ไมเกรน (Migraine) ไม่หายขาด ไม่อยากกินยา กลัวผลข้างเคียง ฉีดโบ ช่วยได้ เห็นผลทันที อยู่ได้นานหลายเดือน

สุขภาพ-งานวิจัย

18 พฤศจิกายน 2016


ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine) คืออะไร

การปวดศีรษะแบบไมเกรน  เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย  มีการประมาณว่าใน 1 วัน ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน ประมาณ 3,000 คนต่อประชากร 1 ล้านคน โดยพบอัตราเป็นโรคนี้สูงสุดในคนอเมริกาเหนือ รองลงมาคือคนอเมริกากลาง อเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา และผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตราส่วน2:1  โดยพบมากในช่วงอายุ 30 -40 ปี แต่แทบจะไม่พบผู้ป่วยที่มีปวดศีรษะไมเกรนเป็นครั้งแรกเมื่ออายุเลย 50 ปีไปแล้ว การปวดศีรษะอาจจะไม่รุนแรง จนถึงรุนแรงมาก จนทำงานไม่ได้  ถ้าเป็นบ่อยๆ อาจจะส่งผลต่อปัญหาทางด้านจิตใจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม และที่สำคัญก็คือ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เพราะอาการปวดดังกล่าวมีผลต่อเนื่องไปถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้ทำงานไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
สาเหตุ :
– การปวดศีรษะแบบไมเกรนนั้นเป็นโรคทางสมองชนิดหนึ่งซึ่งยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ แต่น่าเชื่อได้ว่าอาจมีจุดกำเนิดจากก้านสมองที่ทำงานผิดปกติ หรือเกิดจากภาวะที่สารเคมีในสมองไม่สมดุล ส่งผลให้หลอดเลือดมีความไวต่อการกระตุ้นมากเป็นพิเศษกล่าวคือ มีการหด และขยายตัวของหลอดเลือดอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับกับพันธุกรรมที่ผิดปกติ

ลักษณะอาการ:
– การปวดศีรษะแบบไมเกรน  มีลักษณะค่อนข้างชัดเจน กล่าวคือ มักจะปวดบริเวณขมับโดยอาจจะปวดข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ บางกรณีอาจมีการปวดวนกันไป และมักจะปวดข้างเดิมอยู่ซ้ำ ๆ ส่วนอีกบริเวณหนึ่งที่พบมาก ได้แก่ บริเวณเบ้าตา ลักษณะของการปวด ก็มักจะปวดตุ้บๆ ตามจังหวะของชีพจร ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ระยะเวลาของการปวดอาจแตกต่างกันออกไปในผู้ป่วยแต่ละราย บางรายอาจมีอาการยาวนานถึง 72 ชั่วโมง
ปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดไมเกรนมีดังนี้

  • ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ช่วงมีประจำเดือน ระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงหมดประจำเดือน หรือการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
  • อาหารบางชนิด เช่น ชีส ไวน์แดง ช็อคโกแล็ต น้ำตาลเทียม ผงชูรส ชา และกาแฟ
  • การกระตุ้นทางประสาทสัมผัส อาทิ แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นฉุน กลิ่นบุหรี่
  • รูปแบบการนอนที่เปลี่ยนไป เช่น นอนดึก นอนไม่พอ หรือนอนมากเกินไป
  • สิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อน ฝุ่นควัน
  • ยาบางชนิด
    วิธีการรักษา
  • การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคไมเกรน  ก็คือการบรรเทาอาการปวดศีรษะ   และการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก หรือลดความถี่ของการเกิด และลดความรุนแรงของอาการปวดศีรษะ ซึ่งวิธีการรักษาแบ่งได้ดังนี้
  • 1. การรักษาด้วยการไม่ใช้ยา : มักจะใช้ในกรณีที่เป็นไม่รุนแรง ได้แก่   การนวด การกดจุด การประคบเย็น การประคบร้อน หรือการนอนหลับ
  • 2. การรักษาด้วยการใช้ยารับประทาน : มักจะใช้ในกรณีที่รุนแรง หรือใช้วิธีที่ 1 แล้วไม่ได้ผล การใช้ยาควรจะปรึกษาแพทย์ เพราะปัจจุบันมียาแก้ปวดที่ได้ผลดีหลายชนิด ยาแต่ละชนิดก็มีผลข้างเคียงต่าง ๆ กันไป ประกอบกับผู้ป่วยแต่ละรายก็ตอบสนองต่อยามาไม่เหมือนกัน จึงต้องเลือกให้เหมาะสมในแต่ละรายไป

การรักษานอกจากยาแล้วโบทอกซ์ก็ช่วยให้ไมเกรนหายได้ไวขึ้น และป้องกันได้หลายเดือน

เมื่อเดือน มิย. ปี ค.ศ .2010 ทาง US FDA ได้ออกมารับรองผลว่า การฉีด Botulinum toxin type A  สามารถลดอาการปวดศีรษะแบบไมเกรนแบบเรื่อรังลงได้
ทำไมฉีดโบ จึงแก้ไมเกรนให้หายได้
เพราะกลไกที่ไปรักษาพบว่า Botulinum toxin type A มีผลต่อสารสื่อประสาท ทำให้สามารถลดการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บปวดในระบบประสาท ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดการปวดศีรษะไมเกรนได้และบางคนได้ผลทันทีหลังฉีด และยังสามารถช่วยลดความถี่ในการเกิดได้ยาวนานขึ้นถึง 3 -4 เดือน ( ( botulinum toxin inhibits pain in chronic migraine by reducing the expression of certain pain pathways involving nerve cells in the trigeminovascular system. The trigeminovascular system is a sensory pathway thought to play a key role in the headache phase of a migraine attack) .)

ดังนั้น การฉีด Botulinum toxin type A เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดศีรษะไมเกรนเรื้อรัง รุนแรง และเป็นบ่อยๆ ที่ไม่ต้องการรับประทานยาต่อเนื่องทุกวัน เพื่อป้องกันและรักษา เพราะการฉีดโบทอกซ์จะทำทุก 3 เดือน ปริมาณยูนิตและบริเวณที่ฉีดจะแตกต่างกัน และควรจะได้รับการรักษาโดยแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์ในการฉีดโบทอกซ์รักษาไมเกรนด้วย เพราะถ้าฉีดผิดตำแหน่ง หรือปริมาณที่ไม่เหมาะสม อาการปวดศีรษะไมเกรนก็อาจจะไม่หายได้
สนใจสอบถามเพิ่มเติมกับสถานบริการที่มีให้บริการกันนะครับ

Related