พิษแมงกระพรุน แก้ไขอย่างไร ให้ทันท่วงที หายไว ไม่มีแผลเป็น ลดเจ็บ ลดบวม

ดูแลผิวพรรณ

6 สิงหาคม 2005


1154353815

แมงกะพรุน เป็นสัตว์ทะแลชนิดหนึ่ง ที่ส่วนใหญ่อันตรายถ้าว่ายน้ำไปโดน แมงกะพรุนมีหนวดพิษ (Tentacle) หลายอัน แต่ละอันประกอบด้วย เหล็กใน แฝงอยู่เป็นอันมาก ซึ่งเรียกว่า Nematocyst หากสัมผัสโดน พิษจะเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีอาการปวด บวม และเกิดรอยแดงเป็นแนวยาวตามผิวหนัง ในกรณีร้ายแรงอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

อาการที่พบ
-ปวดแสบปวดร้อนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะช่วง 1 ชั่วโมงแรก
-คันตามผิวหนังหรือมีร่องรอยของหนวดแมงกะพรุนอยู่บนผิวหนังบริเวณที่ถูกต่อย
– ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจรู้สึกอ่อนแรง คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อกระตุก น้ำมูกและน้ำตาไหล เหงื่อออกมาก หรือเจ็บหน้าอกได้

แมงกระพรุนที่พบกันมาก เมื่อไปเที่ยวทะเล

1.สาหร่าย, สาโหร่ง (Sea wasp, Chironex species)ชาวทะเลนิยมเรียกว่า’ส่าหร่าย’ แต่จริงๆแล้วคือ แมงกระพรุนสีขาว หรือ เหลืองแกมแดง  มีสายยาวต่อจากลำตัวหลายเส้น แต่ละเส้นยาวประมาณ 1.50 เมตร มีการเคลื่อนไหวได้น้อย อาศัยกระแสน้ำพัดพาไปยังที่ต่างๆ เมื่อมีพายุ คลื่น ลมแรง สายของมันจะขาดจากลำตัว ลอยไปตามน้ำ แต่ยังสามารถทำอันตรายผู้ที่สัมผัสถูกได้
อาการเป็นพิษ ทำให้ไหม้เกรียม และมีอาการปวดแสบปวดร้อนตามกล้ามเนื้อ จุกแน่นหน้าอกในรายที่แพ้รุนแรง และเป็นไข้ อาการเป็นอยู่ 2-3 วัน จึงทุเลาหายไป แมงกระพรุนชนิดนี้ แถบทะเลชุมพร หัวหิน เป็นต้น
2. แมงกระพรุนไฟ (Sea nettles, Chrysaora species) มีสีแดง หรือ สีเขียว ด้านบนมีจุดสีขาวอยู่ทั่วไป พวกนี้เมื่อถูกเข้าทำให้เกิดปวดแสบปวดร้อน พุพองแตกเป็นน้ำเหลือง และเกิดแผลเป็นรอยดำเรื้อรังได้นานหลายๆปี
– อาการพิษ โดยทั่วไปไม่รุนแรง ไม่นานก็หาย แต่ถ้าโดนชนิดพิษรุนแรง กว่าจะหายอาจใช้ระยะเวลา 2-3 วัน ถ้ามีอาการแพ้มากอาจมีอาการเขียวคล้ำ เลือดไปเลี้ยงสมองน้อย เพ้อ เหงื่อออก ตัวเย็น ช็อค และถึงแก่ความตายได้

ตำผักบุ้งทะเลให้ละเอียด แล้วพอกแผล

การปฐมพยาบาลเมื่อโดนพิษแมงกระพรุน : 

  1. ให้รีบขึ้นจากน้ำทันที เพราะหากพิษรุนแรงอาจจมน้ำเสียชีวิตได้
  2. จากนั้นให้ใช้ทรายแห้งๆ หรือผ้าหนาขัดบริเวณแผล เพื่อให้น้ำเมือกที่ติดอยู่ที่ผิวหนังหลุดออกไป แต่อย่าถูแรงเพราะจะทำให้พิษยิ่งเพิ่มขึ้น และอย่าใช้มือเปล่าถูเพราะอาจโดนพิษได้ แล้วล้างออกด้วยน้ำทะเล แอลกอฮอล หรือแอมโมเนีย
  3. สำหรับนักดำน้ำ มักนิยมใช้น้ำส้มสายชู ถอนพิษแมงกะพรุน อาการเจ็บปวดจะทุเลาลง
  4. สำหรับชาวบ้านจะใช้ผักบุ้งทะเลตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณบาดแผล หลังจากถูเอาเมือกออกแล้ว โดยมี หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่มหาลัยมหิดลได้ทำการทดลองแล้ว พบว่าผักบุ้งทะเล มีคุณสมบัติดังนี้
    4.1 .ฤทธิ์ต้านฮีสตามีน โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทดลองฤทธิ์ต้านการแพ้ของสารสกัดจากผักบุ้งทะเล พบว่าได้ผลดี
    4.2 .ฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยมีสารสกัด ether ของส่วนที่ระเหยได้ของใบ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยสารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการอักเสบ คือBeta-Damascenone และ E-Phytol ซึ่งสกัดได้จากผักบุ้งทะเล มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทำให้การอักเสบลดลง
  5. ยาระงับปวด ถ้ารุนแรงอาจต้องใช้ Morphine รวมกับยานอนหลับจำพวก Barbiturate และให้ยาแก้อาการกล้ามเนื้อเกร็ง เป็นตะคริว หรือ ยารักษาอาการอื่นๆ

    นอกจากนี้ในประเทศไทย ยังได้มีการผลิต ครีมที่มีสารสกัดจากใบผักบุ้งทะเลผสม 1% มีฤทธิ์รักษาอาการแพ้พิษแมงกะพรุน พบว่าได้ผลดีขึ้นใน 2 วัน เมื่อใช้ครีมทาทันที และยังพบว่าใช้รักษาพิษแมงกะพรุนได้ดี โดยยับยั้งการทำลายโปรตีน (Proteolytic) และ hemolytic ของพิษแมงกะพรุน ในรายโดนพิษเป็นแผลเรื้อรังจะใช้เวลา 2 สัปดาห์ ในการทำให้แผลแห้ง และจะหายสนิทใน 1 เดือน นอกจากนี้การใช้สารสกัดใบผักบุ้งทะเลด้วยอีเธอร์ก็ให้ผลการรักษาดีเช่นกัน

Related