งานวิจัย : น้ำอัดลม ทำให้กรดยูริค สูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์(Gout) ได้ จริงหรือไม่

สุขภาพ-งานวิจัย

10 เมษายน 2008


โรคเก๊าท์ (Gout/ Gouty arthritis) เป็นภาวะของโรคที่เกิดจากการมีกรดยูริค (Uric acid) ในเลือดมีปริมาณสูงมากผิดปกติ( มากกว่า 7 Mg% ) จนไม่สามารถอยู่ในเลือดในรูปสารละลายได้ จึงเกิดการตกผลึกสะสมตามที่ต่าง ๆ เช่น ข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ทำให้เกิดก้อนขึ้นตามร่างกาย
อาการของGout คือ ข้ออักเสบ ปวดข้อรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ไม่ทันข้ามคืน
อาหารที่มีกรดยูริคสูง มักจะมีอาการกำเริบขึ้น เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด กะปิ เนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ พืชผักยอดอ่อน เช่น หน่อไม้ ถั่วงอก สะเดา ยอดกระถิน ยอดผักอ่อน แตงกวา ชะอม น้ำหรือซุปที่สกัดจากเนื้อหรือน้ำต้มกระดูก กุ้ง หอย ปลาซาดีน เป็นต้น
งานวิจัยเครื่องดื่มน้ำอัดลมหรือฟรุคโตส จะมีผลต่อการเกิดโรคเก๊าท์
Choi HK และคณะวิจัย จากฮ่องกง พบว่า ฟรุคโตสในน้ำอัดลม ที่ทำให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้นได้ จากการเพิ่มการแปลงพลังงาน ATP ไปเป็น ADP ซึ่งเป็นตัวตั้งต้นของการเกิดกรดยูริคในร่างกาย
รายละเอียดทดลองวิจัย ได้นำบุคคลากรทางการแพทย์ เพศชาย จำนวน 46,393 คนมาสัมภาษณ์เกี่ยวกับความถี่ในการดื่มน้ำอัดลม ทั้งแบบผสมน้ำตาลแท้และน้ำตาลเทียม หรือน้ำผลไม้
ผลการศึกษา ในช่วง 12 ปี พบว่ามีอุบัติการณ์การเกิดโรคเก๊าท์จำนวน 755 ราย ยิ่งดื่มมากก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ เช่น พบว่า ถ้าดื่มมากกว่าสัปดาห์ละ 5-6 ส่วน (serving) จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.29 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ดื่มสัปดาห์ละ 1 ส่วน
เอกสารอ้างอิง..Chot HK,et all.soft drinks,fructost comsumtion,and the risk of gout in men:prospective cohort stusy.BMJ 2008;309-312

Related