ผื่นกุหลาบ หรือ ขุยดอกกุหลาบ (Pityriasis Rosea) : ผื่นทั่วร่างกาย ที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน

ผิวหนัง

6 มีนาคม 2005


โรคขุยดอกกุหลาบ (Pityriasis Rosea) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะผื่นแดงรูปวงรี คล้ายดอกกุหลาบ พบได้ประมาณ 1-2 % ของประชากร พบมากในช่วยวัยรุ่นและผู้ใหญ่ อายุประมาณ 15-40 ปี พบได้ทั้งเพศชายและหญิงในอัตราส่วนเท่าๆกัน พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน

สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด โดยตรวจไม่พบเชื้อโรคหรือความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน บางสันนิษฐานเชื่อว่า เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เพราะสามารถหายได้เอง ในเวลา 6-8 สัปดาห์

ลักษณะอาการทางคลินิก: ผื่นอาจมีลักษณะสีแดง กลมรี มีขอบเขตชัด และมีสะเก็ด(scale) บางๆ ที่ขอบของผื่น (ดูภาพประกอบที่ 1 ) ที่เรียกว่า Herald Patch มักมีอาการคันเล็กน้อย ผื่นจะพบได้ใน บริเวณลำตัว หรือแขนขาส่วนบน แต่ในรายที่เป็นรุนแรง อาจจะพบผื่น กระจายอยู่ทั่วลำตัว หรือแผ่นหลัง คล้ายต้นคริสต์มาส

การวินิจฉัยโรค: มักสังเกตจากลักษณะของผื่น แต่ขณะเดียวก็ต้องแยกผื่น จากโรคกลาก ซิฟิลิส การแพ้ยา โรคเรื้อนกวาง หรือผื่นจากหัดเยอรมัน หรือการติดเชื้อไวรัสอื่น

การรักษา: โรคนี้มักจะหายได้เอง การให้ยาจึงให้ตามอาการ เช่น ยารับประทานแก้แพ้ แก้คัน ครีมทาลดอาการคัน ส่วนการฉายแสง (Phototherapy) หรือการอาบแสงแดด มักจะใช้ในรายที่เป็นรุนแรงและเรื้อรังมากกว่า 3-4 เดือน

Related