เหงื่อออกมากกว่าปกติ(Hyperhidrosis) รักแร้เปียก มือเท้าเปียก มีกลิ่นตัว เท้าเหม็น แก้ไขอย่างไร

เวชศาสตร์ความงาม

15 มกราคม 2005


สาเหตุ เหงื่อออกมากกว่าปกติ(Hyperhidrosis)

การหลั่งเหงื่อ ถือว่าเป็นภาวะปกติของร่างกายที่จำเป็น เพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย โดยกลไกการหลั่งเหงื่อจะส่งผ่านปลายประสาท ของระบบประสาทอัตโนมัติ ที่เรียกว่า Sympathetic nervous system
ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperthydrosis) คือภาวะที่ร่างกายขับเหงื่อออกมาเป็นจำนวนมาก แม้ในสภาพอากาศปกติ พบได้ประมาณ 1 % ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะอาการออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน (Primary Hyperhidrosis) กลุ่มนี้ ที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ ซึ่งเกิดได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย คนไข้ในกลุ่มนี้ มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่อายุยังน้อย ในกลุ่มวัยรุ่น ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 30-40 ของกลุ่มนี้ มักจะมีประวัติทางกรรมพันธุ์ร่วมด้วย
  • กลุ่มที่มีสาเหตุจากภาวะความผิดปกติในร่างกาย (Secondary Hyperhidrosis)
    คนไข้ในกลุ่มนี้ จะมีเหงื่อในปริมาณมาก ออกทั่วร่างกาย แม้กระทั่งในเวลานอน ซึ่งมีสาเหตุมาจากผลข้างเคียงของโรคอื่น ๆ เช่น
    – โรคไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้ร่างการมีการเผาผลาญสูง
    – โรควัณโรคปอด
    – โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
    – ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะอ้วนมาก ๆ
    – หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน
    – การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น

พบได้บ่อยบริเวณไหน

ผู้ป่วยบางรายมีเหงื่อออกมากมากกว่าปกติ แบ่งได้เป็น
1. กลุ่มเหงื่อออกทั่วๆ ไป : เนื่องจากเหงื่อช่วยระบายความร้อน คนที่มีเหงื่อออกทั่วลำตัว จะทำให้ขาดความสมดุลของอุณหภูมิของร่างกาย อาจจะทำให้รู้สึกเย็นหรือหนาวมากกว่าคนปกติ
2. กลุ่มเหงื่อออกเฉพาะที่ : พบได้บ่อยที่สุด มักจะทำให้ขาดความมั่นใจ การใช้ชีวิตประจำวันลำบาก บริเวณที่พบได้บ่อยๆ คือ
– รักแร้ (พบบ่อยสุด) ทำให้เกิดกลิ่นตัว รักแร้เปียก ดูเป็นที่รังเกียจ ของคนทั่วไป
– บริเวณฝ่ามือ ทำให้เขียนหนังสือไม่ได้ หรือหยิบจับอะไรแล้วลื่น หรือไม่กล้าจะจับมือทักทายใคร
– บริเวณฝ่าเท่า ทำให้ เท้ามีกลิ่นอับ ใส่รองเท้าแล้วถุงเท้าแฉะอึดอัด หรือใส่รองเท้าแตะแล้วลื่น
– ใบหน้า : อาจจะเสียบุคคลิกภาพ แต่งหน้าไม่ติด

แนวทางการรักษา

กรณีที่ทราบสาเหตุ ถ้าแก้ไขที่สาเหตุ และรักษาหาย อาการดังกล่าวจะดีขึ้น
กรณีที่ไม่ทราบสาเหตุ  มักทำการรักษาได้ยาก แต่พอมีแนวทางแก้ไขได้ดีขึ้น ดังนี้
1. การใช้สารป้องกันเหงื่อ ( antiperspirants) ที่ใช้ได้ดี คือ 20-25 % Aluminium chloride in 70 % alcohol แต่มักได้ผลในกรณีที่เป็นไม่มาก และต้องใช้บ่อยๆ
2. การทำ ไอออนโตโฟรเรซิส มักทำบริเวณฝ่ามือ แต่ต้องทำบ่อยๆ แต่ไม่เป็นที่นิยม เพราะไม่สะดวกในการต้องไปทำอยู่เรื่อยๆ
3. การใช้ยากล่อมประสาท เพื่อแก้ภาวะวิตกกังวล อาจได้ผลบ้าง แต่ไม่ดีนัก หรือ การใช้ยากลุ่ม Atropine ก็มักเกิดผลข้างเคียง ทำให้ปาก คอแห้ง จึงไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

  1. การฉีดสาร botox : สาร Btlulinum toxin นอกจากจะ สามารถยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาท Acethylcholine ทำให้กล้ามเนื้อคล้ายเป็นอัมพาตชั่วคราวแล้ว ยังทำให้ต่อมเหงื่อบริเวณดังกล่าวทำงานได้ช้าลงด้วย เหงื่อจึงลดลง มักได้ผล ในการฉีดสารนี้ที่บริเวณ รักแร้ ฝ่ามือ และฝ่าเท้า ซึ่งสามารถลดปัญหาดังกล่าวได้นาน 6-12 เดือน และต้องมาฉีดซ้ำ แต่ก็เป็นที่นิยมในต่างประเทศ มากกว่าการทำการผ่าตัด เพราะเจ็บน้อยกว่า ไม่ต้องนอนรพ.
  2. การผ่าตัดต่อมเหงื่อทิ้ง มักใช้กรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยการฉีดโบทอกซ์ โดยการผ่าตัดเส้นประสาทบริเวณทรวงอกโดยการส่องกล้อง ที่เรียกว่า endoscpoic thoracic sympathectomy ซึ่งพบว่าเป็นวิธีที่ได้ผล และหายขาด เกือบ 90-97 % แต่ได้ผลดีเฉพาะเหงื่อออกบริเวณรักแร้ มีความปลอดภัยสูง แต่ต้องทำโดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

Related