล่าวในการรักษาฝ้า ไม่เกิน 2 %
ผลข้างเคียงที่พบได้
1. การระคายเคืองต่อผิว เกิดจุดด่างขาวที่หน้าแบบถาวรได้
2. เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในผิวหนังทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรสีน้ำเงินอมดำได้ รักษาไม่หาย
3. มีตุ่มนูนสีดำ บริเวณโหนกแก้มและสันจมูก ซึ่งเป็นบริเวณที่ทายาบ่อยๆ หรือเรียกว่า ภาวะ Onchonosis and colloid milium 
ขอเตือน : ไม่ซื้อยาทาฝ้าตามท้องตลาดใช้เอง เพราะยาอาจไม่ได้มาตรฐาน หรืออาจผสมสาร Hydroquinone เกินกว่าที่อ.ย. กำหนด ภาวะนี้มักทายาให้หายได้ยาก นอกจากการทำเลเซอร์

Posted on

whitening creams : ครีมทาฝ้า ครีมหน้าขาว หรือสารไวเทนนิ่ง ทำงานอย่างไร ตัวไหนดี ในกระบวนการหยุดยั้งการสร้างเม็ดสีผิวผิดปกติ

สารไวเทนนิ่งคืออะไร

คือ สารที่มีองค์ประกอบที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีให้กับผิวหนัง วัตถุประสงค์ของสารไวเทนนิ่ง คือ ช่วยบำรุงผิวหน้าให้ผิวหน้าขาวกระจ่างใส ลดรอยหมองคล้ำ ฝ้า กระ ทั้งในรูปของครีมทาผิวและยารับประทานออกมามากมาย หลากหลายชนิด และนำมาผสมกัน
ดังนั้นก่อนที่เราจะเลือกครีมทาหน้าขาว หรือทำให้ผิวขาวกระจ่างใส ถ้าเราได้ทราบว่าแต่ละตัวออกฤทธิ์ที่ไหน ตัวไหนดีที่สุด ก็จะช่วยให้เราเลือกซื้อและพิจารณาว่าส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ด้านหลังมีอะไรบ้าง ดีจริงอย่างที่เค้าโฆษณาหรือเปล่า คุ้มค่ากับเงินที่ต้องใช้จ่ายไปหรือไม่

กลไกการออกฤทธิ์ของสารไวเทนนิ่ง

  1. กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเอนไซม์ Tyrosinasesได้แก่ สารพวก Lactic acid,รกแกะ(Placenta Extracts),Azelaic acid,Lactate
  2. กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการพัฒนา(Maturation) ของเอนไซม์ Tyrosinases ได้แก่ สารพวก Glutathione or cysteine (ซึ่งพบในน้ำผึ้ง ) ,Calcium D pantethine S sulphate
  3. กลุ่มที่ออกฤทธิ์เพิ่มการสลายตัวของเอนไซม์ Tyrosinases ได้แก่สารพวก Alpha linoleic acid
  4. กลุ่มที่ออกฤทธิ์การทำงานของเอนไซม์ D.tautomerase ,Dpolymerase ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสารต้นแบบของเม็ดสี Pheomelanin ได้แก่สารกลุ่ม Albutin,Alpha-tocophernyl ferulate(วิตามินE),Kogic acid,Licorice extracts

5. กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือรบกวนการทำงาน (Activities) ของเอนไซม์ Tyrosinases  กลุ่มนี้มีมากมายหลายตัว และมักจะนำมาผสมในเครื่องสำอางที่วางขายในปัจจุบัน ได้แก่
– Hydroquinone (ซึ่งเคยเป็นส่วนผสมครีมทาฝ้าในสมัยก่อนที่ฮิตมาก แต่ปัจจุบันห้ามผสมลงไป เพราะทำให้เกิดผลข้างเคียงมาก)
– Kogic acid
– สารสกัดจากชะเอม(Licorice)
-,Albutin
– Vitamin C
– สารสกัดจากชาเขียว(Green tea extracts)
– สารสกัดจากธรรมชาติต่างๆ เช่น แอ็ปเปิล( Applephenon extracts) สารสกัดจากเปลือกมะหาด(Mahad),สารสกัดจากบอระเพ็ด,สารสกัดจากสาเก,สารสกัดจาก สมุนไพรอื่นๆ,สารสกัดจากเปลือกสนมาริไทม์ (Pynocare)
– ยารับประทานรักษาฝ้า Tranxemic acid

เลือกไวเทนนิ่งตัวไหนดี

เลือกตัวที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด และทำงานยับยั่งการสร้างเม็ดสี ได้หลายที่ในกลไกการสร้างเม็ดสี ได้มีการเปรียบเทียบผลที่ได้ในสารกลุ่มนี้ จากดีสุด จะพบว่า
 Alpha Alpha-tocophernyl ferulate(1) >Ellaic acid(2) > Albutin(3)>Licorice(4)>Kogic(5)>VitC(6)>Paper mulbery(7) 
นี่คือตัวเด่นๆ ที่นำมาผสมในผลิตภัณฑ์ที่ทำให้หน้าขาว หรืออาจจะนำมาผสมในครีมกันแดด นอกจากนี้ยังมีการศึกษาสารกลุ่มอื่นที่มีผลทำให้แสงแดดมีผลต่อผิวลดลง แล้วนำมาผสมในครีมกันแดดด้วย เช่น กลุ่ม Antixidants เช่น Betacarotene ซึ่งมีผลต่อ UVA ,กลุ่ม EPO ที่มีผลต่อ UVB,กลุ่มสารสกัดจากชาเขียว และ beta glucan