Posted on

ปวดประจำเดือน ( Dysmenorrhea) : มีกีแบบ แบบไหน ต้องหาสาเหตุ และรีบทำการรักษา

อาการปวดประจำเดือน ( Dysmenorhea) ถือเป็นภาวะอาการที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยพบได้ถึงร้อยละ 50 ของสตรีที่มีประจำเดือน แต่จะมากน้อยรุนแรงแตกต่างกันไป โดยมีการสำรวจพบว่า ร้อยละ 10 ของผู้หญิงที่มีปัญหาปวดประจำเดือน จะมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถจะทำงาน หรือเรียนหนังสือได้ตามปกติ
สาเหตุของการปวดประจำเดือน ทางการแพทย์ได้จำแนกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. อาการปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( Primary Dysmenorhea) หมายถึงการปวดประจำเดือนแบบไม่พบโรค หรือพยาธิโรคที่เป็นอันตราย ใดๆ ในอุ้งเชิงกราน
ลักษณะประวัติ อาการที่น่าจะเป็นการปวดแบบนี้คือ
1.1 มักจะเริ่มมีอาการปวดภายหลังเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ไม่เกิน 1 ปี
1.2 มีอาการปวดรุนแรงตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือน และค่อยๆ ลดลง แต่หายไป ไม่เกิน 2-3 วัน
1.3 อาการปวดจะมีลักษณะปวดบีบเป็นพักๆ บริเวณท้องน้อย
1.4 การตรวจภายใน(กรณีที่ทำได้) จะไม่พบความผิดปกติอื่นๆ
2. อาการปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ( Seconary Dysmenorhea) หมายถึงการปวดประจำเดือนแบบพบโรค หรือมีพยาธิโรคในอุ้งเชิงกราน เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ( Endomethiosis), การอักเสบอุ้งเชิงกราน, เนื้องอกในมดลูกชนิด Submucus Myoma หรือชนิด Adenomyosis,ห่วงคุมกำเนิด,พังผืดในโพรงมดลูก,ปากมดลูกตีบตัน,ถุงน้ำรังไข่ ฯลฯ
ลักษณะประวัติ อาการที่น่าจะเป็นการปวดแบบนี้คือ
2.1 เริ่มมีอาการปวดภายหลังเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกมาแล้วหลายๆ ปี
2.2 อาการปวดรุนแรงขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ
2.3 มีอาการปวดในรอบประจำเดือนที่ไม่ตกไข่ หรือในรอบที่ได้รับยาคุมกำเนิด
2.4 หลังจากให้ยารักษาแบบอาการปวดแบบปฐมภูมิแล้วไม่ดีขึ้น
แนวทางในการรักษาอาการปวดประจำเดือน
1. ยาแก้ปวด ได้แก่ กลุ่มยา Paracetamol
2. ยาแก้ปวดเกร็ง Antispasmodic ได้แก่ กลุ่มยา Buscopan
3. ยาแก้ปวดกลุ่ม Prostaglandin Synthetase inhibitor เช่น กลุ่มยา Ponstan
4. ยากลุ่มคุมกำเนิด
คำแนะนำ
การรักษาอาการปวดประจำเดือน ด้วยยาดังกล่าวข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้น จึงแนะนำให้พบนรีแพทย์ เพื่อตรวจภายใน และอุลตราซาวด์ หาสาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนั้นสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือน จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ และพบแพทย์เมื่ออาการรุนแรงขึ้น และไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยา แก้ปวดชนิดต่างๆ แล้ว

Posted on

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน( Postcoital pills) : รู้ก่อนใช้ ว่ามีกี่แบบ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย ไร้ผลข้างเคียง

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน( Postcoital pills หรือ (morning after pills) เป็นยาคุมกำเนิดที่แต่ละเม็ดประกอบด้วยฮอร์โมนเพศในปริมาณที่สูง จะใช้เฉพาะกรณีจำเป็นคือมีการร่วมเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันล่วงหน้า หรือ กรณีถูกข่มขื่น โดยจะให้กินยาภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ (บางตำราอาจให้ยาวได้ถึง 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ความมั่นใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ก็จะน้อยกว่า ) และหลังจากรับประทานยาไปประมาณ 1 สัปดาห์จะมีประจำเดือนตามปกติ
ชนิดของยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
1.การใช้ฮอร์โมน estrogen อย่างเดียว การใช้ estrogen ขนาดสูงในการคุมกำเนิดฉุกเฉิน จะมีหลายชนิดและหลายขนาด ตลอดจนวิธีบริหารยาที่แตกต่างกันเช่น
-Ethinyl estradiol รับประทาน 5 mg. /วัน 5 วันติดต่อกัน
– Conjugated estrogen รับประทาน 5 mg./ วัน 5 วันติดต่อกัน
– conjugated estrogen 50 mg. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นเวลา 2 วัน
– estradiol benzoate 30 mg. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นเวลา 5 วัน
ทั้งนี้ ฮอร์โมนที่ใช้จะต้องใช้ภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ผลข้างเคียงที่พบได้ คือ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศรีษะ ปวดศรีษะ คัดตึงเต้านม ระดูมาผิดปกติ ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากผลข้างเคียงดังกล่าว
2.การใช้ฮอร์โมน progestogen อย่างเดียว มีการนำเอา levonorgestrel มาใช้ โดยใช้ levonorgestrel ขนาด 0.75 mg. รับประทาน 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมง ให้รับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากมีเพศสัมพันธ์ อัตราความล้มเหลว 1.1-2.9% ผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ คลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่า ระยะเวลาที่เริ่มรับประทานยามีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการคุมกำเนิด โดยการที่ทานยาภายใน 24 ชั่วโมงจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่าทานภายใน 72 ชั่วโมง

3.การใช้ฮอร์โมนรวม estrogen+ progestrogen (Yuzpe regimen)  วิธีนี้เป็นวิธีที่ FDA และ วิทยาลัยสูตินรีเเพทย์แห่ง USA แนะนำ แบ่งได้เป็น
3.1 ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี ethinyl estradiol 0.05 mg. + levonorgestrel 0.25 mg.or norgestrel 0.5mg. รับประทานครั้งละ 2 เม็ด จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมง โดยให้รับประทานครั้งแรกภายใน 72 ชั่วโมงภายหลังการมีเพศสัมพันธ์
3.2 ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี ethinyl estradiol 0.03 mg. + levonorgestrel 0.15 mg.or norgestrel 0.3mg. รับประทานครั้งละ 2 เม็ด จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมง โดยให้รับประทานครั้งแรกภายใน 72 ชั่วโมงภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ ผลข้างเคียงที่พบ มีอาการคลื่นไส้( 30-66% ) อาเจียน (12-22% อาการจะลดลงถ้าทานยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน ก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง) เจ็บคัดตึงเต้านม (1-47%) และพบว่ามากกว่า ร้อยละ 90 จะมีระดูภายใน 21 วัน หลังรับประทานยา ระยะเวลาเฉลี่ย 7-9 วัน อัตราความล้มเหลว 2-3.5% (ถ้าใช้วิธีนี้แล้วยังเกิดการตั้งครรภ์ ยังไม่พบรายงานว่าทารกมีความผิดปกติหรือพิการแต่กำเนิด)
4.การใช้ยา Antiprogestin  มีการนำ Mifepristone ซึ่งเป็น antiprogestin มาใช้ พบว่ามีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีการเปลี่ยนแปลง มีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ แต่จะไม่มีผลต่อการสร้างฮอร์โมนของรังไข่ Mifepristone 600 mg. รับประทานครั้งเดียวภายใน 72 ชั่วโมงภายหลังมีเพศสัมพันธ์จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 100% ผลข้างเคียงที่พบ 42% จะมีระดูเลื่อนออกไปมากกว่า 3 วัน อาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้บ้างแต่น้อยมาก แต่ยานี้ยังไม่มีจำหน่ายไนประเทศไทย
5.การใช้ยา danazol ยาประเภทนี้มักจะใช้โดยสูตินารีแพทย์ และใช้รักษาโรคตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก ( Endomethiosis) จะไม่กล่าวถึงในรายละเอียด
ผลข้างเคียง จากการใช้ยาคุมฉุกเฉิน
– อาจก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
– ทำให้ประจำเดือนมาเร็วหรือช้าลง
– อาจมีอาการปวดท้อง เจ็บคัดเต้านม
– มีเลือดออกกระปริบกระปรอยหรือมีเลือดออกมากระหว่างเดือน 
และหากหลังใช้ยา ประจำเดือนยังไม่มาเกินกว่า 1 สัปดาห์ควรตรวจดูว่าเป็นเพราะตั้งครรภ์หรือไม่ หากสงสัยควรไปปรึกษาแพทย์

อย่างไรก็ตามการใช้ยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินอย่างถูกต้องภายหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันการตั้งครรภ์ พบว่า มีอัตราการตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้ร้อยละ 2 เรียกได้ว่ายาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉิน มีประสิทธิภาพต่ำกว่าวิธีคุมกําเนิดแบบปกติทั่ว ๆ ไป ดังนั้น ถ้านําเอายาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินมาใช้บ่อยครั้ง จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดการล้มเหลวได้ จึงเป็นเหตุผลว่า ทําไมจึงไม่ควรจะนําเอายาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินมาใช้เพื่อคุมกําเนิดเป็นประจํา ไม่แนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดประเภทนี้ และไม่ควรกินยานี้เกินสัปดาห์ละ 1 ครั้งหรือเกินเดือนละ 4 ครั้ง

Posted on

อาการสะอึก ( Hiccup) : สาเหตุที่ธรรมดา หรือไม่ธรรมดา สามารถจะแก้ไขอย่างไร ให้หาย

สะอึก เป็นอาการที่พบได้บ่อย เกิดจากกล้ามเนื้อหายใจ ส่วนกระบังลมและกล้ามเนื้อซี่โครงเกิดการหดตัวอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการหายใจเข้าอย่างแรง แต่ถูกหยุดชะงักด้วยการปิดของช่องสายเสียง ทำให้เกิดเสียงดังขึ้น
กลไกการเกิดการสะอึก
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาการนี้อาจจะเป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติชนิดหนึ่ง โดยศูนย์กลางของการสะอึก (Hiccup Center) จะอยู่บริเวณก้านสมองบริเวณ Medulla oblongata แล้วเชื่อมระบบประสาทต่อกับระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ด้วยเส้นประสาท Vagus nerve และ Phrenic nerve
การสะอึกที่เกิดขึ้นปกติ
มักจะมีสาเหตุจากการกระตุ้นหลอดอาหารส่วนบนขณะกลืนอาหาร โดยมากแล้วอาการสะอึกมักเกิดขึ้นไม่นาน ประมาณ 2 – 3 นาทีก็จะหายไป แต่ถ้าคุณสะอึกนานกว่านั้น เช่นเป็นชั่วโมงๆ หรือครึ่งค่อนวัน โดยเฉพาะเกิดร่วมกับอาการเหล่านี้ เช่น สะอึกร่วมกับอาการปวดท้องอย่างรุนแรงหรือถ่ายเป็นเลือด หรือ สะอึกนานมากกว่า 8 ชั่วโมงในผู้ใหญ่ และมากกว่า 3 ชั่วโมงในเด็ก สะอึกทุกครั้งหลังจากรับประทานยาบางชนิด คงต้องปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุอย่างอื่น
สาเหตุของอาการสะอึกที่ไม่ธรรมดา อาจจะเกิดจากโรคทางกายอย่างอื่นๆ ดังนี้ 
1. โรคทางเดินอาหาร กระบังลม และช่องท้อง เช่น กระเพาะลำไส้อุดตัน ลำไส้โป่งพอง เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
2. โรคในช่องอกที่รบกวนต่อเส้นประสาท Vagus nerve,Phrenic nerve หรือกระบังลม เช่น การกลืนอาหารอย่างรีบร้อน อาหารติดคอ ปอดอักเสบ
3. โรคทางระบบประสาทที่มีรอยโรคบริเวณก้านสมอง เช่น หลอดเลือดสมองตีบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ พิษสุราเรื้อรัง
4. จากยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Beta-lactans,macrolides,Fluoroquinolone หรืออัลกอฮอล์
5. ภาวะทางจิตใจ เช่น เครียด หรืออาการแสร้งทำ (ซึ่งพบบ่อยในผู้หญิง จากสาเหตุทางจิตใจมากกว่าร้อยละ 90)
6. ภาวะภายหลังการผ่าตัดบางอย่าง เช่น ผ่าตัดช่องท้อง หรือผ่าตัดช่องอก
แนวทางการแก้ไข 
1. แต่ถ้าเป็นการสะอึกทั่วๆไป เราสามารถจัดการกับตัวเองได้ง่ายๆดังนี้
1.1 ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้จับลิ้นเอาไว้แล้วดึงออกมาข้างหน้าแรงๆ เพื่อช่วยเปิดหลอดลมที่ปิดอยู่
1.2 กลั้นหายใจเอาไว้โดยการนับ 1 – 10 แล้วหายใจออก จากนั้นดื่มน้ำตามทันที
1.3 ดื่มน้ำเย็นจัดช้าๆ โดยดื่มตลอดเวลา และกลืนติดๆ กัน ไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการสะอึกหาย หรือจนกลั้นหายใจไม่ได้
1.4 เขี่ยภายในรูจมูกให้จาม
1.5 ให้พยายามกลืนน้ำตาลทรายขาวประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ โดยไม่ต้องใช้น้ำ
1.6 ทำให้เกิดอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ ตื่นเต้น หรือกลัว
1.7 ถ้าทำดังกล่าวแล้วไม่ดีขึ้น อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อใช้ยาบางตัวช่วย เช่น Lagactil,Baclofen หรือกลุ่มยาช่วยย่อย เช่น Cisapride,Omperazole เป็นต้น
2. ถ้าดำเนินการในข้อ 1 แล้วไม่ดีขึ้น อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุโรคอย่างอื่นร่วมด้วย แล้วแก้ไขตามสาเหตุ หรือทำการผ่าตัดทางศัลยกรรมประสาท

Posted on

บิลเบอร์รี่ (Bilberry): ผลไม้ที่มีสรรพคุณทางยาช่วยบำรุงสายตา และลดอาการได้หลายโรค

บิลเบอร์รี่(Bilberry) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ที่เริ่มฮิตติดอันดับเครื่องดื่มสุขภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการที่นักบินในหน่วยทหารอากาศของประเทศอังกฤษ นำผลบิลเบอร์รี่สุกมารับประทาน แล้วพบว่าทำให้ความสามารถในการมองเห็นตอนกลางคืนดีขึ้น และทำให้อาการเมื่อยล้าของดวงตาเมื่อใช้สายตานานๆ น้อยลง หลังจากนั้น อีกถึง 20 ปี จึงได้มีการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์กันอย่างจริงจัง ว่าทำให้บิลเบอรี่จึงให้ผลดีต่อสุขภาพของดวงตาอีกครั้งหนึ่ง

สารที่สำคัญในบิลเบอร์รี่

  1. แอนโธไซยาโนไซด์ (Anthocyanosides) สามารถจับกับเซลล์บุผิว( pigmented epithelium) ที่จอภาพเรตินาได้ดี โดยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีเลิศ (Anti-oxidant) ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ และคืนสภาพสาร rhodopsin ได้หลังจากถูกแสง จึงช่วยทำให้การมองเห็นในที่มืดได้ดี
  2. แทนนิน(Tannins) )มีฤทธิ์ในการสมานแผล(Astingent) และให้ผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค เช่น พวกแบคทีเรียบางชนิด
  3. ฟลาโวนอยด์(Flavonoid) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) เช่นกัน และยังเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนหลายชนิดที่สำคัญต่อมนุษย์
  4. กลูโคควินิน(Glucoquinine) เป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้การทำงานของอินซูลิน ทำให้การควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

ประโยชน์ขบิลเบอร์รี่ต่อสุขภาพดวงตา 

  1. ช่วยถนอมดวงตา ทำให้การมองเห็นในที่มืดดีขึ้น
  2. ช่วยรักษาอาการตาบอดกลางคืน ( Night blindness)
  3. ช่วยลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา เมื่อใช้สายตานานๆ
  4. ช่วยป้องกันเลนส์ตาและช่วยให้คอลลาเจนในตาในส่วน cornea และหลอดเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น
  5. ช่วยลดอนุมูลอิสระในจอตา ทำให้ป้องกันอาการเสื่อมที่มักจะเกิดกับดวงตาให้น้อยลงได้ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ตาเสื่อมในคนสูงอายุ(สายตายาว)

สรรพคุณอื่นๆ

  1. พบว่าสารแทนนิน ในผลบิลเบอร์รี่ สามารถบรรเทาอาการท้องเสีย อาการคลื่นไส้ และภาวะอาหารไม่ย่อยได้
  2. สามารถลดอาการปวดเจ็บจากภาวะเส้นเลือดขอด (Varicose vein) ได้ เนื่องจากภาวะดงกล่าวเกิดจาก ความเสื่อมของเซลล์เช่นกัน
  3. สามารถใช้ลดอาการอักสเบในช่องปาก และเยื่อบุช่องปากได้
  4. ช่วยลดอาการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง ที่ทให้เกิดจุดด่างดำของผิวพรรณได้

    ปัจจุบันจึงได้มีการจดบันทึกว่า บิลเบอร์รี่เป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียง จึงมักนิยมนำมาเป็นอาหารเสริม และได้รับความสนใจ ในการนำมาใช้ในการรักษาสุขภาพในปัจจุบัน สำหรับคนสุงอายุ หรือคนที่ต้องการถนอมดวงตาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นและนานๆ
Posted on

เพชรสังฆาต : พืชเศรษฐกิจ ในการนำมาเป็นยารับประทานสำหรับรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก

เพชรสังฆาต เป็นสมุนไพรไทยที่หลายคนอาจจะรู้จักกันบ้างแล้ว เพราะถือว่าเป็นตำรับยาแพทย์แผนไทยที่นิยมใช้กันมานาน
สรรพคุณ 
1.ราก: สามารถใช้รักษากระดูกแตก หรือหักได้
2. ต้น: นำมาแก้หูน้ำหนวก แก้เลือดกำเดาไหล แก้ประจำเดือนไม่ปกติ
3. ใบ: สามารถเร่งการเชื่อมต่อของกระดูกที่หัก รักษาโรคทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้องบิด ขับลม และที่สำคัญ และนิยมนำมารักษาเป็นอย่างมากก็คือ รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งจะพบว่าอาการเลือดออกทางอุจจาระ หรืออาการปวดเบ่ง หรือก้อนยื่น ดีขึ้น ได้ชัดเจน เทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน และไม่พบว่ามีผลข้างเคียงใดๆ
4.เถา: รสร้อนขมคัน คั้นเอาน้ำดื่ม แก้โรคลักปิดลักเปิด แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้ริดสีดวงทวาร แก้กระดูกแตกหัก ซ้น ขับลมในลำไส้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก ทั้งชนิดกลีบมะไฟ และเดือยไก่
ข้อควรระวัง
เพชรสังฆาต จัดว่าเป็นพืชที่มีผลึกของแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งเป็นผลึกรูปเข็มจำนวนมาก หากเราเผลอเคี้ยวส่วนใดส่วนหนึ่งของเพชรสังฆาต ไม่ว่าจะเป็นใบ เถา หรือรากเข้าไปในปาก ผลึกที่ออกมาจะทิ่มชำแรกเข้าไปในเนื้อเยื่อของปาก และลำคอ ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน หรือบวมได้
งานวิจัยที่รับรองผล
มีการศึกษาและวิจัยยืนยันกันอย่างชัดเจนว่ามีสรรพคุณเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบันจาก เมืองนอก และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
โดยนำใบมาบดเป็นผงอัดเม็ด บรรจุเป็นแคบซูล ออกมาจำหน่าย และในบางรพ. เช่น รพ. พระยาอภัยภูเบศน์ จังหวัดปราจีนบุรี ได้นำมาเป็นยาตำรับหลวงของรพ. แทนยาแผนปัจจุบันในบัญชียาหลัก ดังนั้นจึงถือเป็นแพทย์ทางเลือกที่ได้เป็นนิยมกันอย่างมาก ในปัจจุบัน


อ้างอิงจากเอกสารตีพิมพ์ของพญ. เพ็ญนภา ทรัพยเจริญ นายกสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย ลงตีพิมพ์ในหัวข้อ ‘ เพชรสังฆาต สมุนไพรไทยกับการรักษาริดสีดวง ‘ ในวารสารวงการแพทย์ประจำเดือน มีนาคม 2546

Posted on

คะน้า: ผักใบเขียวที่สำคัญ ปัองกันมะเร็ง พร้อมคุณค่า บำรุงสายตา รักษาได้หลายโรค

คะน้า จัดเป็นพืชผักที่แทบจะเป็นเครื่องเคียงประจำโต๊ะอาหารของบ้านเรา เนื่องจากหาง่าย ราคาไม่แพง และรสชาดที่ไม่ขมมากนัก และเป็นผักแกล้มชั้นยอด ที่ควบคู่กับอาหารรสจัด หรือนำมาผัดใส่น้ำมันหอยราดข้าว หอมกรุ่นทีเดียว ลองมาทำความรู้จักกับผักชนิดนี้กันหน่อยนะครับ

คุณประโยชน์และส่วนประกอบ ของคะน้า 

  1. สารเบตาแคโรทีน ในปริมาณที่สูง ซึ่งสารนี้จะแปรเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ ซึ่งวิตามินเอนี้ มีประโยชน์ต่อผิวพรรณ ใช้ป้องกันรักษาสิว มีฤทธิ์ต้านทานการติดเชื้อ และเป็นวิตามินบำรุงสายตา ทำให้มองเห็นได้ดีในตอนกลางคืน อนึ่งคุณประโยชน์อย่างละเอียดของวิตามินเอ ได้เขียนบทความไว้ให้แล้ว
  2. วิตามินซี โดยพบว่า คะน้า 100 กรัมจะมีปริมาณวิตามินซีสูงเป็น 2 เท่าที่ร่างกายต้องการต่อวัน ซึ่งวิตามินซีนี้ มีบทบาทและคุณประโยชน์ อย่างมากในการป้องกันโรคหวัด ทำให้เชื้ออสุจิแข็งแรง เป็นสารไวเทนนิ่งทำให้ผิวหน้าไม่หมองคล้ำ ลดรอยด่างดำ และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ฯลฯ ซึ่ง คุณประโยชน์อย่างละเอียดของวิตามินซี ได้เขียนบทความไว้ให้แล้ว
  3. ธาตุเหล็ก ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง บำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง และจะทำหน้าที่ในการพาออกซิเจน ไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและนานขึ้น
  4. โฟเลต เป็นสารที่สำคัญในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์และกล้ามเนื้อ และช่วยเสริมการทำงาน ของระบบประสาท ช่วยลดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อได้ โดยทำงานร่วมกับวิตามินบี 12
  5. แคลเซียม ซึ่งจะพบว่าแคมเซียมนี้ ก็จะเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรง ไม่เปราะหักง่าย
  6. สารต้านมะเร็ง โดย ดร. วอลเตอร์ วิลเลตต์ แห่งคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลับฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นหน่วยงานชั้นนำทางด้านโภชนการและโรคมะเร็ง ได้รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับคะน้า ว่ามีสาร Carotenoids สูง ซึ่งสารนี้เป็นสารสีธรรมชาติในผักและผลไม้ มีฤทธิ์ป้องกันและต้านมะเร็งได้

ดังนั้นการรับประทานคะน้าเป็นประจำและในปริมาณที่พอเพียง จึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งในด้านผิวพรรณ สายตา ระบบหมุนเวียนโลหิต และป้องกันมะเร็ง นอกจากนี้ยังพบว่าคะน้าเป็นพืชเส้นใย ที่ช่วยควบคุมและลดน้ำหนักได้ในคนที่ต้องการควบคุมอาหารอีกด้วย

Posted on

การคุมกำเนิดสำหรับผู้ชาย : ทางเลือกใหม่ สำหรับภรรยาที่ไม่พร้อมหรือไม่ต้องการคุมกำเนิด

การคุมกำเนิด ปกติส่วนใหญ่ล้วนเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายหญิง ไม่ว่าจะเป็นชนิดชั่วคราวหรือถาวร แต่ถ้าบังเอิญฝ่ายหญิงมีปัญหาด้านสุขภาพ หรือไม่พร้อมหรือไม่ต้องการจะคุมกำเนิด ปัจจุบันมีแนวทางเลือกให้ให้ผู้ชายคุมกำเนิดแทน

การคุมกำเนิดชั่วคราวสมัยใหม่ (Modern methods) ได้แก่

  1. ฉีดสารอุดตันท่ออสุจิ (Vas occlusion) ใช้สารโพลีเมอร์ พลาสติก หรือสารอื่นๆ ฉีดผ่านผิวหนังอัณฑะไปอุดตันท่ออสุจิ ประสิทธิภาพไม่เทียบเท่าการทำหมันชาย ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา
  2. อบลูกอัณฑะ (Heating) เป็นที่ทราบกันว่า ความร้อนช่วยลดการสร้างและทำลายอสุจิได้ เช่น ชายที่เป็นหมันเพราะลูกอัณฑะไม่ลงถุงอัณฑะ หรือแช่น้ำร้อนเป็นประจำ วิธีนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนา แต่อบลูกอัณฑะฟังแล้วอาจน่ากลัวไปหน่อย
  3. ใช้วัคซีนอสุจิ มีการค้นพบมาเป็นเวลานานแล้วว่า ชายที่มีภูมิต้านทานอสุจิมักมีลูกยากหรือเป็นหมัน จึงมีการคิดค้นวัคซีน แต่อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อลูกอัณฑะหรือระบบการสร้างอสุจิ ปัจจุบันวัคซีนอสุจิใช้ในการทดลองกับสัตว์
  4. ใช้สารเคมีที่ไม่ใช่ฮอร์โมน สารเคมีจากพืชหลายชนิด ทำให้มีลูกยากเป็นหมัน เช่น น้ำมันเมล็ดฝ้าย (Gossypol) คื่นช่าย กระเทียม ใบผักชี หรือสารเคมีอื่นๆ ทั้งจากธรรมชาติและการประดิษฐ์ แต่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ต้องระมัดระวังผลข้างเคียง เช่น เป็นพิษต่อระบบประสาท ตับ ไต เป็นต้น
  5. ยาคุมกำเนิดแบบฉีด วิธีนี้เป็นการคุมกำเนิดชั่วคราวแบบสมัยใหม่ที่ผ่านการวิจัย สามารถคุมกำเนิดได้ร้อยละ 98 ไม่มีผลข้างเคียง นอกจากในบางรายที่ส่งผลให้ผิวหน้ามัน เป็นสิว หนวดเคราดกเพิ่มขึ้นจากฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศชาย นอกจากนั้นหลังจากหยุดฉีดแล้วอสุจิจะกลับมาปกติภายใน 2-3 เดือน ประเทศอินเดียจึงเป็นประเทศแรกที่ประกาศใช้ยาคุมกำเนิดเพศชายฮอร์โมนรวมชนิดฉีด ภายในกลางปี 2563 นี้